posttoday

Smart Life: How to การเป็นผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน

16 พฤศจิกายน 2566

Sustainable Ageing - ผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน และ Successful Ageing - ผู้สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ ต้องมีองค์ประกอบอะไร ก่อนที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีกไม่นาน…

คำว่าแก่ พูดเบาๆ ก็เจ็บ ยิ่งด้วยปัจจุบันนี้ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีกไม่นานนี้ กล่าวคือประเทศไทยจะมีสัดส่วนของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มากกว่าร้อยละ 20 ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ หรือพูดง่ายๆว่า ในจำนวนผู้คนที่เดินผ่านไป ผ่านมาบนท้องถนน ทุกๆ 5 คน จะมีผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี อยู่ 1 คน ให้เห็น ซึ่งสัดส่วนของผู้สูงวัยนี้ ก็เป็นอันดับต้นๆ ไม่แพ้ชาติใดในโลก ในภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยเป็นรองก็แค่ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เท่านั้นเอง

 

Smart Life: How to การเป็นผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน

 

Successful Ageing แปลเป็นไทยได้ว่า ผู้สูงวัยอย่างประสบความสำเร็จ แปลดูแล้วเขินๆ ขอใช้เป็นคำภาษาอังกฤษดีกว่า Successful Ageing ได้ยินครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1961 แต่ก็ยังไม่มีให้นิยามหรือความหมายที่ชัดเจน จนมาถึงปี ค.ศ. 1987 ในหนังสือที่เขียนโดยนักเขียน 2 ท่าน ท่านหนึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ และอีกท่านหนึ่งเป็นคุณหมอ ซึ่งได้ให้นิยามไว้ว่า Successful Ageing ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การไม่เจ็บไม่ป่วย การรับรู้และการมีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรง และการมีคุณค่าในสังคม

 

จากการแพร่ระบาดของโรค COVID 19 แสดงให้เป็นว่า บริบทของคำว่า Successful Ageing ได้เปลี่ยนไปสถานการณ์ของโลกเราได้เปลี่ยนแปลงไปมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี Successful Ageing คงจะไม่เพียงพอ มีงานวิจัยที่มาต่อยอดความเป็น Successful Ageing ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จึงได้ออกมาเป็นโมเดลของ Sustainable Ageing หรือเป็นภาษาไทยว่า ผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน

(ฉันฑิต สว่างเนตร, 2021)


Sustainable Ageing / ผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน

Sustainable Ageing หรือผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย การไม่เจ็บไม่ป่วย การมีสมรรถภาพร่างการที่แข็งแรง การมีคุณค่าในสังคม การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การรู้เทคโนโลยี และการมีชุมชุนแบบตั้งรับ เห็นได้ว่า การเป็นผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนนั้น ต้องมีปฏิสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมมากขึ้น นับเป็นเหมือนอีกหนึ่งกุศโลบาย ให้ผู้สูงวัยได้ตื่นรู้ ตั้งรับ และเตรียมพร้อมตลอดเวลา 

 

ส่งผลให้เป็นที่น่าสังเกตุ และน่าสนใจว่า ผู้สูงวัยทุกวันนี้ มีความเฟียสขึ้น แฟชั่นผมสีเงินเงา ริ้วรอยที่บอกถึงประสบการณ์ รูปร่างสมส่วน มีรายได้ต่อเนื่อง ทีไม่ได้รอแต่เบี้ยผู้สูงอายุ ไม่แก่อย่างกะโหลกกะลา นับว่าเป็นสัญญาณที่ดี นำไปสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน

 

ดร ฉันฑิต สว่างเนตร

Smart Life: How to การเป็นผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน