posttoday

ใครบิดเบือน ?

17 ธันวาคม 2556

เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีดีเบต ระหว่าง นายกิตติศักดิ์ ปรกติ และ นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ในหัวข้อ “วิกฤตรัฐธรรมนูญไทย ใครบิดเบือน?”

เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีดีเบต ระหว่าง นายกิตติศักดิ์ ปรกติ และ นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ในหัวข้อ “วิกฤตรัฐธรรมนูญไทย ใครบิดเบือน?”

นายปิยบุตร เริ่มต้นการดีเบต โดยให้ความเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของ สว. และจำเป็นต้องมีอำนาจจำกัดเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดเพราะคำพิพากษามีผลผูกพันธ์ทุกองค์กรไม่เช่นนั้นศาลรัฐธรรมนูญจะสามารถขยายอำนาจการตรวจสอบไปเรื่อยๆจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ และในรัฐธรรมนูญไทย ก็ไม่มีมาตราไหนที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปตรวจสอบกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้

“ระบบศาลมี 2 แบบคือระบบศาลแบบกระจายอำนาจ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและระบบศาลแบบรวมศูนย์อำนาจ เช่นเยอรมันนี ออสเตรีย ถ้าไปดูระบบศาลของเยอรมันนี ศาลประกาศตัวว่ามีอำนาจตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ เพราะมีกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญรองรับ และจะตรวจสอบก็ต่อเมื่อมีการแก้ไขเสร็จแล้ว มีผลบังคับใช้แล้ว ไม่ใช่เข้าไปตรวจสอบระหว่างกระบวนการ และจะตรวจเฉพาะว่าขัดกับหลักการระบอบการปกครองแบบสมาพันธรัฐหรือไม่”นายปิยบุตร กล่าว

จากนั้น นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ได้มองประเด็นระบบศาลว่ารวมศูนย์หรือกระจายอำนาจ แต่มองหลักการเรื่อง supremacy of the constitution ซึ่งให้รัฐธรรมนูญมีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด  ศาลอเมริกาเป็นแห่งแรกที่นำหลักการ supremacy of the constitution มาใช้ จากนั้นเยอรมันนีเอาหลักการนี้มาใช้ตาม และเพิ่มความเข้มข้นโดยให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพและออกแบบให้เป็นรัฐธรรมนูญที่ป้องกันตัวได้

“ปัญหาคือเราจะตีความรัฐธรรมนูญแบบไหน ถ้าถือรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งทรงค่าสูงสุดและป้องกันตัวได้ ถ้ามีอะไรมากระทบสิทธิเสรีภาพ ถึงขั้นล้มล้างการปกครอง รัฐธรรมนูญก็วางหลักการให้ป้องกันตัวได้ เช่น ให้ร้องเรียนที่ศาลรัฐธรรมนูญ หรือ ให้ประชาชนมีสิทธิลุกขึ้นมาต่อต้านตามมาตรา 69 ได้”นายกิตติศักดิ์ กล่าว

สามารถอ่านได้ทั้งหมด >> http://bit.ly/1fyhHxV