posttoday

ผ่าแผนปฏิรูประบบสอบสวน ลับคม ‘ตำรวจ-อัยการ’

12 มกราคม 2561

การปฏิรูปตำรวจภายใต้การกุมบังเหียนของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายแล้ว

โดย...ทีมข่าวการเมืองโพสต์ทูเดย์

การปฏิรูปตำรวจภายใต้การกุมบังเหียนของ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปตำรวจ เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายแล้ว โดยล่าสุดเพิ่งแถลงต่อสื่อมวลชนว่าเตรียมเสนอกฎหมายเพื่อเป็นมาตรการในการปฏิรูประบบการสืบสวนสอบสวนให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลและความโปร่งใส เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ที่มี อัชพร จารุจินดา เป็นประธาน ได้จัดทำข้อเสนอเรื่องดังกล่าวภายใต้หัวข้อ "การพัฒนาระบบการสอบสวนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสอบสวนคดีอาญา" ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

1.ความเชื่อมั่นในการรับแจ้งความของพนักงานสอบสวน

ให้สํานักงานตํารวจแห่งชาตินําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการรับ คําร้องทุกข์กล่าวโทษและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานีตํารวจทั่วประเทศเพื่อให้ ผู้เสียหายสามารถร้องทุกข์กล่าวโทษ ณ สถานีตํารวจแห่งใดก็ได้ เพื่อป้องกันการปฏิเสธไม่รับแจ้งความและกรณีมีผู้เสียหายหลายคนพนักงานสอบสวนสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อรวมคดีกันได้

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 124 ให้สอดคล้องกับกระบวนการที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการรับ คําร้องทุกข์ เพื่อให้ถือว่าการบันทึกข้อมูลดังกล่าวของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจเป็นการบันทึกคําร้องทุกข์ตามกฎหมาย และสามารถส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่รับผิดชอบได้ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

โดยอาจเพิ่มความในมาตรา 124 วรรคท้ายว่า การบันทึกคําร้องทุกข์ ด้วยปาก ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจในวรรคก่อน อาจบันทึกในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการส่งต่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบปฏิบัติการของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ให้ถือว่าเป็นการส่งบันทึกคําร้องทุกข์ไปยังพนักงานสอบสวนแล้ว ทั้งนี้ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล การลงลายมือชื่อผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามที่กฎกระทรวงกําหนด เป็นต้น

2.ความเชื่อมั่นในการสอบสวน

จัดให้มีระเบียบกําหนดให้การ สอบสวนต้องมีผู้ปฏิบัติเป็นทีม ประกอบด้วย พนักงานสอบสวนเป็นหัวหน้าทีม เจ้าหน้าที่สืบสวนฝ่ายนิติวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยพนักงานสอบสวนต่อสถานี และจัดสรรทรัพยากรสําหรับบริหารงานสอบสวนให้เกิดประสิทธิภาพโดยทบทวนแก้ไข ปรับปรุง กฎ ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่มีอยู่เดิมทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องมาตรการดังกล่าว

สร้างระเบียบการบริหารงานบุคคลเพื่อป้องกันการแทรกแซงหรือครอบงําการใช้ ดุลยพินิจในการทําสํานวนของพนักงานสอบสวนจากข้าราชการตํารวจฝ่ายบริหารการควบคุมตรวจสอบและ เร่งรัดสํานวน จะต้องกระทําโดยผู้บังคับบัญชาในสายงานของพนักงานสอบสวน เท่านั้น

ปรับปรุงกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยค่าตอบแทนของพนักงานสอบสวนให้มีค่าตอบแทน มีสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่มากพอที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี เมื่อเทียบเคียงกับหน่วยงานอื่นในกระบวนการยุติธรรมโดยแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ กฎ ระเบียบและคําสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ค่าตอบแทนของพนักงานสอบสวนให้สอดคล้องกับมาตรการดังกล่าว

ปรับปรุงระบบการคัดเลือกบุคคลเข้ามาดํารงตําแหน่งพนักงานสอบสวน และระบบการประเมินผลเพื่อเลื่อน ตําแหน่งสูงขึ้นของพนักงานสอบสวน ให้พิจารณาตามความรู้ความสามารถ ตลอดจนปรับปรุงระบบการฝึกอบรมเพื่อให้พนักงานสอบสวนมีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการสอบสวนและทักษะอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยกําหนดคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ขั้นต่ำของ ผู้ที่จะดํารงตําแหน่งพนักงานสอบสวน

สํานักงานอัยการสูงสุดควรจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมการสอบสวนและการว่าความชั้นสูงเพื่อฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์สร้างและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของพนักงานอัยการและบูรณาการการพัฒนาความรู้ด้านการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนของหน่วยงานอื่น

นอกจากนี้ ปรับปรุงประกาศคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการแบ่งหน่วยงานและการกําหนดอํานาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสํานักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้มีหน่วยงานดําเนินงานปรับปรุงและพัฒนาระบบการวิเคราะห์ทบทวนการทํางานอย่างครบถ้วนทุก ขั้นตอนเพื่อให้มีหน่วยงานหลักเป็น หน่วยงานเฉพาะในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์คําพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฟ้องคดีว่าคําพิพากษาของศาลได้วินิจฉัย พยานหลักฐานจากสํานวน การสอบสวนที่ได้นําสืบนั้นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาการ สอบสวนและการฟ้องร้องดําเนินคดีอย่างไร