posttoday

ปูเชื่อพัฒนาศักยภาพสตรีช่วยศก.แข็งแรง

08 กันยายน 2555

นายกฯเผยยอดสมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี8ล้านคนแล้ว เชื่อ พัฒนาศักยภาพสตรีจะทำให้เศรษฐกิจไทยแข็งแรง

นายกฯเผยยอดสมัครสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี8ล้านคนแล้ว เชื่อ พัฒนาศักยภาพสตรีจะทำให้เศรษฐกิจไทยแข็งแรง

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการนายกฯยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ถึงความคืบหน้าของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ว่า เมื่อ 5 ก.ย. มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นครั้งแรก ประกอบด้วยคณะกรรมการ 37 ท่านเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 17 ท่าน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากพื้นที่ต่างๆรวมกทม.อีก 20 ท่าน ที่มาของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพราะเราเห็นว่าสตรีไทยมี 32.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าสัดส่วนผู้ชาย ถือว่าครึ่งครึ่ง ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น โดยร้อยละ45 มีความสามารถและเป็นถึงระดับผู้บริหาร ถือว่าน่าภูมิใจที่ผู้หญิงไทยมีศักยภาพในการเป็นผู้นำ แต่อีกร้อยละ 55 ก็ยังต้องการการพัฒนาและโอกาสในการเพิ่มศักยภาพของสตรี ถ้าร่วมกันพัฒนาศักยภาพของสตรีก็จะช่วยเสริมสร้างเศรฐกิจไทยให้แข็งแรง เป็นที่มาของกองทุนพัฒนาบทบบาทสตรี ตามที่รัฐบาลแถลงนโยบายไว้เป็นนโยบายเร่งด่วน

นายกฯ กล่าวว่า อย่างแรกเราคาดหวังว่าอยากเสริมสร้างสังคมไทยและสตรีไทยให้มีความเสมอภาค และต่อยอดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก็นำเอาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งมีการเสนอครม.ไปแล้ว ครอบคบุมสตรีทั้งประเทศ ในส่วนของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ก็เน้นต่อยอดใน 3 ประการ หนึ่งเป็นแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำในการสร้งอาชีพให้แก่กลุ่มสตรีที่ต้องการพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้น ต้องการสร้างโอกาสด้านความเสมอภาค และสามเป็นกลุ่มที่เป็นผู้นำอยู่แล้ว แต่ทำอย่างไรจะสร้างในการแสดงออกและก้าวสู่เวทีโลก เป็นการเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียนด้วย กองทุนนี้จะบูรณาการกับทุกมูลนิธิและองค์กรในการร่วมกันสร้างสรรค์พลังสตรีในการพัฒนาประเทศ

เราจะมีทั้งรูปแบบที่เรียกว่าให้สตรีโดยเฉพาะในต่างจังหวัด มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ หรือเงินทุนอุดหนุนซึ่งขึ้นกับคณะกรรมการจังหวัดที่จะมองว่าตรงไหนจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน ส่วนบทบาทของคณะกรรมการกองทุนฯ ก็ทำหน้าที่วางยุทธศาสตร์ 4 เรื่อง คือ สร้างอาชีพและรายได้ สอง เพิ่มคุณภาพชีวิตของสตรีที่ต้องการโอกาสที่จะได้รับความเป็นธรรมและความเสมอภาค การพัฒนาศักยภาพของผู้นำสตรีก้าวสู่ระดับชุมชุน สู่ระดับประเทศและระดับชาติ และสุดท้ายการพัฒนาศักยภาพร่วมกับกองทุนหรือองค์กรต่างๆในการพัฒนาบทบาทสตรี

นายกฯกล่าวต่อว่า ตั้งแต่เริ่มประชาสัมพันธ์ไปในเรื่องการรับรู้เรื่องงานหรือภารกิจ วันนี้มีจำนวนสมาชิกที่เข้าชื่อมาเพื่อช่วยร่วมกันทำงานกับกรรมการแล้ว 8 ล้านคน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสมาชิกที่ไม่ได้สมัครจะไม่ได้รับสิทธ์ ซึ่งยังเปิดให้สมัครได้เรื่อยๆ และรับสิทธิ์ต่างๆได้ในจัหวัด ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่เป็นสมาชิกก็ตาม เพียงแต่การเป็นสมาชิกก็ทำให้เราเข้าใจและติดต่อสื่อสารในทางตรงได้มากขึ้น ส่วนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกก็อาจจะต้องหาช่องทางในการติดต่อสื่อสาร

วันนี้ในส่วนของจังหวัดเอง ก็มีการคัดเลือกคณะกรรมการฯแล้ว จากนั้นจะต้องมีการคัดเลือกคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนเรื่องการโอนเงิน ตอนนี้ภาพรวมเราโอนให้จังหวัดไปแล้ว 20 ล้านบาท ทางจังหวัดก็ต้องไปวางขั้นตอนการทำงาน เมื่อเงินหมดก็ต้องมีการติดต่อในการโอนเงินไปเพิ่มโดยเฉลี่ยก็จังหวัดละ 100 ล้านบาท

นอกจากนี้คณะกรรมการแห่งชาติมีการตั้งคณะอนุกรรมการ 5 คณะในการร่างยุทธศาตร์ใหญ่ เพื่อให้แน่ใจว่ากองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้เข้าถึงหน่วยงานและองค์กรที่ดูแลเรื่องบทบาทสตรีทั้งหมด และในอนาคตคงร่วมถึงเรื่องกฎหมายระเบียบต่างๆเพื่อให้เกิดสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน

สำหรับกลุ่มที่เป็นสมาชิกที่สมัครเข้ามาในขณะนี้ จำนวนสมาชิกมีหลากหลายทั้งระดับภูมิภาค อายุ การศึกษา อาชีพ โดยร้อยละ 61 เป็นผู้มีรายได้ต่ำกว่า 5 พันบาท แสดงว่ากองทุนนี้สามารถตอบโจทย์ในการสร้างคุณภาพชีวิต หรือมีอาชีพและรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว และกลุ่มนี้ก็ตอบตรงกันว่ารายได้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นการสร้างรายได้ก็คือการสร้างเศรษฐกิจในครอบครัว และประชาชนไห้ดีขึ้น ปัญหาที่เขาต้องการคือ รายได้ไม่เพียงพอ และประการที่สอง คือ สุขภาพ ขณะที่เรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพก็สะท้อนมาอยู่ในสมาชิกของกองทุนนี้ และเรื่องที่สาม คือเรื่องของการศึกษา

นายกฯกล่าวย้ำว่า โดยหลักอยากให้กองทุนนี้เป็นของสตรีทุกคนและให้ผู้มีส่วนร่วมกันตัดสินใจอาศัยการทำงานของทุกหน่วยงานบูรณาการในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น