posttoday

รากของยุทธศาสตร์ (Root of Strategy)

11 พฤษภาคม 2563

โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

*******************

ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีเทพอยู่องค์หนึ่งชื่อ ตรีมูรติ เป็นเทพสูงสุดของพราหมณ์สามองค์ประกอบด้วย พระวิษณุ พระพรหม และพระศิวะ มารวมกันเป็นหนึ่งเดียว ในความเป็นหนึ่งเดียวนั้น แต่ละองค์มีบทบาทหน้าที่ต่างกัน องค์หนึ่งมีหน้าที่สร้าง องค์หนึ่งรักษา อีกองค์ทำลาย

Strategy ที่ดีต้องไม่มองแบบแยกส่วน แต่จะต้องมองแบบองค์รวม ต้องไม่มองเชิงสถิต แต่มองเชิงพลวัต

ผมคิดว่า Strategy ก็เหมือนเทพตรีมูรติ ในสูตรจะต้องมีการผสมผสานระหว่างการสร้างใหม่ การรักษา และการทำลายสิ่งเก่า มีนักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรียท่านหนึ่งคือ Joseph Schumpeter กล่าวไว้ว่าประเทศจะเจริญเติบโตได้ ก็ต่อเมื่อมีคนขับเคลื่อนให้เกิด Creative Destruction

Strategy ไม่ใช่สิ่งใหม่ในโลกเชิงปรัชญาตะวันออกมีคำนี้มานานตั้งแต่ซุนวู ที่บอกว่าสุดยอดของกลยุทธ์นั้นคือ “Subdue the Enemy Without Fighting” ก็เหมือนวิถีแห่งเต๋า “กระทำโดยไม่กระทำ” มีอยู่ในชีวิตประจำวันของเราแต่ไม่มีการบันทึกไว้ เนื้อหาของ Strategy ผู้รู้บางคนเสนอในวงแคบ บางคนเสนอในวงกว้างจนตีกรอบไม่ได้ จริง ๆ มาจากการสร้าง การรักษา และการทำลายในเวลาเดียวกัน

ในวงการแฟชั่นโลก Issey Miyake แจ้งเกิดโดยการทำลายแนวคิดเก่า (Deconstructionism) ก่อนจะสร้างอะไรขึ้นมาใหม่ต้องทำลายแนวคิดเดิมก่อน แต่เป็นการทำลายในเชิงสร้างสรรค์ นั่นคือ CreativeDestruction ตรงนี้เป็นศาสตร์และศิลป์ของความเป็นยุทธศาสตร์มีนักคิดเริ่มบัญญัติศัพท์ทางกลยุทธ์เพื่อให้เข้าใจง่าย เป็นกรอบในการวางกลยุทธ์ให้ง่ายขึ้น อาทิ Zoom In กับ Zoom Out, Emergent กับ Deliberated Strategy หรือ Inside-Out กับ Outside-In พวกนี้เป็นคำที่ถูกนิยามขึ้นมาเพื่อให้การมองStrategy ง่ายขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึงทุกคนที่รับรู้จะเข้าใจเหมือนกัน และนำมาสู่Strategy เดียวกัน

Strategy ที่ดีมีลูกเล่น เร็วช้า หนักเบาจังหวะจะโคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ยุทธศาสตร์ดีๆ แต่ออกตัวในเวลาที่ไม่เหมาะ หรือฝากความหวังไว้กับคนที่ไม่ใช่ให้ทำหน้าที่นำการขับเคลื่อน ก็ย่อมนำมาซึ่งความล้มเหลว นี่คือศิลปะในการขับเคลื่อน Strategy

ยกตัวอย่างตอนผมเป็นเด็กผมชอบวิชาวิทยาศาสตร์มากผมตื่นเต้นเมื่อคุณครูสอนผมว่าเวลาจะเจือจางกรดด้วยน้ำ การเอาน้ำใส่กรดกับการเอากรดใส่น้้ำนั้นให้ผลต่างกัน พูดง่าย ๆ ลำดับจาก A สู่ B กับ B สู่ Aให้ผลไม่เหมือนกัน อิทธิพลตรงนี้มาจากวิทยาศาสตร์ แต่ทำให้ผมเห็นยุทธศาสตร์ว่าบางทีไม่แน่ ใช้ก่อนหลังอาจให้ผลไม่เหมือนกัน ตรงนี้เหมือนกับนิทานเซนเรื่องหนึ่ง เขาบอกว่าชายคนหนึ่งให้เกาลัดกับลิง เช้า 2 เม็ดเย็น 3 เม็ดลิงไม่พอใจ วันรุ่งขึ้นเปลี่ยนเป็นเช้า 3 เม็ด เย็น 2 เม็ด ลิงพอใจซึ่งจริง ๆ เรารู้อยู่แล้วว่าเท่ากัน

วิชากลยุทธ์จึงมีเสน่ห์เหมือนผืนผ้าที่มีพื้นที่จำกัดแต่คุณจะวาดอะไรก็ได้อย่างอิสระ บนผืนผ้าที่จำกัดนั้น

วิชาการเงิน ซึ่งปกติเป็นศาสตร์มากกว่าศิลป์ จึงมีความแข็งทื่อ ช่วงหลังมีการปรับมาเป็นแนว Behavioral Finance เพราะเดิมอธิบายคนเชิง Rational แต่จริง ๆ คนนั้น Bounded Rational และถ้าอธิบายคนด้วย Rational เรื่องของการสร้าง Entrepreneurial Society ก็จบ เพราะคนเหล่านี้ “HaveIrrational Mind”, “Make Irrational Decision” และ “Get Non-linear Return”

Strategy ในที่สุดคือ Rational + Irrational เป็น Emergent + Deliberated แต่ไม่ใช่รู้แค่นี้สองคนรู้เหมือนกัน ผลไม้เหมือนกัน ตรงนี้มีอิทธิพลจากปัจจัยหลายอย่าง ตอนผมเรียนเภสัชศาสตร์ เรารู้อยู่แล้วว่าน้ำกับน้ำมันเข้ากันไม่ได้ต้องมี Emulsifier เหมือนการทำสลัด ไข่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้าเป็นเนื้อเดียวกันแต่เชื่อหรือไม่ว่า พอใส่ Emulsifier ลงไป เม็ดน้ำมันจะถูกจับด้วย Emulsifier ล้อมน้ำไว้ถ้าจำไม่ผิดเราเรียกว่า “Water in Oil” แต่ถ้าเปลี่ยน Condition นิดเดียว เช่น เปลี่ยนความเป็นกรดด่าง“Water in Oil” จะกลายเป็น “Oil in Water” ทันทีนี่คือโลกของ Non-Linear แสดงว่า Strategy ที่ดีอาจเล่นที่หมากสุดท้ายหมากเดียว หมากนั้นเป็น Turning Point เป็นจุดเปลี่ยนของทั้งระบบ เปลี่ยนทั้งกระดาน นั่นถึงเป็นสุดยอดของยุทธศาสตร์

Strategy จึงไม่ได้เป็นอะไรที่มากกว่าการสะท้อนพฤติกรรมมนุษย์ ผมเห็นโฆษณาชิ้นหนึ่ง มีน้ำไม่เต็มแก้ว อยู่ที่คุณจะมองเห็นส่วนที่ขาดหรือส่วนที่เกิน นั่นคือ“มุมมอง” ที่แตกต่าง คุณอาจมองวิกฤตเป็นโอกาสทุกอย่างเป็น Common Sense เพียงแต่ Strategy มาถึงจุดหนึ่งเป็นเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์มี “วาระส่วนตัว” ของคนวาง Strategy ซ่อนอยู่ ทำอย่างไรที่จะลดส่วนต่างระหว่าง “วาระส่วนตัว” กับ “วาระองค์กร” ให้ได้มากที่สุด ต่อให้เก่งแค่ไหน ถ้า“วาระส่วนตัว” ไม่สอดรับกับ “วาระองค์กร” ทุกอย่างก็จบ ยิ่ง“วาระส่วนตัว” กับ “วาระประเทศ”ยิ่งไปกันใหญ่

ในเรื่อง Strategy คนที่กำหนดกติกาต้องสร้าง “พื้นที่ร่วม” ให้มากที่สุด หรือให้มี “พื้นที่ต่าง” ให้น้อยที่สุด Strategy จริง ๆ จึงเป็นเรื่องการบริหารจัดการผลประโยชน์ร่วมในธุรกิจ หรือประโยชน์สุขร่วมของประชาชนในประเทศ

Strategy ที่ดีเหมือนที่ไอสไตล์บอกว่า เมื่อเวลาคุณต้องเข้าไปทำคุณต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบ

Strategy ที่ดีต้องสามารถผสมผสานวาระส่วนตัวเข้าไปกับวาระองค์กรต้องรู้ว่าเมื่อไรควรเข้าไปในระบบ เมื่อไรควรถอนตัวออกจากระบบ พูดง่าย ๆ Exit Strategy นั้นสำคัญไม่ด้อยไปกว่า Entry Strategyเลย

ประสบการณ์ที่สอนวิชา Competitive Strategy หลักคิดของผมมีอยู่ว่า ผม จะไม่เน้นการสอน Strategic Analysis ยกตัวอย่าง เช่น เวลาพูดถึง SWOT พูดถึง BCG (Boston Consulting Group) Model ผมจะไม่เน้นว่าโมเดลเหล่านี้เป็นอย่างไร ตรงนั้นให้ไปอ่านเองแต่ผมจะเน้น Meta-Analysis คือ Analysisของ Analysis เปรียบ BCG Model เหมือนเป็นปืน คุณต้องส่องแบบนี้ผมจะสอนพวกคุณว่าเมื่อไหร่คุณจะใช้ปืน เมื่อไหร่ใช้มีด บางครั้งคุณใช้ปากก็พอผมสอนวิธีการใช้เครื่องมือสอนว่าเมื่อไหร่ จะใช้เครื่องมืออย่างไหนจึงจะเหมาะสม ผมสอนวิธีการ “Create Choices” ก่อนที่จะ “Make Choices”ผมสอนว่าทำไมคุณต้องไปเชียงใหม่ ทำไมไม่ไปที่อื่น แทนที่อยู่ดีๆ สอนว่าจะไปเชียงใหม่ไปได้กี่วิธี

Strategy ก็เหมือนกัน ที่เหลือคือความหลากหลายมิติ Strategy บางอย่างอาจมาจากบทประพันธ์ของเชกสเปียร์บางอย่างอาจไม่จำเป็นต้องมาจากซุนวู บางอย่างอาจมาจากเด็ก เด็กร้องไห้ เพราะเรียกร้องบางอย่างจากผู้ใหญ่ ร้องจนกว่าผู้ใหญ่จะยอม

พวกเราทุกคนเป็น Strategist ทั้งนั้น โดยธรรมชาติคนที่วางแผนเก่งคือคนที่แนบเนียน ขณะที่คนอื่นยังไม่รู้ว่าวางแผนเลย มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า “สุดยอดของ Strategy คือไม่มีใครรู้ว่าคุณเล่น Strategy อะไรอยู่ เพียงแต่รู้ว่า Tactic ที่คุณใช้คืออะไร”

คนสัมผัสได้แต่รูปธรรม แต่ไม่รู้นามธรรมของมัน ไม่รู้ลึกในเจตจำนงและเป้าหมายที่แท้จริง เผลอๆการไม่เล่นเกมเลยอาจจะเป็น Strategy ที่สุดยอดที่สุด บางทีเราถึงต้องยั่วให้เล่นเกม บางทีการที่คุณไม่คิดจะปะทะเลย อาจทำให้อีกฝ่ายทำอะไรไม่ได้เลยก็ได้

Strategy จึงไม่มีสูตรตายตัว เหมือนกับคำว่า "Wu" ในภาษาจีนซึ่งไม่ได้แปลว่า“ไม่” ในเต๋าบอกว่า “ไร้”คำนี้คือ “ความว่างเปล่า” เหมือนกับเวลาเราพูดถึง Competitive มี Non-Competitive และ Un-Competitive ซึ่งไ ม่เหมือนกัน ไม่ได้หมายความ ว่า ถ้าคุณไม่ Competitive แต่ผมไม่เห็นต้องมา Compete กับคุณ ผม Beyond Competition แล้ว เป็นต้น

สุดยอดของ Strategy บางครั้งต้องรู้จักคำว่า Beyond เหมือน Maslow ที่พูดถึง Hierarchy ofNeed ที่บอกว่า ความต้องการของมนุษย์ขั้นสุดท้ายคือ Self Actualization ผมไม่สนแม้กระทั่งคุณให้ผมเป็นอะไร บางคนผ่านพ้นช่วงนั้นมาสู่อีกช่วงหนึ่ง หรือบางคนแกล้งทำตัวให้โง่งม เพราะรู้ว่าคนอวดเก่งมักจะไม่รอด เหมือนเต๋า ต้นไม้ที่สวยมักจะถูกตัดออกมาทำเฟอร์นิเจอร์ส่วนต้นไม้ที่หงิก ๆ งอ ๆ จะเป็นต้นไม้ที่อยู่นิรันดร นี่คือ “Ultimate Strategy”