posttoday

ห้ามนำเข้ามือถือจีน280รุ่นผลิตไม่ได้มาตรฐาน

14 พฤษภาคม 2555

กสทช.ประกาศห้ามนำเข้าโทรศัพท์จากประเทศจีน 280 รุ่น 28 ยี่ห้อ หลังพบว่าการผลิตไม่ได้มาตรฐาน บางรุ่นปลอมใบรับรอง

กสทช.ประกาศห้ามนำเข้าโทรศัพท์จากประเทศจีน 280 รุ่น 28 ยี่ห้อ หลังพบว่าการผลิตไม่ได้มาตรฐาน บางรุ่นปลอมใบรับรอง

นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม หรือ กสทช. เปิดเผยว่า ขณะนี้ กสทช.ได้มีประกาศห้ามนำเข้าโทรศัพท์มือถือที่ผลิตจากประเทศจีน ที่ขายในไทยตั้งแต่ปี2552-2554 รวม 280 รุ่น 28 ยี่ห้อ จากที่กสทช. ตรวจสอบคุณภาพทั้งหมดรวม 400 รุ่น

ทั้งนี้ เนื่องจากพบว่าแม้บางรุ่นจะมีใบรับรองจากประเทศจีน แต่เมื่อกสทช.ตรวจสอบกลับไปยังห้องปฎิบัติ การทดสอบที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน กลับมีการปลอมแปลงใบรับรอง และบางรุ่นมีการแก้ไขเนื้อหาในใบรับรองมาตรฐาน ซึ่งมีความผิดตามประกาศของกสทช. เรื่องการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ ซึ่งได้แจ้งให้บริษัทนำเข้า สั่งหยุดจำหน่ายแล้ว

สำหรับเครื่องที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง สามารถสังเกตได้จากสัญญลักษณ์ของกสทชแบบนี้ที่แปะติดไว้ที่เครื่อง หรือกล่องโทรศัพท์ หรือ สัญญลักษณ์ที่มีคำว่า"ซีที"ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ด้านหลังของเครื่อง

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการ 3 จี กล่าวว่า การประชุมคณะอนุกรรมการวันที่ 15 พ.ค. นี้จะพิจารณาเรื่องวิธีการประมูลใบอนุญาตให้บริการ หรือ ไลเซ่นส์ 3 จี ว่าจะใช้แบบใด ซึ่งแนวทางที่เป็นไปได้และน่าสนใจ คือ การประมูลแบบแพคเกจ (Package Clock Auction) โดยผู้ประมูลสามารถยื่นราคาประมูลของแต่ละแพคเกจและสามารถยื่นประมูลกี่แพคเกจก็ได้ ซึ่งประเทศที่ใช้การออกแบบประมูลวิธีนี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป

นายพัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญและให้คำแนะนำการออกแบบการประมูล บริษัทแครมตัน แอสโซซิเอท ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การประมูลแบบ 9 ใบของกสทช.ทำให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และช่วยกระตุ้นการร่วมประมูลจากผู้เล่นรายใหม่ๆ แต่มีข้อเสียคือ มีความซับซ้อนทั้งการออกแบบและการนำไปปฏิบัติ

อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการประมูลคลื่นความถี่ คือ เพื่อการแข่งขันในตลาด สร้างประสิทธิภาพในการจัดสรร และนำรายได้ในการประมูลเข้ารัฐ ซึ่งวัตถุประสงค์ในการสร้างประสิทธิภาพในการจัดสรรจะสอดคล้องกับรายได้ในการประมูลเข้ารัฐ ทว่า ก็มีบางประเทศที่ยอมลดเรื่องประสิทธิภาพในการจัดสรรเพื่อนำรายได้เข้ารัฐให้มาก