posttoday

ฟื้นมาตรฐานทองคำ ทางออกย้อนยุค กู้วิกฤตค่าเงิน

10 พฤศจิกายน 2553

ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเสียงเรียกร้องอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่างๆ อ้างอิงกับทองคำ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard ในที่นี้จะเรียกว่า การอ้างอิงค่าเงินกับทองคำ) หลังจากที่ล่าสุด โรเบิร์ต โซลลิก ประธานธนาคารโลก เสนอแนะให้ประชาคมโลกหวนกลับมาใช้ระบบอ้างอิงทองคำอีกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตค่าเงินอันสืบเนื่องมาจากการอัดฉีดทุนของสหรัฐจนยังผลให้ค่าเงินต่างๆ แข็งค่ากันอย่างถ้วนหน้า

ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเสียงเรียกร้องอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่างๆ อ้างอิงกับทองคำ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard ในที่นี้จะเรียกว่า การอ้างอิงค่าเงินกับทองคำ) หลังจากที่ล่าสุด โรเบิร์ต โซลลิก ประธานธนาคารโลก เสนอแนะให้ประชาคมโลกหวนกลับมาใช้ระบบอ้างอิงทองคำอีกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตค่าเงินอันสืบเนื่องมาจากการอัดฉีดทุนของสหรัฐจนยังผลให้ค่าเงินต่างๆ แข็งค่ากันอย่างถ้วนหน้า

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ

 

ฟื้นมาตรฐานทองคำ ทางออกย้อนยุค กู้วิกฤตค่าเงิน

ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเสียงเรียกร้องอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่างๆ อ้างอิงกับทองคำ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard ในที่นี้จะเรียกว่า การอ้างอิงค่าเงินกับทองคำ) หลังจากที่ล่าสุด โรเบิร์ต โซลลิก ประธานธนาคารโลก เสนอแนะให้ประชาคมโลกหวนกลับมาใช้ระบบอ้างอิงทองคำอีกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตค่าเงินอันสืบเนื่องมาจากการอัดฉีดทุนของสหรัฐจนยังผลให้ค่าเงินต่างๆ แข็งค่ากันอย่างถ้วนหน้า

ก่อนหน้านี้ยังมีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลกหลายรายที่เรียกร้องให้ระบบค่าเงินโลกหวนกลับไปใช้กลไกการอ้างอิงกับทองคำเช่นเดิม ตัวอย่างเช่น อลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ก่อนหน้านี้เคยคัดค้านแนวคิดนี้ แต่แล้วหันมาสนับสนุนระบบอ้างอิงทองคำอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ยังมี จิม เบเกอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ในช่วงทศวรรษที่ 80 ซึ่งในช่วงเวลานั้น โรเบิร์ต โซลลิก เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงการคลังสหรัฐ จึงไม่น่าประหลาดใจที่ประธานธนาคารโลกจะมีแนวคิดเดียวกับอดีตนายเก่า

แต่แม้จะมีข้อเรียกร้องมานานกว่า 2 ทศวรรษ แต่ยังไม่มีเสียงตอบรับที่จริงจัง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเงินเหรียญสหรัฐยังผูกขาดความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อเศรษฐกิจโลก ดังที่เรียกกันว่าเป็นภาวะ “เผด็จการ” หรือ “กุมอำนาจ” โดยเงินเหรียญสหรัฐ หรือ Dollar Hegemony

อย่างไรก็ตาม การที่มีข้อเสนอให้สกุลเงินต่างๆ ของโลกกลับไปผูกค่ากับทองคำแทนเงินเหรียญสหรัฐ แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมถอยของภาวะเผด็จการโดยเงินสกุลนี้

และหมายความว่า ความน่าเชื่อถือต่อเงินกระดาษเริ่มเสื่อมถอยลงเช่นกัน

สำหรับระบบค่าเงินอ้างอิงกับทองคำนั้น มีกลไกอยู่ที่การที่เงินสกุลหนึ่งๆ จะมีมูลค่าอิงกับปริมาณทองคำที่แน่นอน

หากประเทศหนึ่งๆ ตรึงทองกับค่าเงินของตนโดยตรงจะเรียกว่า ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard)

แต่หากกระทำผ่านการจัดการโดย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ดังเช่นที่สหรัฐเคยตรึงค่าเงินของตนอยู่ที่ 35 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ จะเรียก ระบบมาตราปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard)

ระบบนี้ยุติไปแล้วตั้งแต่ปี 1971

เมื่อพิจารณาข้อเสนอของ โซลลิก จะพบว่าแม้จะเปี่ยมไปด้วยความหวังดี แต่แฝงไว้ด้วยวาระซ่อนเร้นบางประการ

เพราะนอกเหนือจากข้อเสนอให้กลับไปใช้ระบบอ้างอิงทองคำแล้ว ยังมีข้อเสนอที่เป็นเสมือนคู่ขนานกัน นั่นคือ การเสนอให้ประชาคมโลกระดมกำลังเพื่อจัดระเบียบการเงินโลกเสียใหม่

ข้อเสนอนี้เรียกว่า Bretton Woods II หรือรอบ 2 ตามการประชุม Bretton Woods ครั้งแรก ซึ่งเป็นการยุติระบบอ้างอิงทองคำแล้วให้สกุลเงินต่างๆ ผูกติดกับเงินเหรียญสหรัฐ โดยที่เงินเหรียญสหรัฐจะอิงกับทองคำเพียงผู้เดียว หรือระบบมาตราปริวรรตทองคำภายใต้การบริหารจัดการโดย IMF

การผุดแนวคิด Bretton Woods II เริ่มถี่ขึ้นระหว่างปี 2551-2553 นับตั้งแต่การหยอดแนวคิดนี้โดย ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี แห่งฝรั่งเศส เมื่อปี 2551 จนถึงการประชุม G20 เมื่อปี 2552 ซึ่งที่ประชุมมีข้อตกลงให้ประเทศที่ขาดดุลการค้าปรับค่าเงินให้อ่อนลง ส่วนประเทศที่ได้ดุลต้องปรับให้แข็งขึ้น

โปรดสังเกตว่า มติของ G20 เอื้อประเทศตะวันตกอย่างชัดเจน เพราะเป็นฝ่ายที่ขาดดุล ที่ยิ่งชัดคือขณะนี้สหรัฐถูกมองว่ากำลังกดให้ค่าเงินของตัวเองอ่อนลงเพื่อหวังผลด้านการส่งออก

การกระทำเช่นนี้เรียกว่า Beggar thy Neighbor หรือกระตุ้นการส่งออกของตนด้วยการลดค่าเงิน บนความวอดวายของประเทศเพื่อนบ้าน

แต่วาระที่ซ่อนเร้นยิ่งกว่าคือความพยายามรื้อฟื้นข้อตกลง Bretton Woods ภาค 2 เท่ากับเป็นความพยายามต่ออายุการกุมอำนาจของเงินเหรียญสหรัฐในระบบเศรษฐกิจการเงินโลก

กับข้อเสนอใช้มาตรฐานทองคำอ้างอิงค่าเงินนั้น ยังเป็นผลดีต่อประเทศที่มีทองคำสำรองเป็นจำนวนมาก ซึ่งย่อมไม่ใช่ใครอื่นแต่เป็นสหรัฐ ซึ่งมีทองคำสำรองสูงถึง 8,133.5 ตัน

เข้าทาง Bretton Woods II เข้าอย่างจัง!

เพราะแท้จริงแล้ว สหรัฐเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่สามารถพิมพ์ธนบัตรได้เองโดยไม่ต้องอ้างอิงทองคำสำรองของตน โดยใช้เพียงความเชื่อมั่นของทุกประเทศต่อเศรษฐกิจสหรัฐ แต่บัดนี้ความเชื่อมั่นนั้นได้เสื่อมถอยลงเสียแล้ว สหรัฐและพันธมิตร (เช่นยุโรปและธนาคารโลก) จึงไม่อาจเสนอระบบอ้างอิงทองคำเพียงอย่างเดียว จำต้องผลักดันให้เกิด Bretton Woods รอบ 2 เพื่อฟื้นฟูการผูกขาดที่แท้จริงให้กลับคืนมาสู่เงินเหรียญสหรัฐอีกครั้ง

ปัญหาเชิงเทคนิคที่ซ่อนเร้นอีกประการคือ มูลค่าที่แท้จริงของค่าเงินและทองคำมักไม่ตรงกัน

ปริมาณทองคำทั่วโลกอยู่ที่ราว 1.42 แสนตัน หากปัดราคาทองคำเฉลี่ยให้อยู่ที่ 1,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ จะพบว่า ราคาทองคำทั้งโลกจะอยู่ที่เพียง 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าปริมาณเงินหมุนเวียนในสหรัฐในปีหนึ่งๆ ด้วยซ้ำ เพราะอยู่ที่ราว 8.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

วิธีแก้ปัญหาคือการปัดให้ราคาทองคำสูงขึ้นมาอย่างน้อยอยู่ที่ 2,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ เพื่อให้สอดคล้องกับมูลค่าและปริมาณเงินไหลเวียนที่แท้จริง

แต่การทำเช่นนี้ จะยังผลให้ราคาทองคำสูงขึ้นรวดเร็วราวสายฟ้าแลบ

จึงไม่น่าแปลกใจที่คล้อยหลังเพียงวันเดียวที่ประธานธนาคารโลกแย้มข้อเสนอระบบอ้างอิงทองคำสำหรับอัตราแลกเปลี่ยน ปรากฏว่า มิใช่แต่ค่าเงินทั่วโลกจะไม่มีเสถียรภาพขึ้นมาเท่านั้น แต่ยังทำให้ราคาทองคำถีบตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ทะลุหลัก 1,400 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ เป็นครั้งแรก!

แม้จะมิใช่การกล่าวด้วยเจตนาแอบแฝงเพื่อหวังให้ราคาทองคำพุ่งขึ้น แต่นี่คือข้อเสียที่เห็นได้ชัดจากการใช้ระบบอ้างอิงทองคำ ที่โซลลิกสมควรตระหนัก

นั่นคือ ราคาทองคำและปริมาณทองคำในวันนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเมื่อหลายทศวรรษก่อน กล่าวโดยสรุปก็คือ ทองคำมีความผันผวนอย่างน่ากลัว และรุนแรงยิ่งกว่าเงินเหรียญสหรัฐด้วยซ้ำ

ที่สำคัญอีกประการคือ มูลค่าและปริมาณการค้าทั่วโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปริมาณทองคำสำรองสำหรับอ้างอิงไม่อาจไล่ตามได้ทันอีกต่อไป

สาเหตุที่ทำให้ระบบการเงินโลกที่วางไว้ในการประชุม Bretton Woods ครั้งแรก ต้องล่มสลายลงก็เนื่องมาจาก ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน แห่งสหรัฐ ยุติการตรึงเงินเหรียญสหรัฐกับทองคำเมื่อปี 1971 เนื่องจากปริมาณของทองคำไม่เพียงพอกับปริมาณการค้าโลก ยังผลให้เกิดภาวะเงินฝืดขึ้น

นับแต่นั้นสหรัฐจึงพิมพ์ธนบัตรโดยอิงกับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ที่บัดนี้ยังมีความน่าเชื่อถือสูง แต่เริ่มเสี่ยงที่จะแปรปรวนเช่นกัน ภายหลังการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบล่าสุด หรือที่เรียกกันว่า QE2

นี่คือความซับซ้อนและความเสี่ยงของการใช้ระบบอ้างอิงทองคำ

นอกเหนือจากนี้ การใช้ทองคำอ้างอิงอาจเผชิญกับกระแสคัดค้านอย่างรุนแรงจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ไม่ว่าจะด้วยความหวั่นเกรงว่า พันธบัตรสหรัฐที่ถืออยู่จะสูญสิ้นมูลค่า หรือเพราะกริ่งเกรงว่า สหรัฐและพันธมิตรจะมีวาระซ่อนเร้นในการพลิกฟื้นระบบมาตรฐานทองคำอีกครั้งก็ตาม

ดีไม่ดี ความพยายามใช้ทองคำเพื่อแก้ปัญหาค่าเงินโลก อาจยิ่งเป็นการราดน้ำมันลงบนกองเพลิง ให้ลุกโหมยิ่งกว่าเดิม