posttoday

รู้จักธนาคารผิวหนัง เมื่อประเทศไทยเข้าขั้นขาดแคลนผิวหนังสำรอง

29 ตุลาคม 2566

ผิวหนังสำรอง สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยจากเหตุการณ์ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ให้รอดจากการเสียชีวิตได้ในอัตราที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามในธนาคารผิวหนังของสภากาชาดไทยขณะนี้ อยู่ในสภาวะขาดแคลนผิวหนังสำรอง จนไม่สามารถส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลอื่นๆ ที่ต้องการอย่างทันท่วงที!

เมื่อพูดถึงธนาคารผิวหนัง หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก และคงสงสัยว่ามีขึ้นเพื่อสิ่งใด?

 

 'โครงการสกินส์ ฟอร์ สกิน' ซึ่งเป็นโครงการเดินทางสานต่อภารกิจทำสิ่งดีๆ จากยูนิลิเวอร์ จับมือกับ สภากาชาดไทย และเซเว่น อีเลฟเว่น จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการบริจาคผิวหนังเพื่อต่อลมหายใจให้เพื่อนมนุษย์ เนื่องจากธนาคารผิวหนังของสภากาดชาดไทยอยู่ในสภาวะขาดแคลนผิวหนังสำรอง จนบางครั้งไม่สามารถส่งมอบผิวหนังสำรองให้แก่โรงพยาบาลอื่นๆ ที่ต้องการได้อย่างทันท่วงที

 

รู้จักธนาคารผิวหนัง เมื่อประเทศไทยเข้าขั้นขาดแคลนผิวหนังสำรอง

 

ความสำคัญของ 'ธนาคารผิวหนัง' 

 

รศ.นพ.สุภนิติ์ นิวาตวงศ์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ได้อธิบายและให้ความรู้ถึงความสำคัญของ 'ธนาคารผิวหนัง' ไว้อย่างน่าสนใจว่า

' ผิวหนังถือว่าเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมาก นอกจากจะเป็นอวัยวะที่ทำให้มนุษย์สามารถสัมผัสสิ่งต่างๆ และเกิดความรู้สึกได้แล้ว ยังสามารถป้องกันอวัยวะภายในร่างกายไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จนเกิดภาวะเจ็บป่วย นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่ให้ร้อนหรือหนาวจนเกินไป  ควบคุมความชื้น และการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายอีกด้วย'

ทั้งนี้ เมื่อผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวกขั้นรุนแรง ก็สามารถติดเชื้อ สูญเสียน้ำ เกลือแร่ จากร่างกายของผู้ป่วยได้ ทำให้เกิดความพิการ ทางร่างกาย และเสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้  ... ธนาคารผิวหนัง (skin bank) จึงกำเนิดขึ้นเกิดขึ้น เพื่อมุ่งนำผิวหนังไปใช้รักษาแผลผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวกขั้นรุนแรงในระดับที่ 2 และระดับที่ 3 

 

รศ.นพ.สุภนิติ์ นิวาตวงศ์ รองผู้อำนวยการ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

 

นายแพทย์สุภนิติ์ ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า ผิวหนังไหม้ส่วนใหญ่นั้น จะมีไฟไหม้เป็นสาเหตุหลัก รองลงมาคืออาการของ น้ำร้อนลวก ที่รวมถึงการลวกจากน้ำมันด้วย และอีกปัจจัยหนึ่งของผิวหนังไหม้คืออาการไฟดูด ไฟช็อต ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บอันตราย รวมไปถึงการสัมผัสสารเคมีบางอย่าง ก็สามารถทำให้เกิดแผลได้เช่นกัน รวมไปถึงอนาคตอาจจะต้องไปถึงเรื่องของการรับรังสี ที่อาจจะทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังได้ด้วย  .. โดยส่วนใหญ่การเกิดเหตุดังกล่าวไม่เป็นข่าวดัง เพราะเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในบ้านและที่พักอาศัย หากไม่ใช่เหตุไฟไหม้ตามสถานบันเทิง โรงงานใหญ่ๆ .. แต่แท้ที่จริงแล้วมีอุบัติเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากและสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายด้วย

 

ความรุนแรงและการรักษา

 

ความรุนแรงของผิวไหม้นั้นส่งผลต่อการรักษาโดยตรง โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับที่ 1 คือระดับชั้นหนังกำพร้า โดยปกติร่างกายจะสามารถทำให้หลุดลอกออกมาได้ตามปกติ และมีการรักษาตามอาการ สามารถหายได้ภายในเวลาไม่กี่วัน
  • ระดับที่ 2 คือ ระดับที่ทะลุเข้าไปในชั้นหนังแท้ โดยสามารถสังเกตได้ว่าจะมีถุงน้ำขึ้นมาบนผิวหนัง ระยะนี้หากรักษาได้ดีจะไม่ติดเชื้อและสามารถหายได้ภายในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ และไม่มีแผลเป็น แต่ถ้าหากติดเชื้อก็จะต้องเพิ่มวิธีการรักษามากขึ้น
  • ระดับที่ 3 เป็นระดับที่มีความรุนแรง ต้องรักษาด้วยการปะผิวหนัง หรือการปลูกถ่ายผิวหนัง โดยจะต้องใช้เวลาในการรักษาจนกระทั่งผิวหนังบริเวณดังกล่าวงอกขึ้นมาใหม่ และคอยระวังไม่ให้ติดเชื้อ หรือหากผิวหนังบริเวณนั้นไม่มีเซลล์ที่จะสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้แล้ว ก็จะเป็นการนำผิวหนังส่วนอื่นของผู้ป่วยมาปลูกถ่ายใหม่ทดแทน

 

ผิวหนังสำรอง ใช้งานอย่างไร?

ธนาคารผิวหนัง นั้นจะมุ่งไปที่การรักษาความรุนแรงของผิวหนังไหม้ในระดับที่ 2 และ 3  โดยเฉพาะในระดับที่ 3 ซึ่งจะพบกรณีที่ว่า เกิดการไหม้ที่ไม่สามารถงอกเองขึ้นมาได้ และต้องนำผิวหนังส่วนอื่นของผู้ป่วยมาปลูกถ่ายใหม่

นายแพทย์สุภนิติ์ กล่าวว่า ให้ลองนึกภาพว่าหากมีผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้เป็นบริเวณกว้างมากเกิน 50% ของร่างกาย ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานจากบาดแผลมากแล้ว หากต้องตัดผิวหนังบริเวณอื่นเพิ่มเติมก็จะทำให้ผู้ป่วยทรมาน และไม่สามารถรับไหวในช่วงเวลาดังกล่าว จึงต้องมีการ  สำหรับผิวหนังสำรองนั้นจะไม่ถูกนำมาใช้ในลักษณะของการปลูกถ่ายแทน เพราะร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาไม่ยอมรับ แต่ก็มีประโยชน์เพราะสามารถนำมาปะแผลและมีอายุใช้งานได้ 7-10 วัน นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือไม่ต้องทำแผล ลดการเจ็บปวด และการติดเชื้อ เพราะเป็นวัสดุปิดแผลชั้นดี และสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้สูงมาก 

 

รู้จักธนาคารผิวหนัง เมื่อประเทศไทยเข้าขั้นขาดแคลนผิวหนังสำรอง

 

วิธีการบริจาค 

การบริจาคนั้นใช้ได้ในกรณีของการบริจาคอวัยวะ (กรณีการบริจาคร่างกาย จะมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ศึกษาทางการแพทย์ ไม่สามารถใช้ได้ในกรณีดังกล่าว ) โดยสามารถแสดงเจตจำนงได้ เมื่อผู้แสดงเจตจำนงเสียชีวิต ก็จะมีการประเมินว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ มีการตรวจสอบก่อนการปลูกถ่าย  โดยสามารถบริจาคผ่านศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย หรือหากอยากจะศึกษาข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเรื่องราวเกี่ยวกับการบริจาคผิวหนังอย่างครบถ้วน สามารถสแกน QR Code บนบรรจุภัณฑ์ 'วาสลีน ปิโตรเลียม เจลลี่ ลิมิเต็ด อิดิชัน' ซึ่งวางจำหน่ายแล้วที่เซเว่น อีเลฟเว่นทุกสาขาทั่วประเทศ  หรือเข้าไปที่ www.vaseline-skinsforskin.com ก่อนจะมีลิ้งก์ให้ผู้ที่สนใจสามารถคลิกเข้าไปลงทะเบียนแสดงความจำนงเป็นผู้บริจาคได้ด้วย นอกจากนี้ทุกการซื้อหนึ่งกระปุกวาสลีนจะร่วมบริจาค 1 บาทสมทบทุนให้สภากาชาดไทย ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 23 มกราคม 2567 

 

รู้จักธนาคารผิวหนัง เมื่อประเทศไทยเข้าขั้นขาดแคลนผิวหนังสำรอง