posttoday

สนช.เสนอมอบหน่วยงานกลางคุม300ล.บูรณาการงบแก้ทุจริต

16 กันยายน 2557

"กล้าณรงค์" เสนอ ตั้งหน่วยงานกลางบูรณา 300 ล้านการแก้ทุจริต อัด งบซ้ำซ้อนหลายส่วน ​แจง จัดสัมมนา 5-6 แสนบาทไม่ได้ผลเท่าจัดกิจกรรมส่งเสริม

"กล้าณรงค์"  เสนอ ตั้งหน่วยงานกลางบูรณา 300 ล้านการแก้ทุจริต อัด งบซ้ำซ้อนหลายส่วน ​แจง จัดสัมมนา 5-6 แสนบาทไม่ได้ผลเท่าจัดกิจกรรมส่งเสริม

ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่างพ.ร.บ.งปบระมาณรายจ่ายประจำปี 2558 วาระ 2  โดยนายกล้าณรงค์ จันทิก  สนช.​อภิปรายว่า ได้ขอสงวนคำแปรญัตติ ในหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับ​แผนงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบภาครัฐ แต่จะขออภิปายครั้งเดียว เพราะเห็นว่า หลายหน่วยงานมีแผนการที่ซ้ำซ้อนเกี่ยวกับกิจกาป้องกันการทจุจริต ทั้งกระทรวง แรงงานมีโครงการพัฒนาบุคลากร  ซ้ำอยู่ในกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ​กรมส่งเสริมสวัสดิการ ​หรือกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งกรมอาชีะ อุดมศึกษา มีการจัดงบส่งเสริมจริยธรม ​ไปจนถึงกระทรวงสาธารณสุข ​สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน 

ทั้งนี้ เห็นว่า เรื่องการส่งเสริมและการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกับการทำกิจกรรม มีงบประมาณ 300 กว่าล้านบาทนั้น ไม่สามารถให้หน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง ขึ้นมารับผิดชอบ แต่​จะให้คณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ปปท.) เป็นหน่วยงาหนลัก เพราะจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา งบประมาณไปอยู่ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ หมด แล้ว ​

ดังนั้น ​แค่การไปจัดสัมมนาต่อต้านคอรัปชั่นซึ่งเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด หมดเงินไปครั้งละ 5-6 แสน สุดท้ายก็ไม่ได้ผลอะไรเพราะหากจะให้ได้ผลต้องทำกิจกรรม ไม่ใช่แค่สัมมนา โดยให้มีหน่วยงานกลางขึ้นมาคุมงบ 300 ล้านบาทนี้ ว่าจะทำอะไร กับใคร ส่วนการป้องกันการทุจริตนั้นจะต้องขอความร่วมมือกับเอกชนอย่างองค์กรของนายประมนต์ สุธีวงศ์ ที่มีกิจกรรมทั้งหมาเฝ้าบ้านการออกสปอตโฆษณา คนโกงต้องไม่มีที่ยืนในสังคม  ส่วนรัฐบาลก็ให้ไปให้ความสัำคัญกับการมุ่งปราบปรามการทุจริต ซึ่งที่เสนอนั้นไม่ใช่การปรับลดงบประมาณ แต่เป็นการรวมงบประมาณที่เกี่ยวข้องมาอยู่ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกันปราบปรามการทุจริต

จากนั้นที่ ประชุมได้ลงมติเห็นในมาตรา 5 งบประมาณในส่วนสำนักนายกรัฐมนตรี  ที่กรรมาธิการปรับลดเป็น 33,417 ล้านบาท จากเดิม 33,737  ล้านบาทด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์  147  เสียง ต่อ 9 เสียง​  ขณะที่ มาตรา 6 งบประมาณในส่วนกลาโหม ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ 154 เสียง เห็นชอบตามกรรมาธิการปรับลดเหลือ 192,949 ล้านบาท จาก 193,499 ล้านบาท  ​