posttoday

ครม.เงาแนะรัฐทบทวนโชว์ห่วยช่วยชาติ

04 เมษายน 2555

ครม.เงาปชป.แนะรัฐทบทวนโชว์ห่วยช่วยชาติผลาญงบ 1.6 พันล้านศึกษาโครงสร้างต้นทุนแทนแก้ปลายเหตุ

ครม.เงาปชป.แนะรัฐทบทวนโชว์ห่วยช่วยชาติผลาญงบ 1.6 พันล้านศึกษาโครงสร้างต้นทุนแทนแก้ปลายเหตุ

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน สส.บัญชีรายชื่อ และรมว.พาณิชย์เงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า จากการตรวจสอบการแก้ปัญหาสินค้าราแพงของรัฐบาล พบว่ายังเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยเฉพาะโครงการโชห่วยช่วยชาติที่ใช้งบประมาณกว่า 1,600 ล้านบาท โดยกำหนดหนึ่งร้านค้าหนึ่งชุมชนมีเป้าหมาย 1 หมื่นแห่งทั่วประเทศ ซึ่งกระจายไม่ทั่วถึง และการขายสินค้าที่ต่ำกว่าท้องตลาด 20 % ก็ยังไม่มีมาตรการป้องกันการเวียนเทียนซื้อสินค้าเพื่อนำไปขายต่อ จึงเห็นว่าเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่า

ครม.เงาแนะรัฐทบทวนโชว์ห่วยช่วยชาติ อภิรักษ์ โกษะโยธิน

นายอภิรักษ์กล่าวว่า รัฐบาลควรใช้ประมาณเพื่อศึกษาโครงสร้างต้นทุนสินค้าจำเป็นและกำหนดมาตรการช่วยลดต้นจะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและจะทำให้ราคาปลายทางมีความเป็นธรรมกับผู้บริโภคทั่วประเทศ ทั้งนี้ยังเห็นว่านโยบายพลังวานที่ผิดพาดและรัฐบาลไม่ยอมทบทวนโดยมีการปรบราคาแก๊สเอ็นจีวี แอลพีจี และ ดีเซล สูงขึ้นกระทบต่อต้นทุนการผลิตทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย โดยจะเป็นภาระต่อประชาชนอย่างมาก เพราะ 55 % ของค่าใช้จ่ายประชาชนเป็นค่าอาหาร และค่าเดินทาง นอกจากนี้ยังพบว่าการประกาศควบคุมราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ

นายอภิรักษณ์กล่าวว่า นอกจากนี้ ครม.เงา ยังเป็นห่วงการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นมาใน 7 จังหวัด และ 40 % ในจังหวัดอื่น ๆ นั้น เป็นการปรับค่าแรงแบบก้าวกระโดดทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ทันและได้รับผลกระทบอย่างหนักโดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มแอล ซึ่งจะต้องปิดตัวลงนับแสนราย  จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดมาตรการพิเศษในการช่วยเหลือ เพราะผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่ได้ประโยขน์จากมาตรการลดภาษีนิติบุคคลธรรมดาจาก 30 % เป็น 23 % โดยผู้ที่ได้ประโยชน์คือบริษัทใหญ่และอุตสาหกรรมบางประเภทเท่านั้น อีกทั้งแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคนก็ไม่ได้ประโยชน์จากการปรับค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลชุดนี้

นายอภิรักษ์ยังกล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำของรัฐบาลด้วยว่า มุ่งแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่มีการกำหนดมาตรการเชิงรุก ต้องรอให้เกษตรกรออกมาปิดถนนเรียกร้องจึงค่อยเข้าไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหายางพารา มันสำปะหลัง และ สัปปะรด จึงขอให้รัฐบาลกำหนดมาตรการเชิงรุกในการเข้าไปศึกษาโครงสร้างต้นทุน จัดหาตลาดรองรับผลไม้ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในเร็ว ๆ นี้แทนที่จะตามแก้ที่ปลายเหตุเมือนที่ผ่านมา และเห็นว่ารัฐบาลต้องปรับปรุงนโยบายในการดูแลค่าครองชีพให้กับประชาชนทั้งระบบ