posttoday

ศาลแพ่งยกฟ้องพร้อมพงศ์กล่าวหานายกฯ-สุเทพสั่งปิดพีทีวี

19 เมษายน 2553

ศาลแพ่งยกฟ้องเพื่อไทยคดีกล่าวหารัฐออกพรก.ฉุกเฉิน-ปิดพีทีวีชี้นายกฯมีอำนาจตามกม.เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งยกฟ้องคดีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี ( ครม.)  , นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นจำเลยที่ 1 – 3  เรื่องละเมิด ที่ออกคำสั่งตัดสัญญาณสถานีโทรททัศน์พีทีวีชาแนลศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีเจตนารมณ์ที่จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ( ครม.) ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตท้องที่ได้ตามความจำเป็นในสถานการณ์ ซึ่งในมาตรา 4 ให้ความหมายของ“สถานการณ์ฉุกเฉิน”ว่าสถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อ

ศาลแพ่งยกฟ้องเพื่อไทยคดีกล่าวหารัฐออกพรก.ฉุกเฉิน-ปิดพีทีวีชี้นายกฯมีอำนาจตามกม.

เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งยกฟ้องคดีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี ( ครม.)  , นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นจำเลยที่ 1 – 3  เรื่องละเมิด ที่ออกคำสั่งตัดสัญญาณสถานีโทรททัศน์พีทีวีชาแนล

ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีเจตนารมณ์ที่จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ( ครม.) ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตท้องที่ได้ตามความจำเป็นในสถานการณ์ ซึ่งในมาตรา 4 ให้ความหมายของ“สถานการณ์ฉุกเฉิน”ว่าสถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวมหรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง

ดังนั้นการที่ ครม.จำเลยที่1ให้การเห็นชอบแก่นายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เม.ย.53 ย่อมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ  ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปพิจารณาหรือทบทวนการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารได้

นอกจากนี้ การที่นายอภิสิทธิ์ นายก ฯจำเลยที่ 2 มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ 1/2553  ให้นายสุเทพ รองนายก ฯ จำเลยที่ 3 เป็นผอ. ศอฉ.โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว และคำสั่งจำเลยที่ 2 ที่ พิเศษ 2/2553 ให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินฯ จำเลยที่ 2 - 3 ย่อมมีอำนาจตามความใน ม.9 (2) และ (3) แห่ง พ.รก.ดังกล่าว ที่จะใช้มาตรการอันจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ม.45 วรรคสี่ ที่ว่าการห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ

ส่วนที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษา ยกเลิกคำสั่งของจำเลยที่ 2 – 3 ที่ยุติการแพร่ภาพสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล และมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสองสั่งห้ามหน่วยงานของรัฐกระทำการโดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิรับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องเป็นจริงตาม รธน.ปี 2550 มาตรา 61นั้นเห็นว่า เจตนารมณ์บทบัญญัติดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่จะได้รับข่าวสารที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริโภคตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ไม่ใช่เป็นการรับทราบข้อมูลข่าวสารทั่วไป

โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายหรือเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิการกระทำของจำเลยที่ 2 - 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง