posttoday

เลิกอุ้มต่าบาทพูดได้แต่ทำยาก

28 กันยายน 2555

ความปั่นป่วนของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะจบง่าย สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

โดย...ชลลดา อิงศรีสว่าง

ความปั่นป่วนของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะจบง่าย สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ทำให้เงินทุนต่างประเทศกลัวความเสี่ยง จึงเทเงินเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของ 2 ขั้วมหาอำนาจเศรษฐกิจน้อยที่สุด

เพียงไม่ถึงเดือน เงินบาทแข็งค่าขึ้น 0.5% เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ค่าเงินบาทอยู่ที่ 31.49 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่วันที่ 21 ก.ย. ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงไปอยู่ที่ 30.85 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

การแข็งค่าที่รวดเร็วของค่าเงิน ส่งผลกระทบทันทีต่อคำสั่งซื้อสินค้าจากผู้นำเข้าจากต่างประเทศ ที่ขอรอดูราคาจากผู้ส่งออกไทยว่าจะกำหนดราคาขายเท่าใด เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าจะส่งผลให้ราคาสินค้าแพงขึ้นตามค่าเงิน

ผู้ส่งออกวิตกเรื่องออร์เดอร์สินค้าในไตรมาสแรกของปี 2556 ซึ่งปกติจะมีสูงเพราะยังอยู่ในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ แต่คำสั่งซื้อกลับลดลง ทำให้การหวังที่จะให้การส่งออกผลักดันเศรษฐกิจในปีหน้าคงจะยาก

เหตุผลหนึ่งในการชะลอคำสั่งซื้อ คือ ค่าเงินผันผวนมาก จึงไม่แน่ใจว่าราคาสินค้าที่จะสั่งซื้อจะแพงแค่ไหน

นอกจากนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประกาศว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ การส่งออกจะขยายตัวเพียง 4.5% ซึ่งเป็นการปรับลดเป้าหมายส่งออกหลายครั้งแล้ว

แน่นอนว่าค่าเงินที่แข็งค่าอย่างรวดเร็วนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องเข้าไปดูแล เพื่อไม่ให้ก่อปัญหาต่อเศรษฐกิจ

วิธีการดูแลค่าเงินของ ธปท. คือ ซื้อเงินตราต่างประเทศเก็บเข้าทุนสำรองทางการโดยตรง ผ่านตัวแทนในต่างประเทศ หรือการออกพันธบัตร

แต่การดูแลค่าเงินของ ธปท.นั้น ถูกนักวิชาการมองว่าสมควรจะหยุดได้แล้ว เนื่องจากทำไปก็จะยิ่งสร้างปัญหาให้ ธปท.ขาดทุนมากขึ้น

ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บล.ภัทร กล่าวว่า การดำเนินนโยบายเพื่อดูแลค่าเงินบาทหลังจากนี้ จะส่งผลต่องบดุลของ ธปท. หลังจากพบว่ากำไรสุทธิลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะตลาดจะมีความผันผวนรุนแรงมากขึ้น ขณะที่การแทรกแซงค่าเงินมากขึ้น ทำให้มีต้นทุนสูงถึง 3-4% ขณะที่ได้รับผลตอบแทนเพียง 1%

ปัจจุบัน ธปท. มีผลขาดทุนสะสมในงวดปี 2554 รวมประมาณ 2 แสนล้านบาท และมีส่วนทุนติดลบกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

ศุภวุฒิ กล่าวว่า หากแทรกแซงมากขึ้นก็จะขาดทุนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความยืดหยุ่นของการดำเนินนโยบายต่างๆ ดังนั้นนับแต่นี้ไป ธปท.ไม่ควรที่จะเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท ควรจะปล่อยให้เคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาด

ความเป็นห่วงของนักวิชาการเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะ วีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการ ธปท. ก็ได้ให้นโยบายกับผู้บริหาร ธปท.ให้หาทางลดการขาดทุนสะสมให้ได้ ซึ่ง ธปท.จะต้องวางแผนจัดการเรื่องขาดทุนสะสมเสนอต่อคณะกรรมการ ธปท. ภายในสิ้นปีนี้

การแทรกแซงค่าเงินของ ธปท.ในขณะนี้ รังแต่จะสร้างขาดทุนสะสมให้กับ ธปท. เพราะตลาดเงินโลกในขณะนี้ผิดปกติ เนื่องจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐและยุโรป เงินไม่มีที่ไป ไม่ว่าดอกเบี้ยของไทยจะต่ำมากเงินก็จะไหลเข้ามา เพราะเงินไม่มีที่ไป

ครั้งนี้เงินไม่ได้ไหลเข้ามาเพื่อเก็งกำไร แต่มาเพื่อหาที่ลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า โอกาสที่เงินจะทะลักเข้ามาสูงมาก และเข้ามาไม่หยุดหาก ธปท.เข้าไปอุ้มค่าเงินเพื่อช่วยผู้ส่งออก ก็จะต้องใช้เงินเข้ามาแทรกแซงไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน

ในเรื่องนี้ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า โดยหลักสากลแล้ว การทำนโยบายการเงินไม่ควรกังวลในเรื่องผลกำไรขาดทุนมากนัก เพราะถ้าห่วงเรื่องพวกนี้มากเกินไปอาจทำให้นโยบายการเงินขาดประสิทธิภาพ และตลาดการเงินเกิดความไขว้เขว ไม่เชื่อมั่นในนโยบายที่ธนาคารกลางทำออกมาได้

ผู้ว่าการ ธปท. ระบุว่า ในฐานะธนาคารกลางอันเป็นหน้าที่ตามกฎหมายระบุ คือ หน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อไม่ให้กระเทือนเสถียรภาพเศรษฐกิจประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ และส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบการเงินระหว่างประเทศของโลก ที่มีการผ่อนคลายการดำเนินนโยบายการเงินแบบสุดขั้ว ลดดอกเบี้ยลงในระดับต่ำ ทำให้มีเงินไหลบ่าเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงไทย

เลิกอุ้มต่าบาทพูดได้แต่ทำยาก

 

“เมื่อเงินไหลเข้ามามากเกินไป ย่อมทำให้ปริมาณเงินบาทในระบบเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิดเงินเฟ้อ กระทบต่อการเติบโตและเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศได้ในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ ธปท.จึงต้องดูดเงินออกจากระบบด้วยการออกพันธบัตร ธปท. และมีภาระดอกเบี้ยจ่ายปีละ 34% ขณะที่ดอกเบี้ยรับจากการนำเงินเหรียญสหรัฐไปลงทุนซื้อพันธบัตรสหรัฐนั้นได้ไม่เกิน 0.251% คำถาม คือ การขาดทุนนี้น่ากังวลหรือไม่ ผมว่าประเด็นสำคัญ คือ ต้องเอาประเทศชาติให้รอดก่อน ส่วนการขาดทุนก็ค่อยหาทางแก้ได้” ประสาร กล่าว

เหตุผลของผู้ว่าการ ธปท. ก็น่าจะรับฟังได้ นายศุภวุฒิ กล่าวว่า หากแทรกแซงมากขึ้นก็จะขาดทุนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความยืดหยุ่นของการดำเนินนโยบายต่างๆ ดังนั้นนับแต่นี้ไป ธปท.ไม่ควรที่จะเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท ควรจะปล่อยให้เคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาด

"ถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องลดการพึ่งพาการส่งออกและหันมากระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ เลิกตั้งเป้าหมายให้ส่งออกขยายตัวเป็น 3 เท่าของจีดีพี เพราะหากยังพึ่งการส่งออกขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำให้ต้องอุ้มผู้ส่งออกต่อไป" นายศุภวุฒิกล่าว

นายศุภวุฒิ ประเมินว่า ขณะนี้คงต้องมีการติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด เพราะสหรัฐคงจะใช้ QE3 ต่อไปอีกอย่างน้อย30 เดือน หรือกลางปี 2558 ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมาก จากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อหาผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่สูงกว่า เพราะดอกเบี้ยพันธบัตรของสหรัฐ ระยะ2 ปี อยู่ที่ 0.25% ส่วนพันธบัตรไทยดอกเบี้ยสูงถึง 3%

นายอัมมาร สยามวาลาประธานที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัจจุบันแม้ว่า ธปท.จะไม่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวกำหนดนโยบายการเงิน แต่ยังคงใช้เครื่องมือนี้ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มส่งออก เห็นได้จากความพยายามที่จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง เพื่อให้ผู้ส่งออกได้เปรียบในเรื่องของราคาเมื่อเป็นแบบนี้ยิ่งทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่มีการพัฒนาเรื่องคุณภาพการผลิต

นอกจากนี้ ความพยายามทำให้ค่าเงินบาทอ่อน ยิ่งเป็นการซ้ำเติมเพิ่มภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน แม้จะขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้นหากภาครัฐไม่มีมาตรการมาเสริม แนวนโยบายที่ถูกต้องควรปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นตามกลไกตลาดจากการไหลเข้าของเงินทุน

แตแต่ ธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย แนะนำว่า ธปท.ควรสลับกันใช้นโยบายการเงินระหว่างการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ และการกำหนดเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพราะหากเลือกใช้อย่างหนึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาได้ โดยเฉพาะภาคการส่งออก เช่น ถ้าใช้การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว โดยไม่ใช้การกำหนดเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน ไม่แทรกแซงค่าเงินเลย จะสร้างปัญหากับธุรกิจส่งออก จึงต้องสลับใช้

โพสต์ทูเดย์ นักเศรษฐศาสตร์แนะ ธปท.เลิกแทรกแซงค่าเงินอุ้มผู้ส่งออกจนตัวเองเจ๊ง ชี้หลังจากนี้เงินทะลักแน่

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บล.ภัทรกล่าว ในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า การดำเนินนโยบายเพื่อดูแลค่าเงินบาทหลังจากนี้จะส่งผลต่องบดุลของ ธปท. หลังจากพบว่ากำไรสุทธิลดลงอย่างต่อเนื่องเพราะตลาดจะมีความผันผวนรุนแรงมากขึ้น ขณะที่การแทรกแซงค่าเงินมากขึ้น ทำให้มีต้นทุนสูงถึง 34% ขณะที่ได้รับผลตอบแทนเพียง 1%

นายศุภวุฒิ กล่าวว่า หากแทรกแซงมากขึ้นก็จะขาดทุนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความยืดหยุ่นของการดำเนินนโยบายต่างๆ ดังนั้นนับแต่นี้ไป ธปท.ไม่ควรที่จะเข้าแทรกแซงค่าเงินบาท ควรจะปล่อยให้เคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาด

"ถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องลดการพึ่งพาการส่งออกและหันมากระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ เลิกตั้งเป้าหมายให้ส่งออกขยายตัวเป็น 3 เท่าของจีดีพี เพราะหากยังพึ่งการส่งออกขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำให้ต้องอุ้มผู้ส่งออกต่อไป" นายศุภวุฒิกล่าว

นายศุภวุฒิ ประเมินว่า ขณะนี้คงต้องมีการติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด เพราะสหรัฐคงจะใช้ QE3 ต่อไปอีกอย่างน้อย30 เดือน หรือกลางปี 2558 ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมาก จากเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อหาผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่สูงกว่า เพราะดอกเบี้ยพันธบัตรของสหรัฐ ระยะ2 ปี อยู่ที่ 0.25% ส่วนพันธบัตรไทยดอกเบี้ยสูงถึง 3%

นายอัมมาร สยามวาลาประธานที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ปัจจุบันแม้ว่า ธปท.จะไม่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวกำหนดนโยบายการเงิน แต่ยังคงใช้เครื่องมือนี้ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มส่งออก เห็นได้จากความพยายามที่จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง เพื่อให้ผู้ส่งออกได้เปรียบในเรื่องของราคาเมื่อเป็นแบบนี้ยิ่งทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่มีการพัฒนาเรื่องคุณภาพการผลิต

นอกจากนี้ ความพยายามทำให้ค่าเงินบาทอ่อน ยิ่งเป็นการซ้ำเติมเพิ่มภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน แม้จะขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้นหากภาครัฐไม่มีมาตรการมาเสริม แนวนโยบายที่ถูกต้องควรปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นตามกลไกตลาดจากการไหลเข้าของเงินทุน

ทั้ง ธปท. และนักวิชาการ ต่างมีเหตุผลที่ดี แต่‌สถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้จะสู้ค่าเงินหรือไม่สู้‌ค่าเงินเราก็จะแพ้ เพราะสู้ไปก็เสียเงินเปล่า เนื่อง‌จากเงินไหลบ่าเข้ามาราวกับน้ำป่า ทั้งในตลาดเงิน‌และตลาดทุน ส่วนไม่สู้ ปล่อยไปให้ค่าเงินแข็งตาม‌กลไกตลาด การส่งออกก็จะยิ่งลดลงไปอีก

ฉะนั้น สิ่งที่ ธปท.จะทำก็คือ การให้ค่าเงินเกาะ‌ไปกับค่าเงินของประเทศในภูมิภาค เพื่อไม่ให้ได้‌เปรียบและเสียเปรียบในด้านการส่งออก ราคา‌สินค้าไม่แตกต่างกันมากจนทำให้เราเสียตลาดส่งออกไป

และ ธปท.ยังคงจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงค่าเงิน‌เป็นระยะ หากค่าเงินมีแนวโน้มแข็งค่าเร็วเกินไปจน‌เอกชนรับมือไม่ทัน

และการสนับสนุนให้ธุรกิจไทยถือโอกาสที่‌สินทรัพย์ต่างประเทศมีราคาถูกออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ผลพลอยได้ คือ ทำให้นักธุรกิจไทยมีความรู้และความตื่นตัวในเรื่องการ‌ลงทุนต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน ธปท.ยังพยายามเพิ่มความหลากหลายของสกุลเงินที่เก็บเป็นทุนสำรองระหว่าง‌ประเทศด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระจายความ‌เสี่ยงการลงทุนในสกุลเงินอื่น อาจให้ผลตอบแทน‌สูงกว่าเงินเหรียญสหรัฐและยูโร อันจะนำไปสู่การ‌ขาดทุนลดลง

ธปท.คงทำได้แค่นี้ เพราะเครื่องมืออื่นยังไม่มี‌การดำเนินการ โดยเฉพาะมาตรการจากกระทรวง‌การคลัง ที่ควรจะให้รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของ‌รัฐเลิกกู้เงินจากต่างประเทศมาใช้ ให้กู้ในประเทศ‌แทน เพื่อไม่ให้มาซ้ำเติมให้เงินบาทแข็งค่าเร็ว‌ออกไปอีก