posttoday

ดาบสองคม กับความเข้าใจผิดของ "นิโคติน"

29 มิถุนายน 2566

6 เหตุผลที่จะทำให้คุณเข้าใจ "นิโคติน" ใหม่ "แม้ว่านิโคตินจะเป็นสารเสพติดในบุหรี่ แต่ตัวนิโคตินเองก็ค่อนข้างไม่เป็นอันตราย เพราะความอันตรายเกือบทั้งหมดของการสูบบุหรี่นั้น มาจากสารเคมีหลายพันชนิดในควันบุหรี่ ซึ่งส่วนมากมักเป็นพิษต่อร่างกาย"

          แม้สถานการณ์การระบาดของโควิดจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ทั่วโลกก็ยังคงเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าทุกประเทศได้เข้าถึงจุดสิ้นสุดของวิกฤตโรคระบาดอย่างแท้จริง...ประชาการโลกจะปลอดภัย ความท้าทายด้านสาธารณสุขทั่วโลกจะคลี่คลายลง

          แต่สถานการณ์ด้านสาธารณสุขที่ยังคงเป็นปัญหามาอย่างต่อเนื่อง คือปัญหาจากการสูบบุหรี่ ที่ทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยต่างพยายามหาวิธีแก้ไขกันมาตลอดหลายทศวรรษ

ดาบสองคม กับความเข้าใจผิดของ \"นิโคติน\"

          ซึ่งดูเหมือนว่าในกลุ่มประเทศที่สนับสนุนและยอมรับนโยบายด้านการลดอันตรายจากยาสูบ จะมีข่าวที่น่ายินดี เพราะพบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในประเทศลดลงอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักรที่ระดับการสูบบุหรี่ลดลงร้อยละ 25 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่บุหรี่ไฟฟ้าเริ่มกลายเป็นที่นิยม ในขณะที่ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา จำนวนยอดขายบุหรี่ในประเทศญี่ปุ่นลดลงถึง 34 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ยอดขายผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่มีอันตรายน้อยกว่า เช่น ผลิตภัณฑ์ชนิดไม่เผาไหม้หรือ heat-not-burn เพิ่มขึ้นเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2562

          ตัวเลขเหล่านี้เป็นสิ่งที่ชี้ได้ว่า ผู้ที่ต้องการนิโคตินก็จะยังคงใช้นิโคตินต่อไป แต่อาจจะหาทางเลือกที่เป็นอันตรายน้อยกว่ามาทดแทนการสูบบุหรี่

          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตัวเลขเหล่านี้จะดูเป็นเรื่องที่ดีและถือเป็นความสำเร็จของผู้บริโภค แต่ในสายตาของกลุ่มรณรงค์ลดการสูบบุหรี่แล้ว  นิโคตินก็ยังตกเป็น "แพะรับบาป" และกลายเป็นเหมือนตัวบ่อนทำลาย ทำให้ผลที่ตามมาคือ มีผู้สูบบุหรี่เพียงน้อยนิดที่มีโอกาสหรือยอมเปลี่ยนเปลี่ยนไปใช้ทางเลือกที่เป็นอันตรายน้อยกว่า เช่น การใช้บุหรี่ไฟฟ้า นิโคตินแบบซอง หรือผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อน

          ในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งกำลังมีความคืบหน้าในการทำให้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นอันตรายน้อยกว่าถูกกฎหมาย แต่ก็ยังไม่สามารถบรรลุการยอมรับในวงกว้างได้

ด้วยเหตุนี้ เราจึงมี 6 เหตุผลที่มาสนับสนุนให้เห็นว่า ถึงเวลาต้องหยุดใส่ร้าย “นิโคติน” ว่าเป็นตัวการก่อโรค

ดาบสองคม กับความเข้าใจผิดของ \"นิโคติน\"

ผู้บริโภคต้องการนิโคติน แต่ตายจากการสูบบุหรี่
          แน่นอนว่า เราไม่ควรส่งเสริมให้ผู้คนเริ่มใช้นิโคติน แต่หน่วยงานดูแลด้านสาธารณสุขก็ไม่ควรห้ามผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าและทางเลือกอื่น ๆ แทน ทั้งนี้ หน่วยบริการสุขภาพแห่งชาติของประเทศอังกฤษได้แสดงความเห็นว่า

          "แม้ว่านิโคตินจะเป็นสารเสพติดในบุหรี่ แต่ตัวนิโคตินเองก็ค่อนข้างไม่เป็นอันตราย เพราะความอันตรายเกือบทั้งหมดของการสูบบุหรี่นั้น มาจากสารเคมีหลายพันชนิดในควันบุหรี่ ซึ่งส่วนมากมักเป็นพิษต่อร่างกาย"

ดาบสองคม กับความเข้าใจผิดของ \"นิโคติน\"

          หากผลิตภัณฑ์ทดแทนประเภท “แผ่นแปะนิโคตินและหมากฝรั่ง” ไม่ใช่ปัญหา ”บุหรี่ไฟฟ้า” ก็ไม่ควรเป็นปัญหาเช่นกัน

          ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร ได้สรุปบทบาทของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งมอบนิโคตินให้กับร่างกายไว้ว่า  “บุหรี่ไฟฟ้ามีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ในอุดมคติเพื่อลดอันตรายของยาสูบหลายประการ แม้ว่าการส่งสารนิโคตินจากบุหรี่ไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ซึ่งอาจมีนิโคตินในปริมาณสูง แต่ก็ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายดังเช่นที่พบในควันบุหรี่ [... ] "

          การติดนิโคตินนั้นเป็นเรื่องซับซ้อน ดังนั้น “ข้อห้าม” ต่าง ๆ จึงไม่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          นิโคตินทำให้เกิดการปลดปล่อยสารโดปามีน ซึ่งก่อให้เกิดการติดยาสูบ แต่ นิโคตินก็ไม่ใช่เหตุผลเดียวที่คนจำนวนมากไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ผู้สูบบุหรี่ทุกคนที่เปลี่ยนไปใช้แผ่นแปะนิโคตินก็ควรเลิกสูบบุหรี่ทันที ซึ่ง

          ผลศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558 ในวารสารวิทยาศาสตร์ Drug and Alcohol Dependence พบว่า หากไม่มีควันบุหรี่ การติดนิโคตินจะต่ำมาก นั่นหมายความว่า ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ประสบปัญหาการเสพติดน้อยกว่าผู้สูบบุหรี่จริง

นิโคตินมีประโยชน์ทางการแพทย์
          การวิจัยในปี พ.ศ. 2503 แสดงให้เห็นว่า ผู้สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคพาร์กินสันต่ำกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งต่อมามีผลศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่าเป็นเพราะสารนิโคตินที่ทำให้ระดับการเกิดโรคพาร์กินสันในผู้สูบบุหรี่ต่ำกว่า ผลการวิจัยยังพบอีกว่า "ผู้ชายที่ไม่สูบบุหรี่แต่ใช้สนุส (snus หรือยาสูบแบบอม) จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคพาร์กินสันลดลง"

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนิโคติน ทำให้การลดอันตรายให้กับผู้สูบบุหรี่ไม่มีความก้าวหน้า
          น่าเสียดายที่การรับรู้ของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับสารนิโคตินยังไม่ถูกต้องนัก ร้อยละ 57 ของผู้ตอบแบบสำรวจในสหรัฐฯ ยังเข้าใจผิดว่า "นิโคตินในบุหรี่คือสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่เกิดจากการสูบบุหรี่" และแม้แต่แพทย์ร้อยละ 80 ก็ยังเข้าใจผิดคิดว่านิโคตินเป็นสาเหตุของมะเร็ง ความเข้าใจผิดของสังคมและผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ส่งผลในทางลบ และทำให้ความจริงที่ว่า “บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่” ยังไม่ได้รับการเผยแพร่

          จากการทบทวนการศึกษา (รีวิว) 755 ฉบับล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบทั่วไปของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้ข้อสรุปว่า มีเพียง 37 ฉบับเท่านั้นที่ "ตรงตามเกณฑ์คุณภาพทางวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน"

ดาบสองคม กับความเข้าใจผิดของ \"นิโคติน\"

“ข้อห้าม” ไม่ได้ผลเสมอไป
          ประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าการห้าม หรือ การแบน มักจะใช้ไม่ได้ผล และนั่นเป็นหนึ่งในบทเรียนที่ถูกมองข้ามมากที่สุด เช่น การห้ามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเรื่องล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และนำไปสู่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้นเสียด้วยซ้ำ รวมไปถึงการเกิดสงครามยาเสพติดทั่วโลก ซึ่งไม่ทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการหรือแม้กระทั่งทำให้ปัญหาการระบาดของยาเสพติดมากขึ้นด้วยซ้ำ จึงอาจสรุปได้ว่าการทำสงครามกับนิโคตินก็จะมีผลเช่นเดียวกันในอนาคต

          การสูบบุหรี่และโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายอีกประการหนึ่งของมนุษยชาติ เราจึงต้อง จัดการกับ “ต้นตอ” ของปัญหาเหล่านี้โดยปราศจากอคติ และนี่คือเหตุผลที่เราทุกคนต้องรู้ว่า “นิโคตินไม่ใช่ศัตรูที่แท้จริงของเรา”

Maria Chaplia : ผู้จัดการฝ่ายวิจัยของ Consumer Choice Center และเป็นผู้เขียนร่วมในบทความล่าสุดเรื่อง “Six Reasons to Stop the War on Nicotine”