posttoday

ดอกเบี้ยขึ้นเงินบาทแข็งเศรษฐกิจง่อย

27 สิงหาคม 2553

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 1.75% เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวเศรษฐกิจ

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 1.75% เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวเศรษฐกิจ

โดย...ทีมข่าวการเงิน

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 1.75% เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวเศรษฐกิจ

โดย ณ สิ้นเดือน ก.ค. เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.2% และมีโอกาสสูงที่จะหลุดกรอบบนของเป้าหมาย 0.53% ในปีหน้า

กนง.จึงขึ้นดอกเบี้ยไปจนกว่าดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงจะเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับเศรษฐกิจไตรมาส 2 ดีเกินคาดถึง 9.1% ทำให้มั่นใจว่าดอกเบี้ยขึ้นไม่สะเทือนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแน่
ดอกเบี้ยนโยบายขยับขึ้นมาติดต่อกันแล้ว 2 ครั้ง และตลาดเงินก็ฟันธงว่ารอบหน้าดอกเบี้ยจะปรับขึ้นอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง จากการประชุมอีก 2 ครั้งที่เหลือ สุดท้ายแล้วปีนี้จะได้เห็นดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้น 0.751%

ฟากธนาคารพาณิชย์ขานรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายทันที โดยส่งสัญญาณปรับดอกเบี้ยขึ้นตามทันทีในอีก 12 วันให้หลัง ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก

ดอกเบี้ยขึ้นเงินบาทแข็งเศรษฐกิจง่อย

ที่สำคัญ คือ สินเชื่อบ้านก็จ้องปรับขึ้นด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ผู้มีหนี้และผู้วางแผนกู้เงินร้อนๆ หนาวๆ คิดหนักว่าจะหาเงินเพิ่มอย่างไร หรือไม่ก็ต้องรัดเข็มขัด รายได้ไม่ได้เพิ่มตาม

แม้แง่ดีของดอกเบี้ยขาขึ้นจะทำให้คนฝากเงินและคนวัยเกษียณหายใจคล่องตัวขึ้น แต่อีกฟากคือผู้กู้โดนกระทบเต็มๆ เพราะต้นทุนสูงขึ้นในขณะนี้

แม้จะได้ยินตัวเลขจีดีพีที่ปรับขึ้นกรอกหูทุกวัน โดยล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับคาดการณ์ขยายตัวเศรษฐกิจเป็น 77.5% จากเดิม 3.54.5% เพราะตัวเลขการส่งออกดี การบริโภคและลงทุนขยายตัว

แต่ไฉนไม่รู้สึกถึงเงินในกระเป๋าจะมีแววเพิ่มขึ้นแม้แต่น้อย!!!

ชวนให้สงสัยว่า จีดีพีที่ว่าสวยหรู ที่แท้เงินกระเด็นเข้ากระเป๋าคนรวยกระจุกหนึ่งหรือไม่ ในขณะที่คนจนซึ่งกระจายตัวทุกซอกมุมของประเทศกลับไม่ได้รู้สึกรวยขึ้นแต่อย่างใด เงินเดือนไม่เพิ่ม โบนัสไม่มี รวมทั้งกลุ่มรากหญ้าที่เงินยังซึมลงไปไม่ถึง

ปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทส่งออกอยู่ 2.5 หมื่นแห่ง หมายความว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นกระจุกตัวอยู่ในนิติบุคคลไม่กี่แห่ง ไม่ได้กระจายไปทุกหย่อมหญ้า จึงไม่แปลกที่จีดีพีเติบโต แต่รากหญ้าประชาชนไม่รู้สึกว่าได้รับอานิสงส์

ดังนั้น ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อ้างว่าการขึ้นดอกเบี้ยไม่กระทบกับลูกหนี้ เพราะเศรษฐกิจดีขึ้น จึงอาจเป็นความคิดของคนที่อยู่บนหอคอยงาช้าง

คนที่กำลังผ่อนบ้านจึงต้องทำใจ เพราะดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1% ทำให้กำลังซื้อจะหายไป67%

กรณีธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ยกู้เท่ารอบที่แล้ว 0.125% มารอบนี้คาดว่าจะปรับอีก 0.125% เบ็ดเสร็จดอกเบี้ยกู้จะขึ้นอย่างน้อย 0.25% เท่ากับกำลังซื้อหายไปแล้ว 1.5%

คนไม่เคยมีบ้าน กำลังคิดจะมีบ้านหรือใกล้โอนบ้าน ดอกเบี้ยโปรโมชันจะขยับอีกอย่างน้อย 0.25% จากปัจจุบันแข่งกันเสนอที่ 24% และดอกเบี้ยคงที่นาน 3 ปี จะลดเหลือคงที่ 1 ปี หรืออย่างมาก 2 ปีเท่านั้น

และอย่าลืมดูดอกเบี้ยช่วงลอยตัว เพราะช่วงนี้จะลอยตัวแบบสนุกสนานวิ่งตามดอกเบี้ยประกาศของธนาคาร

ด้านลูกค้าเอสเอ็มอี ถ้าไม่มีสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับธนาคารไหนมาก่อน หรือเป็นลูกค้าทั่วๆ ไป การจะได้ดอกเบี้ยคงที่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

ดอกเบี้ยเงินกู้เอสเอ็มอีทั่วไป “ลอยตัว” คิดเป็นราวๆ 810% โดยจะขยับสูงตามดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ของธนาคารพาณิชย์

กระนั้น หลายสำนักเห็นตรงกันว่า ประชุม กนง. ครั้งหน้า ดอกเบี้ยจะขึ้นอีก 1 ครั้ง หรือ 0.25% จนไปอยู่ที่ 2% ซึ่งเป็นระดับที่เมื่อหักลบกับเงินเฟ้อแล้ว ทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงกลายเป็นบวก หลังจากติดลบมานาน

หลังจากนั้นดอกเบี้ยจะหยุดนิ่ง รอดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เพราะความไม่แน่นอนในการฟื้นตัว ไม่ว่าจะสหรัฐ ยุโรป และจีน ที่กำลังเติบโตลดลง ซึ่งไทยจะได้รับผลกระทบไปด้วย
ภาคส่งออกที่เติบโตเกือบ 40% ช่วงครึ่งแรกของปี จะลดระดับการเติบโตต่ำลงในครึ่งปีหลังนี้

ทว่า ด้านอัตราแลกเปลี่ยนกลับมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยห้องค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์คาดการณ์ค่าเงินบาทจะแข็งไปอยู่ที่ 31 บาท สิ้นปีนี้ และจะได้เห็นระดับกว่า 30 บาท ในปีหน้า
แม้ทิศทางค่าเงินมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นทั้งภูมิภาค แต่ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแบบพรวดพราด ในอัตราที่มากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จากระดับ 32.25 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ที่ 31.55 บาท/เหรียญสหรัฐ หรือแข็งค่า 0.70 บาท/เหรียญสหรัฐ ในเวลาอันสั้น

ถือเป็นการแข็งค่าเกินปัจจัยพื้นฐานไปมาก จนเกิดข้อกังขาว่า ธปท. ซึ่งรับหน้าที่โดยตรงในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้เคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ ได้ทำหน้าที่ของตัวเองดีพอหรือไม่
เพราะค่าเงินบาทแข็งค่าได้ แต่ต้องไปในทิศทางเดียวกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจ หากจะมีเงินร้อนไหลทะลักเข้ามา ธปท. ต้องใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในการสกัดเงินร้อนเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท
นักบริหารเงินจากธนาคารแห่งหนึ่ง เปิดเผยว่า เงินบาทแข็งเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ พื้นฐานเศรษฐกิจไทยดี ประกอบกับสถานการณ์ภายนอกไม่ดี เมื่อรวมกันทำให้มีเงินไหลเข้ามาในประเทศไทยค่อนข้างมาก มาลงทุนทั้งในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น

แม้ 1 เดือนที่ผ่านมา เงินบาทแข็งในอัตราที่มากกว่าคนอื่น แต่ก็ผลัดกันแข็งเป็นช่วงๆ และถ้าดูตัวเลขเฉลี่ยทั้งปี เงินบาทก็แข็งน้อยกว่ามาเลเซีย

ขณะที่นักบริหารเงินอีกสำนักตั้งข้อสังเกตว่า ค่าเงินบาทแข็งค่า “เร็วเกินไป” ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

“ไม่อยากแสดงความเห็น ต้องไปถามธปท.เอง แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า เงินบาทแข็งค่าเร็ว คำว่า “เร็ว” ก็พอจะบอกอะไรได้บ้าง”

หลังจากค่าเงินบาทแข็งค่าจนเริ่มนิ่ง ทว่าหลัง กนง. มีมติขึ้นดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนทั้งในและนอกประเทศตอบรับเชิงบวก กดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าต่ออีกรอบจนมาอยู่ที่ 31.4445 บาท/เหรียญสหรัฐ
เห็นทีผู้ส่งออกต้องเหนื่อยอีกรอบ เพราะที่ผ่านมาแม้ส่งออกได้เพิ่มขึ้น แต่รายได้กลับไม่เพิ่มตาม แล้วยังต้องเผชิญภาวะบาทแข็งอีก จึงมีเสียงเตือนให้ผู้ส่งออกป้องกันความเสี่ยง ล็อกต้นทุนไว้ ดีกว่าปล่อยให้ขาดทุนหากบาทแข็งค่าขึ้นอีก

เศรษฐกิจไทยฟื้น ดอกเบี้ยขึ้น ค่าเงินบาทแข็ง คนเดินดินรับรู้รสชาตินี้ดีที่สุด ว่ารวยยังกระจุก จนยังกระจาย และเงินในกระเป๋าหดหาย
ขึ้นดอกเบี้ยเที่ยวนี้ ประชาชนตาดำๆ มีแต่เจ๊ากับเจ๊ง!!