posttoday

ค้าปลีก-ขนส่งปรับรับยุคดิจิทัล

12 กันยายน 2561

ซีบราฯ เผยธุรกิจค้าปลีก ผู้ผลิตและโลจิสติกส์ ต้องปรับตัวสนองตอบต่อความต้องการผู้บริโภคยุคดิจิทัล ชี้อี-คอมเมิร์ซตัวแปรสำคัญ

ซีบราฯ เผยธุรกิจค้าปลีก ผู้ผลิตและโลจิสติกส์ ต้องปรับตัวสนองตอบต่อความต้องการผู้บริโภคยุคดิจิทัล ชี้อี-คอมเมิร์ซตัวแปรสำคัญ

นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ซีบรา เทคโนโลยีส์ เปิดเผยว่า ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างมากในประเทศไทย โดยข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) รายงานว่าในปี 2563 ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 5,600 ล้านบาท ซึ่งจะสร้างการเปลี่ยนแปลงและโอกาสทางธุรกิจโดยเฉพาะในกลุ่มค้าปลีก ผู้ผลิตและขนส่งโลจิสติกส์

ทั้งนี้ จะเริ่มเห็นเทรนด์การปรับตัวมีการลงทุนเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมกันมากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและยังเป็นการลดคอร์สต้นทุน จากผลสำรวจของซีบราพบว่า ธุรกิจค้าปลีกจำเป็นต้องขยายศูนย์ฟูลฟิลล์เมนต์เซ็นเตอร์ให้มากขึ้น

"บริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น ของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ สิบปีต่อจากนี้ไปจะเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงของหลายภาคธุรกิจ โดยมองว่าธุรกิจที่จำเป็นต้องลงทุนอันดับแรกและมีมูลค่าสูง คือ ธุรกิจค้าปลีก" นายศิวัจน์ กล่าว

ด้านนายทาน อิ๊ก จิน ผู้จัดการธุรกิจ Vertical Solutions ซีบรา เทคโนโลยีส์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ความคาดหวังของผู้บริโภคจะเป็นแรงกดดันผู้ค้าปลีก ผู้ผลิต และบริษัทโลจิสติกส์ต้องร่วมมือและเปลี่ยนรูปแบบการจัดส่งสินค้าผ่าน Omni-Channel โดย 95% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิกเห็นว่า อี-คอมเมิร์ซเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการส่งมอบที่เร็วขึ้น

นอกจากนี้ สัดส่วน 67% ของ บริษัทโลจิสติกส์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2566 สามารถจัดส่งพัสดุถึงที่หมายภายในวันเดียว และ 55% คาดว่าในปี 2571 จะสามารถให้บริการจัดส่งพัสดุได้ถึงที่หมายภายใน 2 ชั่วโมง

สำหรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกคือ จะมีจำนวนผู้ค้าปลีกมากขึ้นและสามารถรองรับการคืนสินค้า โดยในปี 2266 สัดส่วน 99% ของร้านค้าปลีก มีแผนจะให้บริการแบบสั่งซื้อออนไลน์และรับของที่ร้านเพื่อให้การบริการฟูลฟิลล์เมนต์ ที่มีความคล่องตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ดี การรับและจัดการการคืนสินค้ายังคงเป็นเรื่องท้าทาย ซึ่งกระบวนการการรับคืนสินค้าในหลายธุรกิจยังมีข้อบกพร่อง ปัจจุบัน 58% ของธุรกิจค้าปลีกคิดค่าบริการเพิ่มกรณีคืนสินค้า และ 71% ไม่มีแผนที่จะเปลี่ยน

ขณะที่ 92% เห็นว่า เงินทุนคือความท้าทายหลักสำหรับการให้บริการแบบ Omni-Channel มีเพียง 42% ของซัพพลายเชนที่พร้อม ซึ่งขัดแย้งกับจำนวนผู้บริโภคกว่า 73% ใช้บริการซื้อสินค้าผ่านทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ และพบว่า 55% ขององค์กรยังคงทำงาน

PLUS แบบด้อยประสิทธิภาพ ขณะที่บริการ โลจิสติกส์มีแผนจะใช้คอมพิวเตอร์พกพาถึง 99% ในปี 2564 ในอนาคตซัพพลายเชนต้องมีโซลูชั่นที่เชื่อมโยง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการดำเนินธุรกิจ