posttoday

แถลงเปิดสำนวนถอดถอน"สุรพงษ์" ป.ป.ช.ชี้ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ชัดเจน

16 มีนาคม 2560

แถลงเปิดสำนวนถอดถอด"สุรพงษ์" สุภางัดหลักฐานชี้กระทำผิดฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เจ้าตัวอ้างถูกกลั่นแกล้งเพราะมีเจ้านายชื่อทักษิณ

แถลงเปิดสำนวนถอดถอด"สุรพงษ์" สุภางัดหลักฐานชี้กระทำผิดฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เจ้าตัวอ้างถูกกลั่นแกล้งเพราะมีเจ้านายชื่อทักษิณ

เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  พิจารณาดำเนินกระบวนการถอดถอนนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.การต่างประเทศ ออกจากตำแหน่ง กรณีออกหนังสือเดินทาง ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ยศในขณะนั้น โดยมิชอบ ตามมาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557  ประกอบมาตรา 64  แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2552

เริ่มจากการการแถลงเปิดสำนวนตามรายงานและความเห็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) โดย น.ส. สุภา ปิยะจิตติ  กรรมการ ปปช. ระบุว่า เรื่องนี้เริ่มจาก นายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีตสส.ประชาธิปัตย์ และ สส.เข้าชื่อถอดถอน นายสุรพงษ์ กรณีออกหนังสือเดินทางไม่ถูกต้อง สุรพงษ์ ส่วนกรณีที่ นายสุรพงษ์ทำเรื่องคัดค้าน 5 ข้อ ซึ่งคำขอทั้ง 5 ข้อ ไม่สามารถรับฟังได้ต้องตกไปทั้ง 5 ข้อ 

น.ส.สุภา กล่าวว่า นายทักษิณ ถูกฟ้องคดีการซื้อขายที่ดินรัชดา และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่อนุญาตให้ออกนอกประเทศ เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2551 แต่ต่อมาขอเดินทางออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 31 ก.ค. - 10 ส.ค. 2551 ซึ่งสุดท้ายไม่ได้เดินทางกลับและมีการออกหมายจับ ต่อมา กระทรวงการต่างประเทศได้เพิกถอนหนังสือเดินทาง 2ฉบับ วันที่ 12 ธ.ค.  2551 และ เม.ย. 2552

ต่อมา นายสุรพงษ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรมว.ต่างประเทศ เมื่อเดือน ส.ค. 2554 และ นายทักษิณ ได้ยื่นขอออกหนังสือเดินทางที่เมืองอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  วันที่ 25 ต.ค.2554 ซึ่งในวันเดียวกันได้ส่งเรื่องมายังกระทรวงการต่างประเทศ และ นายสุรพงษ์ ได้ตอบกลับเรื่องนี้โดยระบุว่า นโยบายรัฐบาลนี้เห็นว่าการอยู่ต่างประเทศของ นายทักษิณ  ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศ หรือต่างประเทศตามระเบียบ การออกหนังสือเดินทางของประทรวงการต่างประเทศ ข้อ 23 จึงให้ยกเลิกคำสั่งของรัฐบาลที่แล้ว และให้อกหนังสือเดินทางธรรมดาให้แก่ นายทักษิณ

"จะเห็นว่าเป็นการกระทำที่เสร็จภายในวันเดียว ไม่มีการตรวจสอบสถานะความถูกต้องข้ออ้างนี้ ไม่ปรากฏในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ไม่มีนโยบายเรื่องนี้ และไม่ปรากฏหน่วยงานใด รายงานให้ นายสุรพงษ์ทราบว่า นายทักษิณไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่่างประเทศ  รวมทั้งศาลอาญายังออกหมายจับ ในคดีก่อการร้าย และ หมายจับอีกหลายคดี การยกเลิกคำสั่งเดิมสมัยนายกษิต ภิรมย์ อดีตรมว.ต่างประเทศจึงไม่ชอบ"

น.ส.สุภา กล่าวว่า  การออกหนังสือเดินทางใหม่ ให้กับ นายทักษิณ ทำให้ยังสามารถเดินทางอยู่งนอกประเทศ  ทั้งที่มีหมายจับคดี ก่อการร้ายยังอยู่ และมีรายชื่อเป็นบุคคลที่ต้องตรวจสอบก่อนออกหนังสือเดินทาง การออกหนังสือเดินทางทำให้เกิดความเสียหายกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระบวนการยตุิธรรมไทย  ทำให้ นายทักษิณไม่เดินทางกลับมาฟังคำวินิจฉัย หรือรับโทษ  ป.ป.ช. จึงมีมติเห็นว่า  การกระทำ ของ นายสุรพงษ์ มีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัตหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามตรา 157 พ.ร.บ. ป.ป.ช. มาตรา 121  และ ประมวลจริยธรรม ส่วนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

ด้าน นายสุรพงษ์ ชี้แจงว่า จะไม่ขอความเห็นใจ เพราะทราบตั้งแต่เรื่องนี้ถูกบรรจุเข้าสู่สภาแห่งนี้ ผลจะออกมาเป็นเช่นไร การชี้แจงเพื่อให้ครบถ้วน เสร็จกสิ้นกระบวรการ เท่านั้น  โดยขอยืนยันกับทุกคนว่า ตลอดชีวิต ทำงาน และปฏิบัติหน้าที่ยึดมั่นในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ อย่างเคร่งครัด ไม่ก้าวก่ายแทรกแซงข้าราชการ ยึดหลัก ในสิ่งที่ถูกต้องที่ถูกถอดถอนถูกกล่าวหาก็ไม่เสียใจ อย่างน้อย  รู้ดีกว่า สิ่งที่ถูกกระทำในครั้งนี้ เป็นธรรมหรือไม่

“การบรรจุวาระถอดถอนผมก็เข้าสู่สภาใช้เวลาเพียงแค่ 1 เดือน แสดงถึงการเร่งรีบจัดการกับผม สมาชิกบางท่านออกมาปฏิเสธ ว่าไม่มีใบสั่ง ซึ่งเชื่อว่ารู้กันดีอยู่แก่ใจว่าเรื่องนี้ใช่เรื่องปรักปรำกล่าวหาหรือไม่  หรือพยายามเอาผิดมายัดเยียดแก่กันเพียงเพราะ ผมอยู่เพื่อไทย หรือมีเจ้านายชื่อ ทักษิณ ชินวัตร  จนบางท่านลืมนึกถึงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ มุ่งหวังจะกำจัดหรือจัดการกับผมอย่างไม่เป็นธรรม เรื่องนี้ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศมีเกียรติไม่ยอมให้ผู้ใดใช้อำนาจ สั่งทำผิดกฎหมายหรือระเบียบได้เด็ดขาด"นายสุรพงษ์กล่าว

นายสุรพงษ์  กล่าวว่า ขอคัดค้านใน 5 ประเด็น   ได้แก่ 1.เอกสารเท็จ โดยในวันที่ 1 ก.ย.  2559 ไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ ป.ป.ช.  มี ป.ป.ช.6 คนในวันนั้น ไม่มา 3 คน   แต่ในเอกสารแจ้งข้อกล่าวหากลับลงชื่อโดย 9 คน ร่วมแจ้งข้อกล่าวหา จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและเป็นคนละประเด็นกับเรื่องครบองค์ประชุม 2. คำร้อง ของ นายวิรัตน์ กับ สส. 139 คน ไม่ครบถ้วนถูกต้อง ไม่มีการแนบสำเนาบัตรประชาชน ระบุที่อยู่ และเลขบัตรประชาชนให้ชัดเจนตามกฎหมาย ป.ป.ช.  3. นายภักดี โพธิศิริ ไม่ได้ เป็น กรรมการ ป.ป.ช. มาแต่ต้น เป็นคนนอก มาร่วมประชุมทำให้มติและผลออกมาไม่ชอบ เป็นโมฆะ

4.การสรรหา นายปรีชา และ พล.ต.อ.สถาพร เป็นกรรมการป.ป.ช. ไม่ถูกต้องตามประกาศคปค. ฉบับที่ 19 ทำให้การประชุมและมติไม่ถูกต้อง  และ  5.  การกล่าวหาว่าในฐานะผู้บังคับบัญชาข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ  สามารถให้คุณให้โทษ บังคับให้เจ้าหน้าที่ออกหนังสือเดินทางให้ นายทักษิณได้นั้น  อดีตอธิบดีกรมการกงศุล ชี้แจง ป.ป.ช. ว่า แม้ รมว.จะกำหนดเป็นนโยบายเช่นใด ก็เป็นเพียงแค่ข้อพิจารณาส่วนหนึ่งประกอบการใช้ดุลพินิจ ในการออกหนังสือเดินทาง

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีมีหมายจับ นายทักษิณ ที่จะนำมาระบุไม่ให้ออกหนังสือเดินทางให้กับ นายทักษิณ ทางกรมการกงศุลเคยสอบถามไปยัง ศาล และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ก็ไม่ได้เคยรับคำตอบว่า นายทักษิณ เป็นบุคคล ที่ไม่สมควรออกหนังสือเดินทางให้แต่อย่างไร  ทั้งนี้ ไม่ได้ขออะไรมาเพียงแต่ขอความยุติธรรมจากสนช. 

จากนั้นที่ประชุมได้ พิจารณาประเด็นที่จะซักถามเพิ่มเติมโดยตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.)ซักถาม 7 คน  ตามข้อบังคับการประชุม สนช. พ.ศ. 2557 ข้อ 154 วรรคสาม ให้ สมาชิก สนช. เสนอประเด็นซักถามต่อกมธ.ภายในวันที่ 20 มี.ค.