posttoday

ล้างหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่ทำเจ็บตัว ทำก็เจ็บใจ

14 ธันวาคม 2553

การออกมาเปิดเผยมาตรการแก้ปัญหาหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.14 ล้านล้านบาท ของ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่า กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้อนุมัติแผนสะสางหนี้กองทุนฟื้นฟูเรียบร้อยแล้ว น่าจะเป็นการเปิดศึกสงครามรอบใหม่ของหน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ

การออกมาเปิดเผยมาตรการแก้ปัญหาหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.14 ล้านล้านบาท ของ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่า กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้อนุมัติแผนสะสางหนี้กองทุนฟื้นฟูเรียบร้อยแล้ว น่าจะเป็นการเปิดศึกสงครามรอบใหม่ของหน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ

โดย...ทีมข่าวการเงิน

การออกมาเปิดเผยมาตรการแก้ปัญหาหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.14 ล้านล้านบาท ของ จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่า กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้อนุมัติแผนสะสางหนี้กองทุนฟื้นฟูเรียบร้อยแล้ว น่าจะเป็นการเปิดศึกสงครามรอบใหม่ของหน่วยงานเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ

เพราะแนวทางที่กระทรวงการคลังกำลังขับเคลื่อนนั้น คือ ให้ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) เพื่อวางแผนแก้ไขให้เสร็จภายในปี 2554

พิจารณารายละเอียดแผนการแก้ไขแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนแรก จะสะสางหนี้เอฟไอดีเอฟ 1 วงเงิน 4.6 แสนล้านบาท ด้วยการออกพันธบัตรอัตราดอกเบี้ย 0% (ซีโร่คูปอง) ขายให้แบงก์ชาติเพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระอัตราดอกเบี้ยที่เป็นภาระงบประมาณปีละ 7.6 หมื่นล้านบาท

ส่วนที่สอง จะสะสางหนี้เอฟไอดีเอฟ 3 วงเงิน 6.4 แสนล้านบาท ด้วยการเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา เพื่อให้แบงก์ชาติสามารถบริหารหาผลกำไรจากเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมากขึ้น

ส่วนที่สาม จะเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.เงินตราว่าด้วยเรื่องการบันทึกบัญชีผลกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อให้บัญชีผลประโยชน์ของแบงก์ชาติ มีเงินมาชำระเงินต้นตามกฎหมายกำหนดได้มากขึ้น

จักรกฤศฏิ์ บอกว่า หากเริ่มต้นทำได้ครึ่งหนึ่งก็จะประหยัดงบประมาณได้ปีละ 23 หมื่นล้านบาท หากทำได้ทั้งหมดจะประหยัดเงินได้ถึง 67 หมื่นล้านบาท ทำให้รัฐบาลมีเงินไปสร้างรถไฟฟ้าได้ปีละ 1 เส้นทาง ได้อย่างสบายๆ

ฟังตื้นๆ อาจมองว่าไม่มีอะไรในกอไผ่ แต่ความเป็นจริงแล้ว ทั้งสามส่วนนั้นล้วนแล้วแต่เป็นการตอกย้ำความขัดแย้งรอบใหม่ระหว่างกระทรวงการคลังกับแบงก์ชาติ!!!

และเป็นการศึกที่บรรดาผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติไม่ยอมรับ

ไม่ยอมรับยังไม่พอ ยังคัดค้านอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู

ขนาด ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ แบงก์ชาติ คนที่ กรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ทาบทามมานั่งเก้าอี้นี้ และเคยพูดคุยกันในเรื่องนี้มาก่อน ยังออกมาคัดค้านตรงๆ โต้งๆ

ประสาร พูดชัดว่า กรณีที่กระทรวงการคลังเสนอให้แบงก์ชาตินำเงินมาซื้อพันธบัตรรัฐบาลไม่มีอัตราดอกเบี้ย หรือซีโร่ คูปอง เพื่อนำเงินมาชำระเงินต้นกองทุนฟื้นฟูฯ นั้น โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เห็นด้วย

ประสาร บอกว่า ไม่ค่อยเป็นผลดีหลายประการ

ประการแรก จะทำให้วินัยทางการเงินของประเทศเสียไป เนื่องจากไปสร้างธรรมเนียมที่ไม่ดี ถ้าวันหนึ่งข้างหน้าเกิดรัฐบาลชุดใดชุดหนึ่งในอนาคตขาดวินัยทางการคลัง และไม่มีการจัดเก็บรายได้เพิ่มจนขาดดุลบัญชีและไม่สามารถขอกู้จากตลาดได้ก็จะหันมาที่ธนาคารกลางแล้วกล่าวอ้างว่าเมื่อปี 25532554 ยังสามารถทำได้

ถ้าเปิดประตูครั้งหนึ่งก็จะเสียวินัยทางการคลัง และการที่ธนาคารกลางไปปล่อยกู้กับทางรัฐบาล เป็นเรื่องที่ธนาคารกลางทั่วไปจะต้องระมัดระวังมาก

ส่วนปัญหาการที่หนี้เงินต้นแทบไม่ลดลงก็ต้องพยายามหาทางออกดูว่าจะทำอย่างไรต่อไป

ดังนั้น ทางออกของการแก้ปัญหาของหลายประเทศส่วนใหญ่มักจะนำปัญหาที่หาทางออกไม่ได้เข้าไปที่รัฐสภา

ประการที่สอง การปล่อยกู้ดังกล่าวไม่มีการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ย จะยิ่งเป็นการโยนภาระค่าใช้จ่ายไว้ที่แบงก์ชาติอย่างมาก

เพราะเข้ารับจำนำของมา แต่คนขายไม่ยอมจ่ายดอกเบี้ยให้

ชัดๆ โต้งๆ ว่า กระบวนความคิด การก่อรูปทางนโยบายของรัฐขัดกันโดยสิ้นเชิง คนในแบงก์ชาติปฏิเสธความคิดในการรื้อวิธีการจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังที่กำลังเผชิญปัญหายักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก หากต้องการจะจัดงบประมาณแบบสมดุลตามที่ประกาศไว้

เพราะวิธีที่กระทรวงการคลังขบคิดกันนั้น เท่ากับเป็นการรื้อวิธีปฏิบัติที่ตกลงกันไว้แต่เดิมและร่วงมาเป็นเวลา 13 ปี...

เป็น 13 ปี ที่กระทรวงการคลังกับแบงก์ชาติตกลงกันว่า หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ร่วม 1.4 ล้านล้านบาทนั้น กระทรวงการคลังจะรับจ่ายภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการเข้าแทรกแซงสถาบันการเงินในห้วงปี 2540 จนเศรษฐกิจล่มสลาย ส่วนแบงก์ชาติจะรับผิดชอบการจ่ายเงินต้น

แต่ 13 ปีผ่านไป รัฐบาลรับจ่ายดอกเบี้ยไปปีละ 67.5 หมื่นล้านบาท รวมสะระตะก็ตั้งงบประมาณจ่ายไปแล้วร่วม 77.5 แสนล้านบาท

แต่หนี้เงินต้นลดลงจาก 1.4 ล้านล้านบาท เหลือ 1.14 ล้านล้านบาท ลดลงแค่ 3 แสนล้านบาท

ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป เงินงบประมาณแผ่นดินก็จะร่อยหรอลงจากการเจียดงบไปจ่ายหนี้กองทุนฟื้นฟูทุกปี ปีละ 67 หมื่นล้านบาท

เนื่องจากแบงก์ชาติจ่ายหนี้เงินต้นไม่ได้ จะจ่ายหนี้ได้ก็ต้องมีกำไรจากผลดำเนินการเท่านั้น

แต่ปัจจุบันนี้กว่า 13 ปี มาแล้วแบงก์ชาติไม่ได้มีกำไรเลย ที่ไม่มีผลกำไรก็เพราะต้องเอาเงินบาทไปแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนหรือแข็งค่าเร็วขึ้นนี่แหละ

วิธีการก็ไม่มีอะไรซับซ้อน การเอาเงินบาทไปขาย ได้เงินเหรียญสหรัฐกลับมา เงินทุนสำรองเพิ่มพูนขึ้นทุกที แต่เงินบาทแข็งค่าขึ้น แบงก์ชาติก็ยิ่งขาดทุนทุกปี

เมื่อขาดทุนก็ไม่มีเงินไปชำระหนี้เงินต้น รัฐบาลส่งแต่ดอก โดยหนี้เงินต้นไม่ลด

13 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก วิธีการแทรกแซงไม่ได้เปลี่ยน เพียงแค่ปรับทิศจากพยุงไม่ให้อ่อนค่ามาเป็นพยุงมิให้แข็งค่าเท่านั้น

ยิ่งปีนี้อาจจะเป็นปีที่แบงก์ชาติขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นประวัติการณ์ก็ได้หากพิจารณาจากค่าเงินบาทที่กระโดดแข็งค่าขึ้นมาจาก 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ มาเป็น 29.5030.25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

ถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไป ไม่แน่ว่าอีก 56 ปี ดอกก็คงท่วมเงินต้น

อนาถาพอๆ กับแม่ค้าที่กู้หนี้นอกระบบมาทำมาหากินนั่นแหละ

สงครามทางนโยบายรอบนี้ จึงอาจยืดเยื้อและอาจมีคนเจ็บตัวได้ในไม่ช้า หากบรรดาผู้คนที่หลงรักสมบัติเจ้าคุณปู่ และบรรดาศิษยานุศิษย์ของ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พากันออกโรงมาต่อต้านกระบวนทางนโยบายในการสะสางปัญหาของชาติที่หมักหมมมายาวนานจนกลายเป็นดินพอกหางหมู

เพราะถึงตอนนี้ผู้บริหารกระทรวงการคลังก็ไม่มีหนทางออก นอกจากจะหากระบวนการที่จะมีทางประหยัดภาระดอกเบี้ยจ่ายปีละ 67 หมื่นล้านบาทไปฟรีๆ เพื่อนำเงินนั้นมาพัฒนาประเทศ

เดิมพันครั้งนี้จึงใหญ่ที่อาจทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจต้องยอมเจ็บเนื้อเจ็บตัวเพราะความยึดมั่นในหลักการและวิธีคิดได้

ถึงตอนนั้นไม่แน่ ระบบรัฐสภาอาจเป็นทางออกในการแก้ปัญหา พ.ร.บ.เงินตรา เพื่อเปิดทางให้ธนาคารกลางสามารถบริหารเงินทุนสำรองจะได้นำเงินจากกำไรมาจ่ายเงินต้นได้บ้าง

ไม่เช่นนั้นปัญหาหนี้ 1.14 ล้านล้านบาท จะเป็นดินพอกหางหมูลากถูไปกับรัฐบาลจนไม่สามารถหาเงินมาพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้นได้