posttoday

ย้อนเวลารัฐประหาร 49 ก่อนกลับสู่การเลือกตั้ง

27 พฤษภาคม 2557

19 ก.ย. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

19 ก.ย. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

29 ก.ย. 2549 คปค.แปลงสภาพเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)

1 ต.ค. 2549 คมช.ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมทั้งตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกฯ

11 ต.ค. 2549 ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 242 คน

19 ต.ค. 2549 เริ่มจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยการตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการสรรหาสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (กดส.)

30 พ.ย. 2549 กดส.จัดทำรายชื่อสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเสร็จ จำนวน 1,982 คน

17-18 ธ.ค. 2549 สมัชชาแห่งชาติประชุมคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอชื่อให้ คมช.พิจารณาทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)

27 ธ.ค. 2549 คมช.คัดเลือกรายชื่อ ส.ส.ร. จำนวน 100 คนเสร็จ

1 ม.ค. 2550 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ส.ส.ร.

8 ม.ค. 2550 ส.ส.ร.ประชุมครั้งแรก เริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

6 ก.ค. 2550 จัดทำรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น

31 ก.ค. 2550 เผยแพร่เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เพื่อทำประชามติ

19 ส.ค. 2550 ลงมติร่างฐธรรมนูญ ปี 2550 มีผู้เห็นชอบ 14.7 ล้านคน ไม่เห็นชอบ 10.7 ล้านคน

24 ส.ค. 2550 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

23 ธ.ค. 2550 การเลือกตั้งครั้งแรกเกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหาร

รวมระยะเวลา 461 วัน หรือ 1 ปี 3 เดือน หลังจากรัฐประหาร ประเทศจึงมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง