posttoday

ปรับภูมิใจไทยออก..ดีไหมล่ะ?

09 ตุลาคม 2553

คำถามค้างคาใจที่ทำเอานายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถึงกับออกอาการ "อึ้ง" ไปอึดใจใหญ่เมื่อถูกซักถามแบบตรงไปตรงมาระหว่างการเข้าพบกองบก.โพสต์ทูเดย์และบางกอกโพสต์ วันที่ 8 ต.ค.

คำถามค้างคาใจที่ทำเอานายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถึงกับออกอาการ "อึ้ง" ไปอึดใจใหญ่เมื่อถูกซักถามแบบตรงไปตรงมาระหว่างการเข้าพบกองบก.โพสต์ทูเดย์และบางกอกโพสต์ วันที่ 8 ต.ค.

โดย...ทีมข่าวการเมือง

เลือกตั้งเร็วสุด...ต้นปีหน้าเป็นต้นไป

คำถามค้างคาใจที่ทำเอานายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถึงกับออกอาการ "อึ้ง" ไปอึดใจใหญ่เมื่อถูกซักถามแบบตรงไปตรงมาระหว่างการเข้าพบกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์และบางกอกโพสต์ วันที่ 8 ต.ค.

ปรับภูมิใจไทยออก..ดีไหมล่ะ?

สัปดาห์ที่ผ่านมาสารพัด "สูตร" ปรับคณะรัฐมนตรี(ครม.) กลายเป็นกระแสขย่มเสถียรภาพรัฐบาล โดยเฉพาะแนวคิดการ "ตัดตอน" พรรคภูมิใจไทย ป้องกันภาพฉาวเรื่องทุจริตจะมากระทบรัฐบาล แต่ทว่าบรรดาแกนนำในรัฐบาลและพรรคร่วมต่างพร้อมใจกันออกมาปฏิเสธ และยืนยันในความเหนียวแน่น เว้นแต่นายกฯอภิสิทธิ์ ที่ติดภารกิจอยู่ต่างประเทศ

"ออกไปไหนครับ" นายกฯ อภิสิทธิ์ แก้เกี้ยวด้วยการถามย้อนกลับ ด้วยสีหน้ามึนๆ กับคำถามที่ไม่ทันตั้งตัว

"ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล" ทางกองบรรณาธิการพยายามหาคำตอบที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน

"ออกเพราะอะไร" นายกฯ อภิสิทธิ์ ยังพยายามเลี่ยงที่จะตอบคำถาม

"อยู่ต่อไปแล้วนายกฯ กับคุณเนวินหน้าตาคล้ายกันมากขึ้น" กองบรรณาธิการซักต่อนายกฯ อภิสิทธิ์นิ่งซักพักด้วยใบหน้างงๆ ก่อนจะกล่าวว่า "แล้วดีหรือไม่ดี"ทิ้งท้ายบทสนทนาไปแบบยังไม่ได้ตอบคำถาม

แต่สิ่งที่นายกฯ อภิสิทธิ์ มั่นใจคือการเลือกตั้งครั้งหน้า ถ้าจะเกิดขึ้นเร็วสุดก็จะต้องเป็นช่วงต้นปีหน้าเป็นต้นไป

"หนึ่ง ผมไม่มีความคิดจะยุบสภาก่อน พ.ย. เรื่องคดียุบพรรคก็เป็นเรื่องที่คาด เพราะไม่มีใครทราบว่าจะตัดสินอะไร ศาลจะสืบพยานนัดสุดท้ายวันที่ 18 ต.ค. ปกติการกะไว้ราวเดือนหนึ่งถึงจะมีการตัดสิน อาจจะสั้นกว่ายาวกว่าก็ไม่ทราบ ดังนั้นก็ไม่มีประเด็นที่จะยุบสภาก่อนเดือนพ.ย. ในคดียุบพรรคคดีแรกและคดีที่สองนี่อีกนาน"

กับเงื่อนไขเดิมในการยุบสภาที่ต้องรอให้การสมานฉันท์เห็นผลเป็นรูปเป็นร่าง "อภิสิทธิ์" อธิบายว่า หากการยุบสภาเกิดขึ้นในกระบวนการธรรมชาติ อย่างในสภา สมมติกฎหมายไม่ผ่านก็เป็นไปได้ แต่ข้อเรียกร้องที่เคยบอกว่ารัฐบาลอย่าอยู่ครบเทอมได้ไหม ก็เป็นเรื่องที่ตกลงกันได้

ปรับภูมิใจไทยออก..ดีไหมล่ะ?

ทั้งนี้ ต้องตกลงกันให้ได้ว่าไปเลือกตั้งแล้ว หนึ่ง ต้องไม่ตีกัน สองไม่ใช่เลือกตั้งแล้วกลับมาทะเลาะกันเหมือนเดิม เช่น โกงเลือกตั้งแล้วถูกยุบพรรคก็ไปตีโพยตีพายว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องเอาให้ชัดก่อนว่ากติกานี่ยอมรับกันได้ไหม

"ในส่วนคณะกรรมการสมานฉันท์ ชุดอาจารย์สมบัติ ธำรงธัญวงศ์เป็นประธาน กำลังจะได้ข้อสรุปและสามารถเสนอต่อรัฐบาลได้ในปลายเดือนนี้ ต่อไปก็จะต้องไปดูว่าพรรคการเมืองจะเอาหรือไม่เอา ก็จบเรื่องนี้ การแก้หรือไม่แก้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผม แต่อยู่ที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลว่าจะให้เราเลือกตั้งอย่างสงบไหม

ผมไม่พูดว่ามีระเบิดแล้วเลือกตั้งไม่ได้ แต่ผมว่ามีความเสี่ยงเรื่องการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งก่อเหตุความรุนแรงได้ง่าย และมันไม่เป็นผลดีกับใคร ผมพยายามดูว่าเรียบร้อยแค่ไหน อย่างเลือกตั้งซ่อมเขต 6 กทม. ที่พรรคส่ง พนิช วิกิตเศรษฐ์ สิ่งที่เห็นคือการระดมคนไปเผาหลังจากนับคะแนนแพ้อยู่ ผมไม่เห็นประโยชน์ของการไปเลือกตั้งแล้วเกิดเหตุอย่างนี้ นี่ขนาดมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ"

อภิสิทธิ์ อธิบายต่อว่า ส่วนกรณีที่อยู่ครบเทอมแล้วยังเกิดเหตุรุนแรงอยู่ก็เป็นเรื่องที่เลือกไม่ได้ แต่ไม่เห็นด้วย เหตุผลว่าการเรียกร้องให้เลือกตั้งเร็วเพื่อการนำไปสู่ความรุนแรงไม่เป็นผลดีต่อประเทศ ก็ต้องช่วยกันพยายามแก้ไขปัญหาไม่ให้เป็นอย่างนี้ ถ้าอยากเลือกตั้งจริงก็ง่ายนิดเดียว ช่วยทำให้สงบ

"ผมต้องการสมานฉันท์ คิดว่าเกือบ 2 ปี ถ้าดูการตัดสินใจ ดูการวางท่าทีจะเห็นว่าผมเป็นตัวเติมความขัดแย้งหรือลดความขัดแย้ง คนที่ตอนแรกถามผมเรื่องจะเลือกตั้งไหม มาถึงวันนี้เห็นแล้วว่าผมยื่นข้อเสนอให้มีการเลือกตั้ง 3 ครั้ง ไม่ใช่ฝ่ายผมที่เป็นฝ่ายปฏิเสธ แต่ฝ่ายอื่นเป็นฝ่ายปฏิเสธที่จะไม่ตกลงไปเลือกตั้ง"

นายกฯ ยืนยันว่าจะเดินทางในแนวทางสมานฉันท์ต่อไป ต้องมีความอดทนอดกลั้นเป็นพิเศษ ต้องพยายามรับฟังข้อเรียกร้องต่างๆ หากเห็นว่าเหมาะสมให้ได้ก็ให้ อะไรกระทบกับระบบก็ไม่ให้ เช่น ใครจะมาอยู่เหนือกฎหมายไม่เหมือนคนไทยคนอื่นก็ไม่ให้ แต่หากเป็นเรื่องอื่นก็ยินดี

อย่างไรก็ตาม การทำเรื่องสมานฉันท์จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ฝ่ายเดียวเพราะโดยธรรมชาติกระบวนการปรองดองสมานฉันท์ ทุกฝ่ายต้องมาร่วมมือกัน ถึงนาทีนี้ยังยืนยันต้องเดินแนวทางสมานฉันท์ปรองดอง แต่สิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายต้องปฏิเสธความรุนแรงก่อน ถ้าใช้ความรุนแรงมาข่มขู่คุกคามเพื่อกำหนดแนวทางทางการเมืองแล้วเรายอม ไม่ใช่บ้านเมืองจะไม่สงบในช่วงนี้เท่านั้น แต่จะไม่สงบตลอดไป

ปรับภูมิใจไทยออก..ดีไหมล่ะ?

ส่วนประเด็นเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ ขณะนี้มีข้อมูลที่ชัดเจน โดยลำดับว่าเป็นฝีมือของใคร และจะเห็นความเชื่อมโยงหลายเหตุการณ์ ทำให้ฝ่ายตำรวจมีภาพชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่าต้องเข้าไปจัดการกับคนกลุ่มไหน ซึ่งคงต้องทำหน้าที่หนักขึ้น เพราะถ้าดูจากการเคลื่อนไหวไม่ได้มีกลุ่มเดียว

ส่วนหนึ่งยังถูกโจมตีว่าเหตุระเบิด เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นการสร้างสถานการณ์จากฝั่งรัฐ แต่นายกฯ ชี้แจงว่าหากดูจากเหตุผลและข้อเท็จจริงใช่เรื่องที่รัฐจะไปทำ หรือจะทำเพื่ออะไร รัฐไม่ได้อะไรจากการไปทำเช่นนี้ข้ออ้างที่ระบุว่าทำเพื่อต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่เมื่อต่อ พ.ร.ก.ก็ถูกด่า และที่ผ่านมาก็ไม่ได้ใช้ พ.ร.ก.ไปจับกุมใครตอนนี้เลย ตอนนั้นอยู่ต่างประเทศเห็นข้อมูลที่เกิดขึ้น คน 90% เห็นว่าคืออะไร แต่ไปห้ามไม่ให้คนพูดว่าเป็นเรื่องสร้างสถานการณ์ไม่ได้อยู่ดี

ในวันที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ลาออกไปลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม สส.สุราษฎร์ธานี งานด้านความมั่นคงจึงต้องแบ่งไปให้กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม อีกส่วนหนึ่ง "อภิสิทธิ์"เป็นคนรับผิดชอบดูแลเอง โดยเฉพาะคณะกรรมการ 30 ชุดที่อยู่ในความดูแลเดิมของ "สุเทพ" ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีแนวคิดตั้งรองนายกฯ ใหม่ ส่วนหลังการเลือกตั้งจะแต่งตั้งใครเพิ่มหรือไม่อย่างไรเป็นเรื่องของอนาคต

ยิ่งในวันที่ทางหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงออกมาระบุว่า พบข้อมูลมีการเตรียมก่อเหตุป่วนรุนแรงในช่วงนี้ แต่กลับปล่อยให้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นต่อเนื่อง นายกฯ อธิบายว่า คำว่ารู้ ไม่ได้รู้ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ และก็เหมือนกันทั่วโลก การได้ข่าวมาก็ได้มาระดับหนึ่ง แต่เราไม่สามารถรู้ได้100% แต่จากการข่าวพบว่าเดือนนี้จนถึงเดือน พ.ย. ยังจะมีเหตุรุนแรงต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องปรับปรุงมาตรการรายละเอียด

ช่วงเวลาที่หนักที่สุดในชีวิตนายกฯ กับการนำพาประเทศฝ่าวิกฤตความรุนแรงในช่วงต้นปีนั้น "อภิสิทธิ์" ชี้แจงว่า "ผมถือว่าทำไปแล้วต้องรับผิดชอบทุกอย่างที่เกิดขึ้น หลังจากเหตุการณ์จบก็มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ มีคณะกรรมการ 3 ชุด กำลังตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งชุดนายคณิต ณนคร ชุดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และชุดของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ทำไมไม่ให้คนกลางมาเป็นคนพูดเรื่องเหล่านี้ มากกว่าให้คนที่เป็นคู่กรณีมาทำแล้วมองว่าเป็นเรื่องว่ากัน เราต้องการให้ข้อเท็จจริงออกมา ไม่ใช่ทำให้เกิดความสับสน แล้วคนไม่ต้องสนใจว่าแท้จริงแล้วข้อเท็จจริงคืออะไรผมว่าการแสดงท่าทีต่างๆ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นควรจะเกิดขึ้นหลังจากที่เราเห็นชัดเจนว่าอะไรคืออะไร ไม่เช่นนั้นก็จะเกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น และอาจนำไปสู่สิ่งที่ไม่ปรารถนา

เรื่องการให้อภัยผมไม่เคยปฏิเสธเรื่องนี้ แต่ให้ข้อเท็จจริงปรากฏออกมาก่อนว่าใครควรทำอะไร การให้อภัยไม่มีปัญหา แต่ปกติเราให้อภัยคนที่เขาสำนึกผิด เราไม่ให้อภัยคนที่บอกว่าฉันไม่ผิด เพราะถ้าไม่ผิดก็ไม่ต้องให้อภัย"

สารภาพหนักใจ"ทุจริต"

นอกจากปัญหาทางการเมืองแล้ว นายอภิสิทธิ์ยังสารภาพว่า สิ่งที่หนักใจมากเวลานี้คือเรื่องทุจริตเพราะกลายเป็นปัญหาหนักอกรัฐบาลจนฉุดคะแนนนิยมและสั่นคลอนจุดยืนที่เคยประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อ ประกาศตัวเป็นรัฐบาลมือสะอาด ซึ่งต่อมามีอันต้องไปพัวพันกับสารพัดเงื่อนงำความไม่โปร่งใสในหลายโครงการ

งานนี้ "อภิสิทธิ์" ที่ทนกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มายาวนานประกาศตัวเดินหน้าเอาจริงกับการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ พร้อมเตรียมเปิดโครงการนำร่องเดือน พ.ย.นี้

เริ่มตั้งแต่แนวคิดดึงภาคเอกชนที่สนใจ เข้ามาทำเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ที่สนใจจะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนไม่ให้เกิดการทุจริตในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง

ปรับภูมิใจไทยออก..ดีไหมล่ะ?

อีกด้านหนึ่งกำลังสะสางปัญหาในระบบการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (อีออกชัน) โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบโครงการมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท ด้วยการตั้งโครงการมูลค่า 1.9 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้กำลังดูข้อมูลทั้งหมดว่ามีกี่โครงการ และแต่ละโครงการเป็นอย่างไร ซึ่งสุดท้ายจะได้นำเสนอเข้า ครม. ว่าจะมีมาตรการอย่างไรป้องกันการทุจริตในโครงการประเภท 1.9 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม อีออกชันไม่ได้แปลว่าจะไม่ทุจริต ตอนนี้กำลังให้ทางกระทรวงการคลังทำเป็นลักษณะเช็กลิสต์ว่าโครงการแบบนี้ต้องทำอีออกชัน หากโครงการที่ไม่เข้าลักษณะก็ทำอีกรูปแบบหนึ่ง โดยไม่ควรเอาจำนวนเงินมาเป็นตัวตั้ง

ที่สำคัญคือ การสอบทานราคากลาง ที่จะต้องสะท้อนลักษณะต้นทุนมาตรฐานมากขึ้น โดยไม่ปล่อยให้แต่ละหน่วยงานไปกำหนดราคากลางกันเอง ต้องให้หน่วยงานเหล่านี้กับภาคเอกชนมาช่วยกันกำหนด เพราะถ้าราคากลางไม่เกินความจริง หรือใกล้เคียงความจริง การฮั้วก็จะไม่มีประโยชน์ ทุกวันนี้ที่มีการฮั้วก็เพราะหนึ่งเป็นการแบ่งงาน และอีกด้านหนึ่งราคากลางสูงเกินความเป็นจริง

ในส่วนของโครงการขนาดใหญ่ พบว่าเริ่มมีปัญหาการทุจริตตั้งแต่เริ่มการจ้างบริษัทที่ปรึกษา คือ ที่ปรึกษาไม่ใช่ที่ปรึกษาอิสระจริง มักมีความเชื่อมโยงกับเอกชน แล้วพอแหย่เท้ามาเป็นที่ปรึกษา ก็สามารถกำหนดลักษณะโครงการเพื่อเอื้อให้กับเอกชน และเกิดการรั่วไหลทุจริต

ซึ่งมาตรการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันทั้งหมดอยู่ระหว่างการ "รื้อ" และเร่งทำในหลายด้าน