posttoday

เปิดโมเดลธุรกิจทีโอที “ถึงเวลาเอไอเอสให้บริการ 3 จี”

25 พฤศจิกายน 2553

ในที่สุด บริษัท ทีโอที และ คู่สัญญาสุดรักอย่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส  ก็บรรลุความร่วมมือระหว่างกันใน 3 เรื่อง คือ ทีโอทีเปิดให้เอไอเอสใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการดาต้า  การให้เอไอเอสเช่าใช้โครงข่ายเพื่อทำการตลาดในรูปแบบเอ็มวีเอ็นโอ ในโครงการ 3จี ทั่วประเทศมูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท และ ทีโอที สามารถเช่าใช้เสาถานีฐานที่มีอยู่กว่า 1.5 หมื่นสถานีสำหรับการขยายโครงข่าย 3 จีได้

ในที่สุด บริษัท ทีโอที และ คู่สัญญาสุดรักอย่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส  ก็บรรลุความร่วมมือระหว่างกันใน 3 เรื่อง คือ ทีโอทีเปิดให้เอไอเอสใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการดาต้า  การให้เอไอเอสเช่าใช้โครงข่ายเพื่อทำการตลาดในรูปแบบเอ็มวีเอ็นโอ ในโครงการ 3จี ทั่วประเทศมูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท และ ทีโอที สามารถเช่าใช้เสาถานีฐานที่มีอยู่กว่า 1.5 หมื่นสถานีสำหรับการขยายโครงข่าย 3 จีได้

ความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการหารือนานกว่า 2 ชม.  เมื่อวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา  ถือเป็นการหารืออย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่เอไอเอสเสนอโมเดลธุรกิจต่างๆ ไปยัง ทีโอทีเมื่อ 6 เดือนก่อนหน้า  แต่ไร้สัญญาณตอบกลับแม้ทางคณะกรรมกา หรือ บอร์ด และ จุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที จะไฟเขียวทุกทาง ที่ให้ทีโอทีร่วมมือกับเอไอเอสและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด

วิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหารเอไอเอส กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้า  จะเสนอแผนการให้บริการดาต้า โรมมิ่งต่อทีโอทีอีกครั้ง ซึ่งจะมีรายละเอียดในส่วนของค่าบริการที่จะเรียกเก็บ เบื้องต้นเอไอเอสได้ยื่นขอโรมมิ่ง 5 หมื่นเลขหมาย  แต่ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับทีโอทีว่าจะให้โครงข่ายเพื่อให้บริการเท่าไร ซึ่งหากทีโอทีให้มาก เอไอเอสก็จะสามารถให้บริการได้มากกว่า 5 หมื่นเลขหมาย

การที่ทีโอทีเปิดให้เอไอเอสโรมมิ่งครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้เอไอเอสสามารถก้าวเข้าสู่บริการ 3 จี บนคลื่นความถี่เดิม หรือ เอชเอสพีเอได้จริงจังมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมาทำได้เพียงจังหวัดเชียงใหม่ พารากอน และ เซ็นทรัลเวิลด์ แล้วต้องหยุดไป เนื่องจากคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ ที่เอไอเอสมีอยู่นั้นไม่เพียงพอที่จะรองรับการใช้งานดาต้าหนักๆ ได้  ส่งผลกระทบต่อการใช้งานโทร.ออก ของเอไอเอส

“การที่ทีโอทีไฟเขียวครั้งนี้ทำให้เอไอเอสมีโครงข่ายที่จะให้บริการ 3 จี ได้ และจากนี้ไปการใช้งานโครงข่ายของเอไอเอสจะ กลับมาดีเหมือนเดิม” วิเชียรกล่าว

ส่วนความร่วมมือในรูปแบบเอ็มวีเอ็นโอนั้นจะกิดขึ้นในโครงการ 3 ทั่วประเทศ ในลักษณะเดียวกับดาต้า โรมมิ่ง คือ เอไอเอสขอใช้โครงข่าย 3 จีเพื่อให้บริการดาต้า 3 จีกับลูกค้าของเอไอเอส 30 ล้านราย  หรือ เรียกว่า เอ็มวีเอ็นโอเต็มรูปแบบ  เนื่องจากเอไอเอสมีระบบบริหารจัดเก็บเงินและดูแลลูกค้าเป็นของตัวเองอยู่แล้ว  สิ่งที่ขาดตอนนี้คือโครงข่ายเท่านั้น

ส่วนมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.... หรือ พ.ร.บ.กสทช. ที่ระบุห้ามทำเอ็มวีเอ็นโอนั้น วิเชียรมองว่า ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแผนเอ็มวีเอ็นโอของเอไอเอส  เพราะในกฎหมายกำหนดห้ามนำใบอนุญาตประกอบกิจการไปให้ผู้อื่นดำเนินการ  ซึ่งเป็นคนละส่วนกับเอ็มวีเอ็นโอ เพราะใบอนุญาตยังเป็นของทีโอที แต่เอไอเอสเป็นเพียงผู้เช่าใช้โครงข่ายเท่านั้น

ขณะที่ทีโอทีสามารถเช่าใช้สถานีฐานของเอไอเอสเพื่อลดการลงทุนในการขยายโครงข่าย 3 จีทั่วประเทศได้อเย่างเต็มที่ ซึ่งความร่วมมือที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาสัมปทาน คือ รายได้ที่ได้รับจากค่าบริการต่างๆ ของเอไอเอสนั้น จะคืนกลับทีโอทีในรูปแบบส่วนแบ่งรายได้ปีละ 30%  ของรายได้รวมทั้งหมด  เช่นเดียวกับทีโอทีที่จ่ายค่าเช่าถสานีฐานเอไอเอสตามอัตราปกติ ไม่ได้ออกมาในรูปแบบการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแต่อย่างใด

ส่วนโครงการขยายโครงข่าย 3 จี  ทั่วประเทศ มูลค่า  1.9 หมื่นล้านบาทของทีโอทีนั้น วรุธ สุวกร กล่าวว่า ขณะนี้ไม่สามารถเปิดขายซองทีโออาร์ให้แก่ผู้สนใจเข้าร่วมประมูลได้ทันวันที่ 29 พ.ย.นี้  ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากอัยการสูงสุดยังไม่ส่งร่างคืนกลับมาให้  แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการแต่อย่างใด เพราะทันทีที่อัยการสูงสุดส่งสัญญากลับมา ทีโอทีก็พร้อมจะเปิดขายทันที

อย่างไรก็ตาม แม้ 3 จีทั่วประเทศจะยังไม่เกิด  แต่การที่ทีโอทีไฟเขียวให้เอไอเอสโรมมิ่งครั้งนี้ ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ฮัลโหลมือถือได้ “อุ่นเครื่อง” 3 จี ก่อนได้ใช้แบบเต็มศักยภาพในปีหน้า ขึ้นอยู่กับว่ารอบนี้ทีโอที “เอาจริง” หรือไม่ แค่นั้น