posttoday

อาเซียนยังไม่ถึงจุดจบ

05 สิงหาคม 2555

นักวิชาการมั่นใจอาเซียนยังไม่ถึงจุดจบ รับกัมพูชาเป็นตัวปัญหา แนะจับตาสำนักเลขาธิการอาเซียน 3 ปีข้างหน้าต่อการปรับตัวครั้งสำคัญ

นักวิชาการมั่นใจอาเซียนยังไม่ถึงจุดจบ รับกัมพูชาเป็นตัวปัญหา แนะจับตาสำนักเลขาธิการอาเซียน 3 ปีข้างหน้าต่อการปรับตัวครั้งสำคัญ

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้จัดหลักสูตรเสริมสร้างความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 สำหรับสื่อมวลชนไทย ในหัวข้อ “จุดจบของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลาง?” โดยมีนายอมิตาฟ อาชาร์ยา นักวิชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายพิเศษ และนายกวี จงกิจถาวร ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวฯ ทำหน้าที่แปลบรรยายสรุป

ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าวได้อภิปรายถึงความท้าทายของอาเซียนในประเด็นที่สืบเนื่องกับการประชุมระดับรัฐมนตรีของอาเซียนที่กัมพูชา (Cambodia Asean Ministerial Meeting) ซึ่งมีขึ้นในเดือนก.ค. ที่ผ่านมา โดยนายอมิตาฟ มองว่า ประเทศกัมพูชา เป็นตัวปัญหาในการประชุมครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะการทำหน้าที่เป็นประธาน

นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์ของประเทศกัมพูชาในการก้าวเข้าสู่อาเซียนไม่ค่อยสวยหรู เนื่องจากเมื่อครั้งที่อาเซียนเริ่มก่อตั้งขึ้น พร้อมทั้งติดต่อให้พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ อดีตพระมหากษัตริย์กัมพูชา เข้ามาเป็นสมาชิก แต่กลับปฏิเสธ พร้อมระบุว่าอาเซียนเป็นกลุ่มของจักรวรรดินิยมอเมริกาจึงไม่อยากเข้าร่วม

ขณะที่ ค.ศ.1977 อาเซียนได้รับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทั้งๆที่รู้ว่าจะมีปัญหา เนื่องจากการปฏิวัติยึดอำนาจพระเจ้าสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ขณะเดียวกัน นายอมิตาฟ ได้ชื่นชมกัมพูชา ในค.ศ. 2003 ได้เป็นประธานอาเซียนและมีการจัดงานประสบความสำเร็จ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างจีนและกัมพูชายังไม่มีความลึกซึ้งใดๆ

ส่วนการเริ่มต้นความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างจีนและกัมพูชา เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2002 และ 10 ปีหลังจากนั้น จีนได้ทุ่มเทเงินช่วยเหลือต่างๆ และสนับสนุนนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา อย่างเต็มที่ รวมทั้งยังมองถึงประเด็นการจัดทำฉันทามติซึ่งมีปัญหา

นายอมิตาฟ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อาเซียนเวลาตัดสินใจในเรื่องอะไรต่างๆ อาทิ ทหาร เช่น การที่กัมพูชาระบุว่าเรื่องปัญหาทะเลจีนใต้ ไม่ได้เป็นปัญหาระดับทวิภาคี ฉะนั้น อาเซียนไม่ควรหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาใส่ไว้ในแถลงการณ์ร่วม ซึ่งความเป็นจริงไม่ใช่

“เพราะตามปกติแล้วอาเซียนปัญหาระดับทวีภาคี และเป็นประเด็นที่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เคยพูดว่า ในอดีตตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ปัญหาทวิภาคีที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ซึ่งอาเซียนไม่ได้เป็นคู่กรณี เช่น ปาเลสไตน์และอิสราเอล อีนเดียกับปากีสถาน และล่าสุดกรณีไทยและกัมพูชา ก็เป็นปัญหาทวิภาคีแทบทั้งสิ้น ฉะนั้น เหตุผลที่กัมพูชายกขึ้นจึงไม่น่าฟัง”

นายอมิตาฟ ระบุว่า นอกจากนี้ มีความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมให้สำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตา ประเทศ อินโดนีเซีย ให้มีขีดความสามารถในการวิเคราะห์และให้ข้อมูลต่อประเทศสมาชิก ขณะที่เหตุผลในการตั้งขึ้นเพื่อมาดูแลกิจการการติดต่อระหว่างคณะกรรมการต่างๆในอาเซียนเท่านั้น ไม่ได้เข้ามามีบทบาทอะไร หากจะดูบทบาทหลังจากนี้ในปี 2008

นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญในอีก 3 ปีข้างหน้า คือ สำนักเลขาธิการอาเซียนจะปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะเวลาที่ประธานอาเซียนไม่สามารถคุมการประชุม และไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันได้ ขณะที่พม่าในอีก 2 ปีข้างหน้า จะก้าวเข้ามาเป็นประธานอาเซียน ก็เป็นเรื่องสำคัญ

เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอาเซียนเคยต่อว่าพม่า และปัจจุบันได้เข้ามาเป็นสมาชิก อีกทั้ง มีการพัฒนาปฏิรูปเศรษฐกิจ การเมือง ทำให้เชื่อว่าอนาคตพม่าจะเป็นประธานอาเซียนที่ดีได้ และไม่เชื่อว่าอาเซียนจะอัปปางตามที่มีนักวิชาการ นักวิเคาระห์ต่างประเทศได้คาดการณ์กันไว้ เพราะยังเป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อเสถียรภาพและมั่นคงในภูมิภาคต่อไป แต่อาเซียนต้องมีการปรับปรุงปฏิรูปให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบๆอาเซียน