posttoday

พม.เผยผ่าน เวที Equity for All สมรสเท่าเทียมในไทยเกิดแน่

25 สิงหาคม 2566

อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ แรมรุ้ง วรวัธ เผยผ่านเวที Equity for All เพราะทุกคนเท่ากัน พม.ทำทุกทางมุ่งสร้างความเสมอภาคทางเพศสภาพของคนไทยทุกกลุ่ม คาดสมรสเท่าเทียมจะได้รับการรับรองในเร็วๆนี้ จากการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน

เมื่อวันที่ 25สิงหาคม 2566 นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวในงาน Equity for All เพราะทุกคนเท่ากัน ช่วงปาฐกถาพิเศษ : ความหลากหลายและเท่าเทียมในสังคมยุคใหม่ ณ โรงภาพยนตร์ที่ 6 พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งจัดโดยโพสต์ทูเดย์และเครือเนชั่นกรุ๊ป ว่า ขอชื่นชมในความร่วมมือทุกภาคส่วนที่มุ่งมั่นตั้งใจในการสร้างสรรค์สังคมที่ปลอดภัยและโอบล้อมไปด้วยความรักความเข้าใจถึงความหลากหลายในการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความเสมอภาค 

ในฐานะที่เป็นตัวแทนของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  พม.ให้สำคัญ เคารพในคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งมีสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกันไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีเชื้อชาติใด สีผิวแบบไหน เพศอะไร ใช้ภาษาใด นับถือศาสนาใด รวมถึงความเชื่อทางการเมืองที่ไม่หมือนกัน รวมถึงสถานภาพอื่นๆที่ติดตัวมา ไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ที่พึงกลุ่มชาติพันธุ์ หรือผู้ที่มีความหลากหลายในสถานะทั้งหลาย ที่อยู่ในประเทศไทยและในโลกนี้ ท่ามกลางสังคมปัจจุบัน ที่มีทั้งความหลายหลายและความเคลื่อนไหว และความเห็นที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามทั้งหมดก็เพื่อผลักดันให้สังคม เต็มไปด้วยความเสมอภาค ในทุกมิติ

โอกาสที่เท่าเทียม

ภายใต้วิสัยทัศน์ของกระทรวงพม. ประชาชนทุกคนจะต้องได้เข้าถึงโอกาส การคุ้มครองทางสังคมและมีความมั่นคงในชีวิต โดยเฉพาะการส่งเสริมความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ความมุ่งมั่นทำให้สังคมไทยตระหนักถึงความเท่าเทียม ของบุคคลทุกเพศ ให้สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา สุขภาพ การประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น

จากรายงานการศึกษาและประเมินความก้าวหน้า การขับเคลื่อน SDG (เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน)ของแต่ละประเทศ พร้อมกับการจัดอันดับ SCG INDEX 2023 พบว่าไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 44 จากทั้งหมด 163 ประเทศ เมื่อเทียบกับในระดับภูมิภาคเอเซีย ประเทศไทย เป็นลำดับที่3 รองจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยประเทศไทยเป็นลำดับที่1ของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และรั้งอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนมาตั้งแต่ปี2562 จนถึงปัจจุบัน 

การไม่ถูกเลือกปฎิบัติ

กระทรวงพม.ให้ความสำคัญ ต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง การขับเคลื่อนทำทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมบทบาทของสตรี และความเท่าทเทียมระหว่างเพศ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฎิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ และดำเนินการตามพ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 มุ่งเน้นการคุ้มครองผู้ที่ถูกเลือกปฎิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ป้องกันไม่ใหเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม กำหนดนิยามกระทำหรือไม่กระทำการกีดกัน ไม่ว่างทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม จากบุคคลที่มีการแสดงออกจากเพศโดยกำเนิด 

อีกตัวอย่างคือ ประเทศของเรามีการทบทวนกฎหมายซึ่งมีเนื้อหาเลือกปฎิบัติซึ่งไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ รวมถึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ ต้องมีการศึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่อไป

สมรสเท่าเทียมในไทยเกิด

อีกประการหนึ่ง การจัดทำกฎหมายเพื่อรับรองเพศ เพราะการที่เราไม่มีการเปิดกว้าง ให้ใช้คำนำหน้านาม ในเอกสารราชการที่ไม่ตรงกับเพศสภาพ เป็นการกระทบต่อชีวิตต่อกลุ่ม  LGBTQ+  อย่างมาก รวมถึงปัญหาการเข้ารับบริการทางการแพทย์ ทั้งภาครัฐและเอกชน การสมรส การรับรองเพศสภาพ เป็นต้น ซึ่งกระทรวงพม.กำลังรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องซึ่งมั่นใจว่าต้องได้รับรองโดยเร็ว

หนุนแต่งกายตามเพศสภาพ

นอกจากนั้น กระทรวงพม.ยังได้มีการประกาศเจตนารมย์ เรื่องการส่งเสริมความความเสมอภาค ไม่เลือกปฎิบัติ ความไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ร่วมกับอีก63หน่วยงานทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาและพรรคการเมืองทั้งหมดแสดงจุดยืนเป็นพลังขับเคลื่อน สังคมแห่งความเท่าเทียมระหว่างเพศ ยกตัวเช่นการแต่งกายตามสภาวะเพศสภาพของบุคคล เป็นต้น 

"ผู้บริหารกระทรวงพม.มีนโยบาย ชัดเจนว่า ถ้าเราเลือกแล้วว่าจะเป็นเพศใดให้ข้าราชการและบุคคลากรทุกคนสามารถแต่งกาย ได้ตามเพศที่เราเลือก เพื่อสร้างความมั่นใจในตัวตนของบุคคลนั้นๆซึ่งจะมีความสุขและมีประสิทธิภาพในการทำงาน" 

ไม่ยำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 

อีกเรื่องที่สำคัญซึ่งกระทรวงพม.ให้ความสำคัญคือการระมัดระวังไม่ใช้ภาษา ไม่เผยแพร่ถ้อยคำ กริยาที่ไม่เหมาะสม ส่อไปในทางเสียดสี ลดคุณค่า บูลลี่ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกอัตลักษณ์ทางเพศ หรือเพศสภาพตามภาวะของแต่ละบุคคล รวมถึงการ ป้องกันการคุกคามทางการเพศ ในสถานที่ทำงานด้วย 

สิทธิรับบริการเท่าเทียม

นอกจากนี้ กระทรวงพม.ได้ผลักดันสวัสดิการที่เอื้อต่อการทำงาน พัฒนาความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะซึ่งได้มีการนำเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11ม.ค.65 อาทิการส่งเสริมให้สามีที่เป็นข้าราชการ ลาเลี้ยงดูลูกภรรยาหลังลาคลอด การขยายวันลาคลอดที่มารดาอยู่ในสถานประกอบการให้ได้รับค่าจ้าง

การขยายบริการศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ลดอายุของเด็กที่รับดูแลตั้งแต่ช่วง 0-3ปี ขยายบริการดูแลเด็กจากช่วงเวลากลางวันเป็นช่วงเวลากลางคืน การส่งเสริมความเท่าเทียม เร่งการสร้างการรับรู้ของสังคมเข้าถึงสิทธิประโยชน์ การขจัดการเลือกปฎิบัติ คนอยากดี มีจน หรือจะอยู่ในอาชีพใด  ต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อเข้าถึงสิทธิอย่างแท้จริง