posttoday

ภาคการเงิน อ่วมรับเออีซี ปรับตัวไม่ทัน

29 กรกฎาคม 2555

เร่งภาคการเงินไทยปรับตัวรับเออีซี หลังพบการปรับตัวช้ากว่าภาคอุตสาหกรรม ทำได้แค่ตามไปให้บริการลูกค้า

เร่งภาคการเงินไทยปรับตัวรับเออีซี หลังพบการปรับตัวช้ากว่าภาคอุตสาหกรรม ทำได้แค่ตามไปให้บริการลูกค้า

นายเกษม พันธ์รัตนมาลา กรรมการหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า การรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่กำลังจะมีขึ้นในปี 2558 พบว่า ภาคธนาคารของไทยมีการปรับตัวช้าที่สุด ช้ากว่าภาคอุตสาหกรรมที่ต่างออกไปลงทุนขยายกิจการยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารไทยทำได้เพียงตามไปเปิดสาขาเพื่อให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าเท่านั้น

นายเกษม กล่าวว่า การที่ธนาคารไทยเน้นให้บริการลูกค้าในประเทศเป็นหลัก ถือเป็นจุดแข็งที่ทำให้ธนาคารต่างชาติจะเข้ามาแข่งขันได้ยากก็จริง แต่ต้องยอมรับว่า ธนาคารจะให้บริการเฉพาะตลาดในประเทศคงไม่พอ เนื่องจากตลาดอาเซียนมีขนาดใหญ่กว่ามาก

“แบงก์ไทยถ้าจะโฟกัสเฉพาะในบ้านตัวเอง ถือว่าเก่งมาก ต่างชาติ เข้ามาแข่งลำบาก แต่เมื่อเปิดเออีซีแล้ว เวทีนี้ไม่พอ ดังนั้นแบงก์ไทยต้องรีบปรับตัว เพราะประเทศอื่นเขาไปจับจองพื้นที่กันหมดแล้ว” นายเกษม กล่าว

สาเหตุที่ไทยเน้นตลาดต่างประเทศ ก็เพราะ

นายเกษม กล่าวว่า แนวทางที่ดีที่สุดในการทำตลาดอาเซียน คือ สถาบันการเงินไทยต้องรีบเข้าไปทดลองเปิดสาขาก่อน เพื่อเรียนรู้กฎระเบียบ วัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้เข้ากับประเทศนั้นๆ ส่วนประเทศที่ควรเข้าไปเปิดตลาด ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม เพราะแนวโน้มการลงทุนขยายตัวสูงมาก ขณะที่ พม่า แม้จะเปิดประเทศ แต่ยังติดขัดด้านกฎหมาย และระบบการเงินที่ยังไม่พร้อม จึงควรรอดูท่าทีอีกสักพัก

อย่างไรก็ดี การเป็นพันธมิตรกับธนาคารท้องถิ่น ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ขึ้นอยู่กับว่าธนาคารที่เป็นพันธมิตรด้วยนั้น มีศักยภาพหรือไม่ และสามารถช่วยเกื้อหนุนการทำธุรกิจระหว่างกันมากน้อยเพียงใด

“กลุ่มธนาคารในอาเซียนที่มีความแข็งแกร่ง และเป็นคู่แข่งสำคัญ คือ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งได้เปรียบจากการที่มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และสนับสนุนการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ แต่ระบบเขาไม่เหมือนเรา ธนาคารไทยที่มีรัฐถือหุ้นใหญ่ มักจะมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งกลายเป็นความเสียเปรียบของเรา” นายเกษมกล่าว

หลังจากที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ทำให้สถาบันการเงินไทยต่างลดขนาดลงมา เน้นให้บริการลูกค้าในประเทศเป็นหลัก เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินกิจการ ปิดสาขาต่างประเทศ ปัญหาดังกล่าวส่งผลมาถึงปัจจุบัน ธนาคารไทยขยายธุรกิจไปประเทศเพื่อนบ้านน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

นอกจากนี้ การรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่กำลังจะมีขึ้นในปี 2558 ยังพบว่า ภาคธนาคารของไทยมีการปรับตัวช้าที่สุด ช้ากว่าภาคอุตสาหกรรมจริง (เรียล เซ็กเตอร์) ที่ต่างออกไปลงทุนขยายกิจการยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารไทยทำได้เพียงตามไปเปิดสาขาเพื่อให้บริการทางการเงินแค่ลูกค้าเท่านั้น

นายเกษม กล่าวว่า การที่ธนาคารไทยเน้นให้บริการลูกค้าในประเทศเป็นหลัก ถือเป็นจุดแข็งที่ทำให้ธนาคารต่างชาติจะเข้ามาแข่งขันได้ยากก็จริง แต่ต้องยอมรับว่า ธนาคารจะให้บริการเฉพาะตลาดในประเทศคงไม่พอ เนื่องจากตลาดอาเซียนมีขนาดใหญ่กว่ามาก

“แบงก์ไทย ถ้าจะโฟกัสเฉพาะในบ้านตัวเอง ถือว่าเก่งมาก ต่างชาติเข้ามาแข่งลำบาก แต่เมื่อเปิดเออีซีแล้ว เวทีนี้ไม่พอ ดังนั้นแบงก์ไทยต้องรีบปรับตัว เพราะประเทศอื่นเขาไปจับจองพื้นที่กันหมดแล้ว” นายเกษมกล่าว

นายเกษม กล่าวว่า แนวทางที่ดีที่สุดในการทำตลาดอาเซียน คือ สถาบันการเงินไทยต้องรีบเข้าไปทดลองเปิดสาขาก่อน เพื่อเรียนรู้กฎระเบียบ วัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้เข้ากับประเทศนั้นๆ ส่วนประเทศที่ควรเข้าไปเปิดตลาด ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม เพราะแนวโน้มการลงทุนขยายตัวสูงมาก ขณะที่ พม่า แม้จะเปิดประเทศ แต่ยังติดขัดด้านกฎหมาย และระบบการเงินที่ยังไม่พร้อม จึงควรรอดูท่าทีอีกสักพัก

อย่างไรก็ดี การเป็นพันธมิตรกับธนาคารท้องถิ่น ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ขึ้นอยู่กับว่าธนาคารที่เป็นพันธมิตรด้วยนั้น มีศักยภาพหรือไม่ และสามารถช่วยเกื้อหนุนการทำธุรกิจระหว่างกันมากน้อยเพียงใด

“กลุ่มธนาคารในอาเซียนที่มีความแข็งแกร่ง และเป็นคู่แข่งสำคัญ คือ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งได้เปรียบจากการที่มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และสนับสนุนการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ แต่ระบบเขาไม่เหมือนเรา ธนาคารไทยที่มีรัฐถือหุ้นใหญ่ มักจะมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งกลายเป็นความเสียเปรียบของเรา” นายเกษมกล่าว