posttoday

ปลด'ปิยสวัสดิ์'สะเทิอนรัฐปราบโกง

24 พฤษภาคม 2555

การปลด “ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์” ออกจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย

โดย...ปริญญา ชูเลขา

การปลด “ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์” ออกจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย กลายเป็นประเด็นความขัดแย้งบานปลายทางการเมืองทั้งภายในองค์กรการบินไทย ที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ยังกระทบไปถึงความเชื่อมั่นของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ด้วย เพราะเกิดคำถามมากมายตามมาท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัยในข้ออ้าง “มีปัญหาการสื่อสาร” จึงสั่งปลดฟ้าผ่าครั้งนี้ ว่าการเมืองเข้าไปแทรกแซง หรือมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่

ณ เวลานี้ ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับคำตอบ และเรื่องดังกล่าวยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงอย่างไร ยิ่งเกิดการเคลื่อนไหวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยที่ถือว่าเป็นสหภาพฯ ที่มีความเข้มแข็งและกล้าชนฝ่ายการเมืองออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านหัวชนฝา และเดินสายทวงถามคำตอบด้วยการยื่นหนังสือสอบถามตั้งแต่ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลัง จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาค ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือแม้แต่นายกฯ ยิ่งลักษณ์

อีกทั้งยังไล่บี้ให้ อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การบินไทย เร่งชี้แจงเหตุผลที่แท้จริงในการเลิกจ้างปิยสวัสดิ์ ทั้งยังเรียกร้องให้รัฐบาลปลดอำพนพ้นจากประธานบอร์ดการบินไทย นับเป็นการตอกย้ำถึงความแตกแยกขัดแย้งภายในองค์กรอย่างรุนแรง เนื่องจากทางสหภาพฯ เห็นว่าตั้งแต่ปิยสวัสดิ์เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2552 โดยบัญชีทางการเงินที่มีการแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานว่า งบการเงินเมื่อปี 2551 ก่อนหน้าที่ปิยสวัสดิ์จะเข้ารับตำแหน่งนั้น การบินไทยขาดทุนถึง 21,379.45 ล้านบาท

ต่อมาปี 2552 ซึ่งปิยสวัสดิ์เริ่มเข้ารับตำแหน่ง กลับมาได้กำไร 7,343.58 ล้านบาท ปี 2553 ได้กำไร 15,349.69 ล้านบาท ขณะที่ปี 2554 ขาดทุน 10,196.97 ล้านบาท และไตรมาสแรกของปี 2555 ได้กำไร 3,644.77 ล้านบาท

การเคลื่อนไหวของสหภาพฯ ที่เกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงสงสัยว่าใครอยู่เบื้องหลังหรือการเมืองแทรกแซง เพราะต้องการสิ่งใดจากการบินไทยจากการปลดปิยสวัสดิ์ออกจากตำแหน่งในครั้งหรือไม่

ปลด'ปิยสวัสดิ์'สะเทิอนรัฐปราบโกง

หากการปลดครั้งนี้เป็นเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน หรือทำงานไม่มีประสิทธิภาพสอบตก ย่อมเป็นที่ยอมรับได้ แต่สิ่งที่เป็นอยู่กลับสวนทาง เพราะผลการประเมินการทำงานปิยสวัสดิ์ ทั้งสอบผ่านและสร้างผลงานให้กับองค์กรที่อยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตามเป็นที่รับรู้กันมาโดยทั่วไปว่า 2 คนนี้ ทั้งปิยสวัสดิ์และอำพน มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว กล่าวคือ ปิยสวัสดิ์เป็นคนที่มีบุคลิกชนิด “ยอมหักไม่ยอมงอ” คงจำกันได้ในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เรืองอำนาจ ปิยสวัสดิ์เคยขัดแย้งกับ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านพลังงาน เกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้าและนโยบายการแปรรูป ปตท.และ กฟผ. จึงลาออกจากราชการเมื่อปี 2545 เพื่อไปดำรงตำแหน่งในบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย

ขณะที่อำพน บุคลิกท่าทางคล่องแคล่วว่องไว สไตล์การทำงานที่เป็นที่ยอมรับ และขึ้นชื่อ คือ “ปรับตัวเก่ง” ทำงานได้กับทุกรัฐมนตรีจากทุกพรรคทุกกระทรวง หรือทุกขั้วการเมือง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและเติบโตตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะที่ปิยสวัสดิ์กลับถูกตราหน้าว่าอยู่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ เข้ามาทำงานสมัยพรรคประชาธิปัตย์เรืองอำนาจ และภรรยา คือ อานิก อัมระนันทน์ ยังเป็น สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อีกด้วย

เมื่อคนสองคนที่มีความต่างกันสุดขั้วมาเจอกัน คงไม่ต้องบรรยายว่าจะเกิดอะไรขึ้น และแม้แต่แนวคิดในการทำงานระหว่างอำพนกับปิยสวัสดิ์ มีปัญหากันมาโดยตลอด เช่น การจัดตั้งสายการบินต้นทุนประหยัดของการบินไทย ที่ต่างฝ่ายต่างมีแนวคิดเป็นของตัวเองอีกทั้งที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า ผลงานงานดีเด่นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริษัท การบินไทย ต่างพากันยกความดีความชอบให้กับปิยสวัสดิ์แต่เพียงผู้เดียว แต่กลับไม่มีการกล่าวถึงคุณงามความดีของอำพน ทั้งที่เป็นประธานบอร์ดการบินไทยแท้ๆ

แต่ประเด็นที่น่าฉงนและสงสัยเข้าไปอีก และสะเทือนต่อนโยบายประกาศสงครามการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลอย่างยิ่ง เมื่อปิยสวัสดิ์ทิ้งระเบิดการเมืองลูกใหญ่ฝากไว้ก่อนอำลาว่า มีบางฝ่ายต้องการเข้ามาฮุบโครงการจัดซื้อจัดจ้างฝูงบินล็อตใหญ่ ในโครงการจัดหาเครื่องบินในเฟสที่ 2 (ปี 2561-2565) จำนวน 38 ลำ มูลค่า 2.4 แสนล้านบาท ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา

ทุกฝ่ายยังประทับใจถ้อยคำรัฐบาลที่ประกาศเป็นเจ้าภาพทำสงครามต่อต้านการทุจริต ในการประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธ.ค. 2550 ที่ผ่านมาต่อหน้าประชาชนทั่วประเทศ

ดังนั้น ประเด็นเกี่ยวกับการปลดปิยสวัสดิ์ ฝ่ายการเมืองต้องสร้างความชัดเจนและทำให้เกิดความโปร่งใส ว่าไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองที่เข้าไปเพื่อหวังผลประโยชน์จากการเขี่ยปิยสวัสดิ์ให้พ้นทาง เพื่อส่งคนของตัวเองเข้าไปแทน ซึ่งต้องไม่ให้เกิดเรื่องซ้ำรอยกรณีโยกย้าย พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แทน ถวิล เปลี่ยนศรี เพื่อปูทางให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ได้ขึ้นเป็น ผบ.ตร.

และหากฝ่ายการเมืองต้องการเข้ามาเพื่อเป้าหมายอย่างที่ปิยสวัสดิ์ออกมาเปิดโปงจริง ย่อมส่งผลสะเทือนต่อภาพลักษณ์การบินไทยที่เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นดี ย่อมได้รับผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือที่มีผู้ถือหุ้นอยู่จำนวนมาก และยังส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการบินไทย

ที่สำคัญความเชื่อมั่นศรัทธาของรัฐบาลต่อการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันมีอันต้องเสื่อมไม่น่าเชื่อถือในที่สุด m
8...ปริญญา ชูเลขา

การปลด “ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์” ออกจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย กลายเป็นประเด็นความขัดแย้งบานปลายทางการเมืองทั้งภายในองค์กรการบินไทย ที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ยังกระทบไปถึงความเชื่อมั่นของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ด้วย เพราะเกิดคำถามมากมายตามมาท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัยในข้ออ้าง “มีปัญหาการสื่อสาร” จึงสั่งปลดฟ้าผ่าครั้งนี้ ว่าการเมืองเข้าไปแทรกแซง หรือมีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่

ณ เวลานี้ ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับคำตอบ และเรื่องดังกล่าวยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงอย่างไร ยิ่งเกิดการเคลื่อนไหวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยที่ถือว่าเป็นสหภาพฯ ที่มีความเข้มแข็งและกล้าชนฝ่ายการเมืองออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านหัวชนฝา และเดินสายทวงถามคำตอบด้วยการยื่นหนังสือสอบถามตั้งแต่ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลัง จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาค ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือแม้แต่นายกฯ ยิ่งลักษณ์

อีกทั้งยังไล่บี้ให้ อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การบินไทย เร่งชี้แจงเหตุผลที่แท้จริงในการเลิกจ้างปิยสวัสดิ์ ทั้งยังเรียกร้องให้รัฐบาลปลดอำพนพ้นจากประธานบอร์ดการบินไทย นับเป็นการตอกย้ำถึงความแตกแยกขัดแย้งภายในองค์กรอย่างรุนแรง เนื่องจากทางสหภาพฯ เห็นว่าตั้งแต่ปิยสวัสดิ์เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2552 โดยบัญชีทางการเงินที่มีการแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานว่า งบการเงินเมื่อปี 2551 ก่อนหน้าที่ปิยสวัสดิ์จะเข้ารับตำแหน่งนั้น การบินไทยขาดทุนถึง 21,379.45 ล้านบาท

ต่อมาปี 2552 ซึ่งปิยสวัสดิ์เริ่มเข้ารับตำแหน่ง กลับมาได้กำไร 7,343.58 ล้านบาท ปี 2553 ได้กำไร 15,349.69 ล้านบาท ขณะที่ปี 2554 ขาดทุน 10,196.97 ล้านบาท และไตรมาสแรกของปี 2555 ได้กำไร 3,644.77 ล้านบาท

การเคลื่อนไหวของสหภาพฯ ที่เกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงสงสัยว่าใครอยู่เบื้องหลังหรือการเมืองแทรกแซง เพราะต้องการสิ่งใดจากการบินไทยจากการปลดปิยสวัสดิ์ออกจากตำแหน่งในครั้งหรือไม่

หากการปลดครั้งนี้เป็นเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน หรือทำงานไม่มีประสิทธิภาพสอบตก ย่อมเป็นที่ยอมรับได้ แต่สิ่งที่เป็นอยู่กลับสวนทาง เพราะผลการประเมินการทำงานปิยสวัสดิ์ ทั้งสอบผ่านและสร้างผลงานให้กับองค์กรที่อยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตามเป็นที่รับรู้กันมาโดยทั่วไปว่า 2 คนนี้ ทั้งปิยสวัสดิ์และอำพน มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว กล่าวคือ ปิยสวัสดิ์เป็นคนที่มีบุคลิกชนิด “ยอมหักไม่ยอมงอ” คงจำกันได้ในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เรืองอำนาจ ปิยสวัสดิ์เคยขัดแย้งกับ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านพลังงาน เกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้าและนโยบายการแปรรูป ปตท.และ กฟผ. จึงลาออกจากราชการเมื่อปี 2545 เพื่อไปดำรงตำแหน่งในบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย

ขณะที่อำพน บุคลิกท่าทางคล่องแคล่วว่องไว สไตล์การทำงานที่เป็นที่ยอมรับ และขึ้นชื่อ คือ “ปรับตัวเก่ง” ทำงานได้กับทุกรัฐมนตรีจากทุกพรรคทุกกระทรวง หรือทุกขั้วการเมือง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและเติบโตตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะที่ปิยสวัสดิ์กลับถูกตราหน้าว่าอยู่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ เข้ามาทำงานสมัยพรรคประชาธิปัตย์เรืองอำนาจ และภรรยา คือ อานิก อัมระนันทน์ ยังเป็น สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อีกด้วย

เมื่อคนสองคนที่มีความต่างกันสุดขั้วมาเจอกัน คงไม่ต้องบรรยายว่าจะเกิดอะไรขึ้น และแม้แต่แนวคิดในการทำงานระหว่างอำพนกับปิยสวัสดิ์ มีปัญหากันมาโดยตลอด เช่น การจัดตั้งสายการบินต้นทุนประหยัดของการบินไทย ที่ต่างฝ่ายต่างมีแนวคิดเป็นของตัวเองอีกทั้งที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า ผลงานงานดีเด่นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริษัท การบินไทย ต่างพากันยกความดีความชอบให้กับปิยสวัสดิ์แต่เพียงผู้เดียว แต่กลับไม่มีการกล่าวถึงคุณงามความดีของอำพน ทั้งที่เป็นประธานบอร์ดการบินไทยแท้ๆ

แต่ประเด็นที่น่าฉงนและสงสัยเข้าไปอีก และสะเทือนต่อนโยบายประกาศสงครามการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลอย่างยิ่ง เมื่อปิยสวัสดิ์ทิ้งระเบิดการเมืองลูกใหญ่ฝากไว้ก่อนอำลาว่า มีบางฝ่ายต้องการเข้ามาฮุบโครงการจัดซื้อจัดจ้างฝูงบินล็อตใหญ่ ในโครงการจัดหาเครื่องบินในเฟสที่ 2 (ปี 2561-2565) จำนวน 38 ลำ มูลค่า 2.4 แสนล้านบาท ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา

ทุกฝ่ายยังประทับใจถ้อยคำรัฐบาลที่ประกาศเป็นเจ้าภาพทำสงครามต่อต้านการทุจริต ในการประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธ.ค. 2550 ที่ผ่านมาต่อหน้าประชาชนทั่วประเทศ

ดังนั้น ประเด็นเกี่ยวกับการปลดปิยสวัสดิ์ ฝ่ายการเมืองต้องสร้างความชัดเจนและทำให้เกิดความโปร่งใส ว่าไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองที่เข้าไปเพื่อหวังผลประโยชน์จากการเขี่ยปิยสวัสดิ์ให้พ้นทาง เพื่อส่งคนของตัวเองเข้าไปแทน ซึ่งต้องไม่ให้เกิดเรื่องซ้ำรอยกรณีโยกย้าย พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แทน ถวิล เปลี่ยนศรี เพื่อปูทางให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ได้ขึ้นเป็น ผบ.ตร.

และหากฝ่ายการเมืองต้องการเข้ามาเพื่อเป้าหมายอย่างที่ปิยสวัสดิ์ออกมาเปิดโปงจริง ย่อมส่งผลสะเทือนต่อภาพลักษณ์การบินไทยที่เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นดี ย่อมได้รับผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือที่มีผู้ถือหุ้นอยู่จำนวนมาก และยังส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการบินไทย

ที่สำคัญความเชื่อมั่นศรัทธาของรัฐบาลต่อการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันมีอันต้องเสื่อมไม่น่าเชื่อถือในที่สุด