posttoday

พญาไท1 บริการรถพยาบาลฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมองเคลื่อนที่

23 กรกฎาคม 2562

เริ่มต้นค่าบริการ 20,000 บาท เผยสถิติคนไทยป่วยโรคหลอดเลือดสมองปีละแสนคน-ปรับโครงสร้าง 'พญาไท-เปาโล พหลโยธิน' สู่แบรนด์ 'พญาไท เมดิคัล แคมปัส'

เริ่มต้นค่าบริการ 20,000 บาท เผยสถิติคนไทยป่วยโรคหลอดเลือดสมองปีละแสนคน-ปรับโครงสร้าง 'พญาไท-เปาโล พหลโยธิน' สู่แบรนด์ 'พญาไท เมดิคัล แคมปัส'

นายแพทย์ เกริกยศ ชลายนเดชะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 1 เครือบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS เปิดเผยว่าโรงพยาบาลพญาไท1 พัฒนารถพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Mobile Stroke Unit)ให้บริการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ณ ที่เกิดเหตุ แก่ประชาชนทั่วไป มีรัศมีการขับรถภายในระเวลา2 ชั่วโมง

พญาไท1 บริการรถพยาบาลฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมองเคลื่อนที่ นายแพทย์ เกริกยศ ชลายนเดชะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 1

สำหรับบริการภายในรถฉุกเฉินฯ ดังกล่าว ประกอบด้วย บริการLAB บริการ ซีที สแกน เพื่อส่งผลการตรวจสมองเบื้องต้นไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลพญาไท 1 ได้ทันที ผ่านเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่

เพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญฯ เป็นผู้วิเคราะห์อาการที่แน่ชัด ก่อนให้บริการฉีดยาขยายหลอดเลือดสมองให้แก่ผู้ป่วยได้ทันทีภายในรถฉุกเฉินฯดังกล่าว มีอัตราค่าบริการเรียกรถเบื้องต้นอยู่ที่ 20,000 บาท

“โมบายล์ สโตรค ยูนิต ของโรงพยาบาลพญาไท1 เป็นบริการรถฉุกเฉินด้านโรคหลอดเลือดสมองแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย ที่พญาไท 1 พัฒนาขึ้นมาใช้งบลงทุนกว่า 17 ล้านบาท ซึ่งให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปมานาน4 ปีถึงปัจจุบัน และขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนารถบริการฉุกเฉินฯ คันที่2” นายแพทย์ เกริกยศ กล่าว

นายแพทย์ สุรัตน์ บุญญะการกุล ผู้อำนวยการศูนย์โรคหลอดสมองพญาไท รพ. พญาไท 1กล่าวว่าปัจจุบันสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 4 อันดับแรก คือ 1.โรคหลอดเลือดสมอง 2. อุบัติเหตุ 3.โรคหัวใจ และ4.มะเร็งตับ แต่หากรวมโรคมะเร็งทุกประเภท จะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ1

โดยกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะหลอดดเลือดสมองเฉียบพลัน จะต้องนำส่งคนไข้ถึงมือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดังกล่าว ภายในระยะเวลา 4ชั่วโมง 30 นาที เพื่อรับยาขยายหลอดเลือดสมองให้ทันเวลา จากสถิติ ปัจจุบัน พบว่าคนไทย ป่วยด้วยโรคเส้นเลือดสมองเฉลี่ย 1.5 แสนคนต่อปี โดยคนกรุงเทพฯ จะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉลี่ยวันละ 50 คน

นายแพทย์ เกริกยศ เสริมว่า ขณะเดียวกันเครือข่ายโรงพยาบาลพญาไท1 พญาไท2 และเปาโล พหลโยธิน ยังเตรียมปรับโครงสร้างใหญ่ ในรูปแบบ 'พญาไท เมดิคอล แคมปัส' (Phyathai Medical Campus) หรือ PMC ชูนวัตกรรมศูนย์การรักษาของแต่ละโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลพญาไท1 จะเป็นผู้นำศูนย์สมองและประสาทวิทยา, ผู้สูงอายุ และมะเร็ง

ส่วนโรงพยาบาลพญาไท2 เป็นผู้นำศูนย์การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเกี่ยวกับเด็ก ส่งนโรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน เป็นผู้นำศูนย์การรักษาด้านศัลยกรรม, กระดูกและข้อ เป็นต้น

"การปรับโครงสร้างบริหารจัดการแบบ PMC ปีนี้อยู่ระหว่างเคลียร์คอนเซ็ปต์ ปีหน้ามุ่งบริหารจัดการแบบไฮบริด และปีต่อไปจะเริ่มดำเนินการได้ หรือน่าจะทำได้ใน3ปีจากนี้ และการมองเรื่องรายได้ จะแยกเป็นการเติบโตของศูนย์การรักษาในทุกสาขารวมกัน" นายแพทย์เกริกยศ กล่าว

สำหรับการดำเนินงานของโรงพยาบาลพญาไท1 ล่าสุด BDMS อนุมัติงบประมาณ สำหรับสร้างอาคารใหม่ ขนาด 17ชั้น เป็นศูนย์การรักษาด้านอายุรศาสตร์ประสาทวิทยาครบวงจรมาตรระดับโลกแบบครบวงจร สู่การเป็น State of the Art of Neurology หรือศูนย์การรักษาโรคทางด้านสมองและประสาทวิทยาที่มีคุณภาพระดับโลก

วางเป้าหมายก่อสร้างภายใน3ปี หลังจากเปิดให้บริการคาดว่าจะเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการได้เป็นเท่าตัว และเพิ่มจำนวนเตียงจาก 220เตียง เป็น 350 เตียง พร้อมทำให้รายได้รวมมีโอกาสกลับมาเติบโต2หลัก จากรายได้ปัจจุบันอยู่ในหลัก 3,000 กว่าล้านบาท ช่วง2-3ปีเติบโต1หลัก