posttoday

ทุ่มงบ24ล้านบาทรับฟังความเห็นก่อนยกร่างรธน.

10 ธันวาคม 2557

อนุกมธ.ยกร่างรธน.ควักงบฯสภาและสถาบันพระปกเกล้า 24 ล้านบาท หนุนกิจกรรมรับฟังความคิดเห็น

อนุกมธ.ยกร่างรธน.ควักงบฯสภาและสถาบันพระปกเกล้า 24 ล้านบาท หนุนกิจกรรมรับฟังความคิดเห็น
 
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 10 ธันวาคม ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดการอบรมผู้เอื้อกระบวนการและผู้จดบันทึกสำหรับกระบวนการประชาเสวนา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการทำหน้าที่ของผู้เอื้อกระบวนและผู้จดบันทึกในการรับฟังความคิดเห็น โดยมีนายวุฒิสาร ตันไชย คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ"ร่างรัฐธรรมนูญกับการปฏิรูป" และนางถวิลวดี บุรีกุล กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้นำการอบรม
 
นายวุฒิสาร  กล่าวว่า  กระบวนการรับฟังที่จัดขึ้นจะไม่ศูนย์เกล่า และไม่ใช่พิธีกรรม สาระจากการับฟังความคิดเห็นจะถูกส่งไปยัง กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนของเนื้อหาและกระบวนการ สำหรับเนื้อหาที่ได้นั้น ไม่ใช่ทุกเรื่องที่จะอยู่ในรัฐธรรมนูญ เพราะเนื้อหาบางส่วนที่จะบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญ จะเป็นประเด็นเกี่ยวกับหลักการที่ใช้เป็นกติกาของประเทศ แต่เนื้องหาบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปกลไกของสังคม จะถูกส่งไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของกระบวนการมีสาระสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. จะต้องสร้างกระบวนการที่ประชาชนยอมรับ สะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ข้อมูลที่ได้มาจะต้องมีความน่าเชื่อถือและเที่ยงตรง 2. เสียงที่ประชาชนสะท้อน จะต้องเป็นเสียงที่ กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญได้ยิน และ 3. กระบวนการสร้างความเป็นเจ้าของในรัฐธรรมนูญ สร้างความรู้สึกให้ประชาชนมีอำนาจและมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้มากที่สุด 

นางถวิลวดี บุรีกุล กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานอนุกมธ. การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กล่าวว่า การฝึกอบรมผู้เอื้อกระบวนการและจดบันทึกการรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เอื้อกระบวนการฯ ที่จะร่วมการรับฟังความคิดเห็น 10 เวที ที่จะจัดขึ้นทั่วประเทศ  เริ่มจาก จ.สุพรรณบุรี จ. ร้อยเอ็ด จ.เชียงใหม่ จ. สุราษฎร์ จ. สงขลา จ. อุดร จ. สุรินทร์ จ. พิษณุโลก จ. ชลบุรี และกรุงเทพมหานาคร ตามลำดับ ซึ่งจะมีประชาชนมาจากการซุ่มตามความน่าจะเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ และมาจากกลุ่มเฉพาะ 20 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามผู้เอื้อกระบวนการฯ ที่เข้ารมในวันนี้จะเป็นผู้ช่วยคัดเลือกตัวแทนกลุ่มเฉพาะ เช่น ผู้นำศาสนา เยาวชน ข้าราชการ และผู้พิการ เป็นต้น ที่จะเข้าร่วมเวทีดังกล่าว

ทั้งนี้จะใช้งบประมาณกว่า 24 ล้านบาท สำหรับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในส่วนของ กมธ. การมีส่วนร่วมฯ แต่การจัดกิจกรรมในวันนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากสถาบันพระปกเกล้า โดยอนุมัติงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมกว่า 2 ล้านบาท

บรรยายภาพ:วุฒิสาร ตันไชย คณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรมนูญ