posttoday

จากโอนหุ้นให้โดยเสน่หา ถึง “ที่ดินรัชดาฯ”

19 กุมภาพันธ์ 2553

คำตัดสินของศาลอาญาที่สั่งจำคุกนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ อดีตประธานกรรมการบริหารชินคอร์ปอเรชั่น, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนละ 3 ปี และสั่งจำคุกนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน เป็นเวลา 2 ปี

คำตัดสินของศาลอาญาที่สั่งจำคุกนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ อดีตประธานกรรมการบริหารชินคอร์ปอเรชั่น, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนละ 3 ปี และสั่งจำคุกนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน เป็นเวลา 2 ปี

ในความผิดฐาน ร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากรหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น 546 ล้านบาท จากการที่คุณหญิงพจมานแจ้งว่าโอนหุ้น 4.5 ล้านหุ้น มูลค่า 738 ล้านบาทให้แก่นายบรรณพจน์โดยสิเหน่หา และกรมสรรพากรไม่เก็บภาษี เพราะตอนนี้ข้าราชการตีความว่า ไม่ต้องเสียภาษีเพราะให้โดยธรรมจรรยา น้องให้พี่

ทว่า ผู้พิพากษาศาลอาญา พิจารณาแล้วพิพากษาว่า พยานหลักฐานที่ฝ่ายโจทย์นำสืบมีความมั่นคง และพยานจำเลยไม่สามารถหักล้างได้ รวมทั้งเห็นว่าจำเลยทั้ง 3 ควรจะดำเนินการในฐานะพลเมืองดี และเป็นตัวอย่างให้สังคม

จำเลยมีทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ซึ่งการชำระภาษีดังกล่าวไม่กระทบต่อฐานะของจำเลย ดังนั้นการจงใจฉ้อโกงและมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีจึงเป็นการกระทำที่เป็นความผิดร้ายแรง และไม่เป็นธรรมต่อสังคม

จึงพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 3 คน ที่กระทำความผิดต่างกรรม โดยให้เรียงกระทงลงโทษ ซึ่งความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง หรือใช้กลอุบาย เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากรมีโทษจำคุกคนละ 2 ปี ส่วนความผิดฐานร่วมกันแจ้งความเท็จ ตอบคำถามเท็จแสดงพยานหลักฐานเท็จ ให้จำคุกจำเลยที่ 1 และ 2 คนละ 1 ปี

เพราะจำเลยทั้ง 3 กระทำอันหลีกเลี่ยงและโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยใช้กลอุบายอันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (1) (2) และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และ 91

ก่อนที่จะปล่อยให้จำเลยทั้ง 3 คน ประกันตัวออกไปด้วยหลักทรัพย์คนละ 5 ล้านบาท

แม้ในทางคดีคนในครอบครัวชินวัตรจะสามารถต่อสู้คดีในชั้นศาลอุทธรณ์ และฎีกา

แต่ในทางสังคม และในทางการเมืองแล้วถือเป็นคำตัดสินที่ได้สร้างบรรทัดฐานให้กับสังคม และตีแผ่กระบวนการหลบเลี่ยงภาษีของครอบครัวอดีตผู้นำประเทศออกมาอย่างล่อนจ้อน

ขณะเดียวกันก็เป็น “บ่วงรัดคอ” คนในครอบครัวชินวัตรจนดิ้นไม่หลุดจากกรรมเก่าที่ได้กระทำไว้

และอาจกลายเป็นคดีนำร่องที่ “ถอดชนวน” ความคลางแคลงใจของคนสังคมที่แตกแยกกันอย่างหนักระหว่าง “คนรักทักษิณ” กับ “คนเกลียดทักษิณ”

เนื่องเพราะถ้าเราไม่เชื่อถือผลการตัดสินของศาลแล้วไซร้ สังคมไทยจะไร้ซึ่งองค์กรที่มีความเชื่อถือกันอีกต่อไป

***********************

ผลของคดี “การโอนหุ้นให้โดยเสน่หา”นั้น แรงสะเทือนมิจำกัดวงรอบเพียงแค่ที่เราเท่านั้น หากแต่สะท้านเข้าไปในใจของ “คนในครอบครัวชินวัตร” และ “ผู้เกี่ยวข้อง” ให้หวั่นไหว คลอนแคลน และไม่แน่ใจในเครือข่ายของอำนาจแห่งทักษิณเสียแล้ว

ไม่เฉพาะคนในพรรคพลังประชาชน และนักการเมืองเท่านั้นที่บอกว่า “นี่คือระฆังยกแรก”ที่ส่งผ่านไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องและคนรอบตัว
แม้แต่คนใน “ซอยจรัญฯ69” ก็พูดกันตั้งแต่เช้าของวันที่ 31 ก.ค.แล้วว่า “ชะตากรรมของคนในครอบครัวทักษิณ” กำลังแขวนอยู่บนเส้นด้ายผุๆ

เนื่องเพราะคดีที่กำลังเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล แต่ละคดีหลังจากนี้นั้นล้วนแล้วแต่มีประเด็นที่มุ่ง “มัดตราสังข์ทักษิณ”ให้ดิ้นไม่หลุดทั้งสิ้น

ว่ากันว่าคดีที่จะ “ตีตรวนทักษิณ” ให้ดิ้นไม่ได้มากที่สุดคือ คดีที่ดินรัชดาฯที่มีการซื้อขายและทำนิติกรรมการโอนกันในคืนสุดท้ายของปี 2546 ในราคาที่ต่ำกว่าการประมูลในรอบแรกถึง 50%

คดีนี้ศาลฎีการแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะนัดแถลงปิดคดีในวันที่ 22 ส.ค.นี้

ถ้าตัดสินว่าผิด “ทักษิณพจมาน” หมดสิทธิ์สู้ในชั้นอุทธรณ์ หรือฎีกาทันที เพราะที่ศาลฎีกา แผนกนี้เขาตัดสินกันศาลเดียว และคำตัดสินผิดถูกนั้น จะผูกติดไปกับ “การเมือง” ด้วย

ข้อมูลทางลึกและในทางลับจากทีมทนายความของบ้านจันทร์ส่องหล้าก็ยืนยันว่า คดีนี้หนักหนาและผู้ที่ร้องหมายมั่นปั้นมือมากที่สุด จึงมีการตั้งธงในการกล่าวหาไว้ถึง 7 ประเด็น

1.ทำไมต้องเร่งรัดการขายให้เสร็จสิ้นในปี 2546 เอื้อค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินและราคาประเมินใหม่หรือไม่

2.ทำไมที่ดินจึงปรับลดจาก 35 ไร่ จากการประมูลครั้งแรก เหลือ 33 ไร่ในการประมูลครั้งที่สอง

3.ทำไมกองทุนฟื้นฟูฯ เปลี่ยนการประมูลจากการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (Eauction) เป็นยื่นซองเสนอราคาประมูล

4.ทำไมจึงเพิ่มเงินวางมัดจำของผู้ประมูลจาก 1 หมื่นบาท เป็น 100 ล้านบาท

5.ทำไมครั้งแรก ถึงไม่มีใครเข้าประมูลเลยทั้งที่เงินมัดจำเพียง 1 หมื่นบาท

6.การประมูลครั้งที่สอง ซึ่งคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เข้าร่วมประมูล กับอีก 3 ราย มีการฮั้วกันหรือไม่ เพราะเมื่อดูข้อมูลแล้วใกล้เคียงกัน กล่าวคือนายสมบูรณ์ คุปติมนัส ยื่นในฐานะตัวแทนของ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เสนอราคาสูงสุดคือ 772 ล้านบาท ส่วนรายอื่น ๆ เช่น บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เสนอ 730 ล้านบาท บริษัท โนเบิล เฮ้าส์ เสนอ 750 ล้านบาท บริษัทเอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ เสนอ 750 ล้านบาท

7.ทำไมราคากลางจึงอยู่ระดับต่ำกว่าราคาตลาดในขณะนั้นถึง 50%

8.การซื้อขายที่ดินดังกล่าวถือว่าขัดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หมวด 9 มาตรา 100 หรือไม่

นี่คือปมเชือกที่รอรัดข้อมือ ข้อเท้าของอดีตผู้นำประเทศ และภริยา