posttoday

บันทึกความทรงจำ ‘ณ เส้นขอบฟ้า สามีภรรยา’

24 มกราคม 2554

เรื่องราวของคู่สามีภรรยา “พระยาสุรพันธเสนี” (อิ้น บุนนาค) กับ “คุณหญิงสุรพันธเสนี” (นิ่ง บุนนาค) ที่ไม่ได้เป็นเพียงอัตชีวประวัติ ไม่ใช่ (มุมมอง) เรื่องความรักระหว่างคนสองคนเท่านั้น ทว่าทุกบททุกตอนที่ได้ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือชื่อว่า “ณ เส้นขอบฟ้า สามีภรรยา” กินความหมายลึกซึ้งมากไปกว่านั้น เพราะ 2 ชีวิตได้ผ่านเรื่องราวสุขทุกข์ยากมาถึง 5 แผ่นดิน มิหนำซ้ำยังเจอวิบากกรรมการเมืองระหว่างปี 2476-2488 อีก หากจะนับเป็นหนังสือที่บันทึกอีกหนึ่งเสี้ยวของประวัติศาสตร์ก็ว่าได้

เรื่องราวของคู่สามีภรรยา “พระยาสุรพันธเสนี” (อิ้น บุนนาค) กับ “คุณหญิงสุรพันธเสนี” (นิ่ง บุนนาค) ที่ไม่ได้เป็นเพียงอัตชีวประวัติ ไม่ใช่ (มุมมอง) เรื่องความรักระหว่างคนสองคนเท่านั้น ทว่าทุกบททุกตอนที่ได้ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือชื่อว่า “ณ เส้นขอบฟ้า สามีภรรยา” กินความหมายลึกซึ้งมากไปกว่านั้น เพราะ 2 ชีวิตได้ผ่านเรื่องราวสุขทุกข์ยากมาถึง 5 แผ่นดิน มิหนำซ้ำยังเจอวิบากกรรมการเมืองระหว่างปี 2476-2488 อีก หากจะนับเป็นหนังสือที่บันทึกอีกหนึ่งเสี้ยวของประวัติศาสตร์ก็ว่าได้

โดย... มัลลิกา

 

บันทึกความทรงจำ ‘ณ เส้นขอบฟ้า สามีภรรยา’

เรื่องราวของคู่สามีภรรยา “พระยาสุรพันธเสนี” (อิ้น บุนนาค) กับ “คุณหญิงสุรพันธเสนี” (นิ่ง บุนนาค) ที่ไม่ได้เป็นเพียงอัตชีวประวัติ ไม่ใช่ (มุมมอง) เรื่องความรักระหว่างคนสองคนเท่านั้น ทว่าทุกบททุกตอนที่ได้ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือชื่อว่า “ณ เส้นขอบฟ้า สามีภรรยา” กินความหมายลึกซึ้งมากไปกว่านั้น เพราะ 2 ชีวิตได้ผ่านเรื่องราวสุขทุกข์ยากมาถึง 5 แผ่นดิน มิหนำซ้ำยังเจอวิบากกรรมการเมืองระหว่างปี 2476-2488 อีก หากจะนับเป็นหนังสือที่บันทึกอีกหนึ่งเสี้ยวของประวัติศาสตร์ก็ว่าได้

ณ เส้นขอบฟ้า สามีภรรยา แบ่งเป็น 2 ส่วน แยกปกหน้าหลัง ด้านหนึ่งเป็นเรื่องราวของพระยาสุรพันธเสนี ผู้ประสบวิบัติภัยทางการเมืองอย่างแสนสาหัส ได้ชื่อว่าเป็นกบฏในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี โดยรวบรวมเนื้อหาจากหนังสือเรื่องสามี บันทึกความทรงจำในอดีตของของพันเอกพระยาสุรพันธเสนี เพื่อใช้เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของตัวท่าน ซึ่ง “มนัส จรรยงค์” ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ ส่วนปกอีกด้าน เป็นเรื่องราวของ “คุณหญิงสุรพันธเสนี” หญิงแกร่งผู้จงรักภักดีต่อประเทศชาติและสามีอันเป็นที่รักจนหมดลมหายใจ ซึ่งหลานสาว “นวลศิริ ไวทยานุวัตติ” เขียนเรียบเรียงขึ้นจากบันทึกและการสนทนากับคุณยาย

“คุณยายเป็นคนชอบเล่า” หลานสาวผู้ปลุกเรื่องราวของคุณยายในครั้งอดีตให้กลับมาโลดแล่นในปัจจุบันกาลกล่าวด้วยน้ำเสียงสดใส ก่อนที่จะพรั่งพรูเรื่องราวที่คุณยายเล่าให้ฟังเสมือนเพิ่งได้รับฟังมาใหม่สด “ฉากที่คุณยายเล่าบ่อยมากที่สุดมี 2 ฉาก คือ ฉากแต่งงานวันที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปราชบุรี คุณยายบอกว่า ถึงสถานีไหนก็ร้องไห้ทุกสถานี (เพราะแต่งงานแบบคลุมถุงชน) แต่คุณยายก็เก่งมากในงานเวลาเห็นแขกจะเช็ดน้ำตาสวัสดี คุณยายบอกว่า ก็เป็นหน้าที่ฉันต้องทำให้ดีให้สมกับที่เสด็จเลี้ยงฉันมา อีกเรื่องตอนที่เดินทางไปหาคุณตาที่คุก นั่งเรือหลายชั่วโมง ผู้หญิงคนหนึ่งต้องทำกิจวัตรอย่างนี้ประจำเดือน เดือนละ 2 ครั้ง คุณตาอยู่คุก 6 ปีเต็ม คุณยายไม่เคยขาดในการไปเยี่ยมคุณตา”

จากบันทึกของคุณหญิงสุรพันธเสนีที่มอบให้หลานสาวเมื่อ 5 ปีที่แล้วก่อนเสียชีวิต (2552) ผนวกกับด้วยแรงแห่งรักและความกตัญญู ไม่อยากให้ความทรงจำที่แสนดีสูญหายไปพร้อมกับวันเวลาที่ล่วงเลย นวลศิริจึงตั้งใจที่จะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับคุณยายเพราะในใจก็มีความรู้สึกว่าคุณยายเองคงอยากให้เรื่องราวของท่านได้ถูกบันทึกถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง

บันทึกความทรงจำ ‘ณ เส้นขอบฟ้า สามีภรรยา’

“เวลาคุณยายเล่าจะเอาเทปไปบันทึกเสียงไว้แต่ต้องซ่อน เพราะถ้าคุณยายเห็นจะไม่ยอมพูด ตอนที่เอาข้อมูลมาพิมพ์ก็ยังไม่รู้จะจัดการกับมันยังไง พอคุณยายเสียปุ๊บก็น่าจะเป็นเรื่องของความคิดถึง จากคนที่เคยอยู่ด้วยกันทุกวัน พอคุณยายไม่อยู่ เราก็เอารูปเก่าๆ มานั่งดู แล้วก็รู้สึกคิดถึงอย่างมาก จึงค่อยๆ เขียนจากบันทึกของคุณยายทุกเช้าวันเสาร์และอาทิตย์ เขียนไปเรื่อยๆ เหมือนกับบันทึกความทรงจำเสียมากกว่า”

 

อุปสรรคของนวลศิริ คือ ความไม่สันทัดในการเขียน (เรื่อง) ภาษาไทยและไม่ได้อ่านหนังสือภาษาไทย เมื่อต้องมาเขียนหนังสือภาษาไทยจึงต้องหาความรู้เพิ่มเติม เริ่มด้วยการอ่านซึ่งช่วยสามารถเปิดโลกทัศน์ให้เธอ อีกทั้งยังรู้สึกซาบซึ้งกับความงามของภาษาไทยที่ให้ความหมายลึกซึ้งกินใจ

“แต่ก่อนเขียนแต่ภาษาอังกฤษ พอมาเขียนเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราก็เริ่มเอาหนังสือของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มาอ่านภาษาไทย รู้สึกว่าภาษาไทยสวยงาม แล้วก็เสียดายที่มัวแต่ไปดัดจริตอ่านหนังสือภาษาฝรั่งตลอด เพราะคิดว่าอ่านภาษาอังกฤษน่าจะได้อะไรมากกว่า ตอนนี้ก็อ่านหนังสือภาษาไทย อิ่มใจมาก ตอนเขียนไม่เคยรู้สึกท้อแต่จะมีนึกในใจว่าจะเขียนรู้เรื่องไหมมากกว่า ในหนังสือจะไม่มีการบิดเบือนใดๆ เลย เป็นความจริง ตอนเขียนที่ยากที่สุดก็คือคิดออกมาให้เป็นภาพ ก็เอาหนังสือบันทึกของคุณยายและของคุณแม่มาดูประกอบ พยายามที่จะให้เรื่องราวต่อเนื่องโดยการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ช่วงรัชกาลที่ 7 พยามที่จะเอามากรองแล้วก็กลั่นออกมาจากสมอง เอามาร้อยให้เป็นเรื่องจริงมากที่สุด”

ณ ตอนนี้เรื่องราวของสามีภรรยา “พระยาสุรพันธเสนี” กับ “คุณหญิงสุรพันธเสนี” ไม่ได้เป็นเพียงแค่อัตชีวประวัติให้ลูกหลานได้จดจำสืบรุ่นต่อรุ่นเท่านั้น ทว่าในบางแง่บางมุมของชีวิต ของเหตุการณ์ สถานที่ ส่งผลให้เห็นภาพของประวัติศาสตร์ ณ ช่วงเวลานั้นๆ ที่คนไทยเองก็ควรจดจำ