posttoday

สเต็ปใหม่ 'เซ็นทรัล' ก้าวสู่บริษัทมหาชน

01 สิงหาคม 2562

เดินกลยุทธ์ "พาร์ทเนอร์ คอลลาบอเรชัน" เพราะโลกของธุรกิจค้าปลีกในอนาคตสามารถเติบโตไปทั่วโลกด้วยการมีพันธมิตรธุรกิจในแต่ละแห่ง เพื่อรับมือ "คัสโตเมอร์ ดิสรัปชัน" โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนขยายสาขาแบบมีหน้าร้านอีกต่อไป

เดินกลยุทธ์ "พาร์ทเนอร์ คอลลาบอเรชัน" เพราะโลกของธุรกิจค้าปลีกในอนาคตสามารถเติบโตไปทั่วโลกด้วยการมีพันธมิตรธุรกิจในแต่ละแห่ง เพื่อรับมือ "คัสโตเมอร์ ดิสรัปชัน" โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนขยายสาขาแบบมีหน้าร้านอีกต่อไป

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมค้าปลีกของไทย หลังจาก ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเซ็นทรัล รีเทลคอร์ปอเรชั่น จำกัด (เซ็นทรัล รีเทล หรือ Central Retail) ประกาศนำองค์กรเดินหน้าสู่การเป็น "นิวเซ็นทรัล นิวรีเทล-New Central New Ratail"

เพื่อนำ 'เซ็นทรัล รีเทล' ก้าวสู่โลกการค้าธุรกิจค้าปลีกแบบไร้พรมแดน ด้วยการรวมธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มเซ็นทรัล ในประเทศไทย เวียดนาม และ อิตาลี มูลค่ารวมกว่า 2.4 แสนล้านบาท (ปี2561) ในรูปแบบ Holding Company เข้าสู่การเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

พร้อมวางแผนยื่นไฟล์ลิง ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ราวปลายปีนี้ โดยแต่งตั้งให้ บล. ภัทร และ บล.บัวหลวง เป็นทึ่ปรึกษาทางการเงิน ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาจาก ก.ล.ต. เพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการเสนอขายหุ้นเสามัญเพิ่มทุนให้่กับประชาชนทั่วไป (IPO) ในลำดับถัดไป ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2563

สเต็ปใหม่ 'เซ็นทรัล' ก้าวสู่บริษัทมหาชน ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร เซ็นทรัล รีเทล

จากธุรกิจห้องแถวสู่ยักษ์ค้าปลีกระดับโลก

ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร เซ็นทรัล รีเทล ฉายภาพกิจการเซ็นทรัล เริ่มต้นเมื่อ 72 ปีก่อน ในยุคแรก 1940s จากธุรกิจครอบครัวร้านค้าของชำรูปแบบห้องแถวย่านเจริญกรุง จากนั้นในช่วง 1950s ขยับสู่สาขาร้านสรรพสินค้าวังบูรพา และในช่วง 1960sได้เปิดห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สีลม

จากนั้นถัดมาอีก10ปี หรือในยุค 1970s มีการเปิดห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม ซึ่งถือว่าเป็นห้างฯที่ยิ่งใหญ่ในระดับภูมิภาคอาเซียนในยุคนั้น และได้เปิดสาขาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ขึ้นในยุค 1980s

ในทศวรรษที่ 5 (1990s) เซ็นทรัล รีเทล ได้เข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านธุรกิจดีพาร์ทเมนต์สู่ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรูปแบบ มัลติ ฟอร์แมต สโตร์ ภายใต้แบรนด์ต่างๆ อาทิ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าพาวเวอร์บาย ร้านเสื้อผ้าอุปกรณ์กีฬา ซูเปอร์สปอร์ต ไปจนถึงร้านจำหน่ายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ฯลฯ พร้อมนโยบายกระจายกิจการค้าปลีกแบรนด์ต่างๆในกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล ออกสู่ทั่วทุกภูมิภาคของไทย

และในยุค 2000s เซ็นทรัล รีเทล ได้เดินหน้าสู่ตลาดค้าปลีกระดับอินเตอร์เนชันแนล ด้วยการขยายธุรกิจไปยังตลาดค้าปลีกในประเทศเวียดนาม และ อิตาลี ตั้งแต่ช่วงปี 2554 ปีที่ผ่านมา

ทศ กล่าวถึงอนาคตเซ็นทรัล รีเทล ในอนาคต นับจากปี 2020s เป็นต้นไปจะเดินหน้าเข้าสู่ยุค New Economy ด้วยประสบการณ์ด้านค้าปลีกที่สั่งสมมากว่า 70 ปี จากออฟไลน์สู่รูปแบบ ออมนิ-ชาแนล ด้วยการเป็นผู้ให้บริการค้าปลีกหรือห้างสรรพสินค้าที่ลูกค้าสามารถหาซื้อสินค้าบริการต่างๆ ได้หลากหลายช่องทาง

ปัจจุบัน เซ็นทรัล รีเทล ถือเป็นผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีก Multi-Format, Multu-Category อันดับ1 ในไทย ด้วยจำนวนสาขาหน้าร้านและจุดขายรวมกันมากกว่า 3,795 แห่งทั่วประเทศ (ข้อมูล 31 มีนาคม 2562)

"ในวันนี้ เซ็นทรัล รีเทล มุ่งหน้าสู่ New Central New Retail ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ใน 3 กลุ่มหลัก คือ แฟชัน ฟู้ด และฮาร์ดไลน์ เพื่อนำกิจการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ จากที่ผ่านมา เซ็นทรัล กรุ๊ป (CG) ได้นำธุรกิจโรงแรม(CHR) เข้าตลาดฯในปี 2533 และนำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ค้าปลีก(CPN) เข้าระดมทุนในตลาดฯปี 2538 โดยในช่วง29ปีที่ผ่านมา หุ้นCHR มีอัตราเติบโต 29 เท่า เช่นเดียวกับ CPN ก็เป็นอีกหนึ่งกิจการที่มูลค่าเพิ่มต่อเนื่อง" ทศ กล่าว

สเต็ปใหม่ 'เซ็นทรัล' ก้าวสู่บริษัทมหาชน ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เซ็นทรัล รีเทล

เปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งใหญ่ด้วย Passion

ด้าน ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด มองว่าการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 72 ปีในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะว่าได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ดิสรัปชัน(Technology Disruption) แต่เป็นการปรับเปลี่ยนองค์กรที่เกิดจาก Passion

"การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มาจากความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยตัวเองเป็นหลัก มากกว่าถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง ดังนั้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นย่อมแตกต่างกัน คือ เรามีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนตัวเองเพื่อรับมือกับการพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง(Customer Disruption) มากกว่าการถูกเทคโนโลยี ดิสรัปชัน โดยเซ็นทรัลฯ เป็นผู้สร้างประสบการณ์ในการช้อปปิงให้กับลูกค้า" ญนน์ กล่าว

ขณะที่การแต่งตัวของเซ็นทรัล รีเทล เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าตลาดฯในครั้งนี้ ญนน์ บอกว่าใช้เวลาเตรียมการมาราว 2 ปีครึ่ง-3ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลสำคัญที่ยังสอดคล้องกับเทรนด์การขยายตัวของตลาดธุรกิจค้าปลีกระดับโลกในอนาคตที่ไม่จำเป็นต้องใช้งบลงทุนเพื่อขยายสาขาหรือมีหน้าร้านแต่อย่างเดียวอีกต่อไป

แต่กิจการค้าปลีก สามารถที่จะเติบโตไปได้พร้อมกับการร่วมมือกันในรูปแบบพันธมิตรธุรกิจ (Partner Collaboration) เพื่อรับมือ 'คัสโตเมอร์ ดิสรัปชัน' จากพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าทั่วโลกที่เลือกดูสินค้าผ่านแพล็ตฟอร์มเว็บไซต์ และอาจไปจบการช้อปปิงที่หน้าร้านสาขาในแต่ละประเทศท้องถิ่น

โดยในช่วงระยะที่ผ่านมา เซ็นทรัล รีเทลฯ ได้ปรับปรุงธุรกิจใน 3 ด้านเพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจแลัว คือ 1. การปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจจากการวมธุรกิจค้าปลีกต่างๆ ของกลุ่มเซ็นทรัลทั้งในไทย เวียดนาม และอิตาลี เข้ามาอยู่ภายใต้บริษัทเดียว 

สเต็ปใหม่ 'เซ็นทรัล' ก้าวสู่บริษัทมหาชน

เพื่อดําเนินธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายใน 3 กลุ่มธุรกิจ คือ กลุ่มแฟชั่น เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซูเปอร์สปอร์ต ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วน 35% ของรายได้รวม กลุ่มฮาร์ดไลน์ เช่นไทวัสดุ บ้าน แอนด์ บียอนด์ เพาเวอร์บาย มีสัดส่วนรายได้ที่ 22% ของรายได้รวม และกลุ่มฟู้ด เช่น ท็อปส์, แฟมิลี่มาร์ท ซึ่งมีสัดส่วนรายได้หลักราว 43% โดยในปี 61 มีรายได้รวม 2.4  แสนล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 8% ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา

สำหรับด้านที่ 2. บริษัทได้ทำธุรกิจเดิมให้เติบโตต่อเนื่องและเข้มแข็ง และ 3. มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโมเดลธุรกิจใหม่ให้เติบโตในอนาคต

ปัจจุบัน เซ็นทรัล รีเทล มีจุดขายรวม 3,929 แห่ง ใน 3 ประเทศ มีพื้นที่ขายรวม 2,945,811 ตร.ม. มีพื้่นที่ให้เช่ารวม 517, 420 ตร.ม.ฐานลูกค้า(Loyalty Program) กว่า 27,000,000 รายทั่วโลก และสร้างโอกาสจ้่งงานรวมกว่า 70,000 ราย

มองค้าปลีกครึ่งปีหลังโตกว่าจีดีพีประเทศ 2เท่า

สำหรับสถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกของไทยในครึ่งหลังปี 2562 ญนน์ บอกว่าแนวโน้มจะยังมีความท้าทาย แต่บริษัทต้องทำธุรกิจด้วยความโปร่งใส โดยมองว่าหลังจากได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่มาแล้วน่าผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตได้ หลังจากก่อนหน้านี้เป็นช่วงสูญญากาศ และภาคการส่งออกยังพลาดเป้า

อย่างไรก็ตาม หากในปีนี้คาดการณ์ว่าจีดีพีประเทศไทยจะมีโอกาสเติบโตราว 3.5% โดยบริษัทมองว่าไม่น่าจะกระทบกับรายได้ของธุรกิจค้าปลีกเซ็นทรัล รีเทล เนื่องจากบริษัทไม่ได้โตจากเศรษฐกิจไทยอย่างเดียว แต่ยังเติบโตจากเวียดนาม จีน อิตาลี ซึ่งเป็นโกลบอล สเกล และจากการปรับรูปแบบธุรกิจสู่ Omnichannel Platform เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทั้งในช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

ขณะที่โดยปกติแล้วอุตสาหกรรมค้าปลีกไทย จะมีอัตราเติบโตมากกว่าจีดีพีประเทศราว 1.8-2.3% หรือ ภาพรวมค้าปลีกไทยในปีนี้คาดมีอัตราการเติบโตราว6-7% โดยในปี 2561 บริษัทมีรายได้รวม 2.4  แสนล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 8% ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา