posttoday

สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุสาวก อย่างไร...จึงจะเป็นมงคลและถูกต้อง (ตอน ๔)

08 กุมภาพันธ์ 2554

ปุจฉา กราบนมัสการหลวงพ่ออารยะวังโส

ปุจฉา กราบนมัสการหลวงพ่ออารยะวังโส

โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส

ปุจฉา กราบนมัสการหลวงพ่ออารยะวังโส

ด้วยคณะศรัทธาฯ ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า ได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระอริยสงฆ์ ดังเช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่แหวน ฯลฯ ณ ลานอเนกประสงค์ สถาบันพระปกเกล้า เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้มีโอกาสเดินทางไปสักการบูชา เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๙ ก.พ. ๒๕๕๔ เนื่องในกาลมาฆบูชา อันเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาของเรา โดยเมื่อครบกำหนด ๙ วันแล้ว คณะกรรมการจัดงานมาฆบูชาโลก ที่ประเทศอินเดีย จะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ไปสู่ชมพูทวีป หรือประเทศอินเดีย เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวพุทธนานาชาติได้มีโอกาสสักการบูชา เนื่องในเทศกาลมาฆบูชาดังกล่าว

เพื่อให้การสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุเป็นไปอย่างถูกต้อง ตามระเบียบแบบแผนในพระพุทธศาสนา คณะศรัทธาจึงได้ขอความรู้จากหลวงพ่อถึงแนวการปฏิบัติ และบทสวดบูชา (หากมีเป็นเฉพาะ) และขอความกรุณาช่วยประชาสัมพันธ์แจ้งให้ทราบผ่าน “ธรรมส่องโลก” ด้วย

ด้วยความเคารพอย่างสูง

พัลลภา/กรุงเทพฯ

วิสัชนา : สำหรับบทสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระธาตุอริยสงฆ์นั้น ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกไปจากธรรมเนียมของการสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยตามปกติ โดยมีการถือปฏิบัติกันในเบื้องต้นดังนี้ คือ

๑.บูชาด้วยเครื่องสักการบูชา อันได้แก่ ดอกไม้ ธูปเทียน และของหอม ที่เรียกว่า อามิสบูชา

๒.กราบสักการบูชาให้ถูกต้อง และกล่าวสวดบูชาสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ที่เรียกว่า สวดอิติปิโสธงชัย และสามารถสวดบทพาหุงฯ ๘ จบ ที่เรียกว่า บทสวดชัยมงคลคาถา ต่อเนื่องจนจบก็ได้

๓.สวดสักการบูชา พระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ

๔.จบแล้ว กระทำการสักการบูชา ขอขมาพระรัตนตรัย ด้วยบทสวดขอขมากรรม

๕.แผ่เมตตาและอุทิศบุญกุศล แด่สรรพสัตว์ทั้งหลายน้อยใหญ่ เป็นอันเสร็จพิธี

ในสรุปท้ายวิสัชนาครั้งนี้ จึงขอนำตัวอย่างบทสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระธาตุสาวกแด่สาธุชน เพื่อจะได้นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุฯ

๑.นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ(๓ จบ)

๒.สวดบทอิติปิโสธงชัย

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

๓.สวดคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

อะหัง วันทามิ ธาตุโย

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุทั้งหลาย ที่สถิตอยู่ในจักรวาลทั้งหลาย ทั้งพรหมโลกและดาวดึงส์ ตลอดจนถึงในนครบาดาลของเหล่านาคราช

อะหัง วันทามิ สัพพะโส

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธาตุของพระอริยสงฆ์เจ้า

ผู้ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เอวัง ธาตุโย จัตตารีสะ สะมาทันตาเกสา โลมา นะขา ขีจะ อะหัง วันทามิ ธาตุโย อิติปิโส วิเสเสอิอิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิอะหัง วันทามิ สารีกะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส

อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้