‘อีกี้’ เพราะ ‘ความงาม’ เปลี่ยนผ่านตามยุคสมัย แล้วอะไรคือความงามที่แท้จริง
อาทิตย์ที่ผ่านมามีกระแสที่ถูกพูดถึงละทำให้หลายคนต้องขุดเอารูปของตัวเองขึ้นมาตามเทรนด์ แฟชั่น ‘อีกี้’สาวสวยใน MV ธาตุทองซาวนด์กันอย่างสนุกสนาน ตั้งแต่ประชาชนทั่วไปจนถึงดารามีชื่อเสียงระดับซุปตาร์ เชื่อว่าต้องไม่มีใครพลาด!!!
‘อีกี้’ ใน MV เป็นตัวแทนของ ‘สก๊อย’ ในตํานาน ด้วยทรงผมซอยตั้งแต่ติ่งหูยันปลายผม กรีดอายไลน์เนอร์หนาๆ ใส่เสื้อ กล้ามรัดตัวเล็กมีสีสัน และชอบซ้อนมอเตอร์ไซค์ผู้ชาย แต่เอาเข้าจริงแล้วทรงผมและการแต่งกายของอีกี้ไม่ได้เป็นตัวแทน แค่เพียงสก๊อยเท่านั้น แต่มันคือยุคหนึ่งที่วัยรุ่นไทยจะแต่งกาย แต่งตัว และตัดผมแบบนี้
หลายคนจึงมีรูปของตัวเองในช่วงเวลานั้นที่ไม่ต่างจากอีกี้ ช่วงเวลานั้นผู้หญิงที่ตัดผมสไตล์อีกี้มีอยู่เต็มเมือง ส่วนหนึ่งก็ เพราะมองว่ามันคือ ‘ความงาม’ แห่งยุค ใครไม่ทําผมทรงนี้คือไม่อยู่ในกระแส แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไป การมองความงาม ของคนในสังคมก็เปลี่ยนตามกาลเวลาเช่นกัน
มาตรฐานความงามที่ถูกกําหนดขึ้น
อีกี้ไม่ใช่ตัวอย่างเดียวของความงามที่เปลี่ยนไปตามวันเวลา หากสังเกตดูแล้ว ความงามของผู้คนถูกกําหนดด้วยแฟชั่นซึ่ง ก็มาจากบรรดานักออกแบบ คอลัมนิสต์ กูรูทางด้านแฟชั่น หรือดารานักร้องเพียงแค่ไม่กี่คนเสมอ โดยบางครั้งเราก็ไม่เคยรู้เลยว่าเบื้องหลังของความงามที่พวกเขาสร้างสรรค์มาจากสิ่งใดกันแน่ .. เราใส่เพราะมันคือกระแส และใส่เพราะจะได้ สวยงามเฉกเช่นคนอื่น และเมื่อกาลเวลาผ่านไปแฟชั่นก็เปลี่ยน ความงามของผู้คนจึงเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
แล้วอะไรคือมาตรฐานของความงาม?
หากจะพูดถึงเรื่องของความงาม วงการเครื่องสําอางคือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน .. ด้วยว่ามีการพยายามจะกําหนดมาตรฐานของความงามขึ้นมา จะเห็นได้ว่ามีผลิตภัณฑ์ประเภท Whitening หรือทําให้ขาวจํานวนมาก หรือแม้แต่ ผลิตภัณฑ์ต้านริ้วรอยต่างๆ ผสมกับการทําการตลาดที่บอกว่าครีมที่ทําให้ขาวและไม่มีริ้วรอยพวกนี้สิดี!! เมื่อรับเมสเสจที่ ผ่านช่องทางตลาดเหล่านี้เข้าไปนานๆ ก็เหมือนการกล่อมเกลาความคิดว่า ‘ความงาม’ ต้องขาวและไม่มีริ้วรอย ... เริ่มต้น ในช่วงปี 1940 เป็นยุคแรกๆ ที่วงการเครื่องสําอางได้ออกโฆษณาที่สื่อถึงข้อดีของการมีผิวขาวโดยใช้กลยุทธ์ว่าผิวขาวเป็น สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ชายได้มากกว่า
ในช่วงยุค 1970-1990 ก็ยังคงเต็มไปด้วยเครื่องสําอางสําหรับความขาว มีรองพื้นแค่ 5-6 เฉดสีเท่านั้นที่มีไว้สําหรับผู้หญิงที่สีผิวแตกต่างออกไป แม้จะมีการเรียกร้องและพูดถึงในประเด็นดังกล่าว แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ว่า ‘ผู้หญิงทุกคนอยากขาว’ เป็นประโยคที่ทํากําไรทางธุรกิจได้มหาศาลเช่นกัน
นอกจากในวงการเครื่องสําอาง ในสังคมบางแห่งก็แสดงถึง ค่านิยมที่มีต่อความงามในรูปแบบเดียว CNN ได้ลงบทความที่ เกี่ยวข้องไว้ว่า ในภาษาญี่ปุ่นมีคําพูดที่ว่า ‘bihaku’ ซึ่งรากศัพท์มาจากการผสมคําระหว่างความงามและความขาว เช่น เดียวกันภาษาจีนที่มีคําที่พยายามจะสื่อถึงคําว่า ‘whitening’ ซึ่งเป็นคําที่เขียนผสมกันระหว่างความงามและความขาวเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานความงามที่กําหนดด้วยวัฒนธรรมของเชื้อชาติต่างๆ เช่น ในกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงคอยาว มีการใส่ห่วงทองลงไปรอบคอเพื่อแสดงถึงความมั่งคั่งหรือในเผ่าพันธุ์ซูร์มา ในเอธิโอเปีย ผู้หญิงจะมีการคล้องจานลงบนริมฝีปาก ซึ่งยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ก็แสดงถึงความงามและความมั่งคั่งของเธอมากเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงจากเผ่า เมารีในประเทศนิวซีแลนด์ ที่นิยมสักบนคางเพื่อแสดงถึงฐานะ ตําแหน่งและความงามของพวกเธอเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม ซึ่งในปัจจุบันการสักดังกล่าวก็ลดน้อยลงไป
ความงามบนความหลากหลาย
ในปี 1989 นาโอมิ แคมป์เบลได้ขึ้นปกนิตยสาร Vogue เดือนกันยายน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีผู้หญิงผิวสีขึ้นปกเดือนนี้ ซึ่งเป็นเดือนที่สําคัญที่สุดของนิตยสาร .. ในปี 2017 นักร้องระดับโลกคนดังอย่างริฮันน่า ได้ออกแบรนด์เครื่องสําอางซึ่งเหมาะสําหรับคนที่มีหลากหลายผิวสี และชูคีย์หลักของแบรนด์คือ ‘ความหลากหลาย’ ซึ่งทําให้แบรนด์มีพาเลทสีที่เหมาะกับผิวของผู้หญิงมากกว่า 40 เฉดสี สองปีต่อมาบริษัทของเธอมีมูลค่าทางการตลาดมากถึง 3 พันล้านบาท!! หลังจากนั้นก็มีบริษัทที่ทําธุรกิจเกี่ยวกับความงามสร้างแคมเปญที่ตอบโจทย์ความงามที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นและประสบความสําเร็จทางการตลาดสูงมาก .. เพราะนอกเหนือไปจากคุณภาพของสินค้า บริษัทเหล่านี้สามารถสื่อเมสเสจสําคัญที่ผู้หญิงทั่วโลกรอคอยนั่นคือ ‘ความงามไม่ได้มีรูปแบบเดียว’
นอกจากนี้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา นิตยสาร Vogue Philippines กลายเป็นกระแสไปทั่วโลก จากการนําช่างสักพื้นเมืองจาก เผ่า Kalinga ทางตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ที่ชื่อ Apo Maria “Whang-Od” Oggay ในวัย 106 ปี ช่างสักคนสุดท้ายของเผ่า ขึ้นปกในธีมบิวตี้ (Beauty Issue) ทําให้มีคนเข้าไปไลก์กว่าสองแสนครั้ง และมีอินฟลูเอ็นเซอร์ชื่อดังมากมายแสดงความชื่นชมกับปกนี้ เพราะการเลือกเธอขึ้นปกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ ‘ความงาม’ ที่ไม่ได้จํากัดที่ ผิว หน้าตา เชื้อชาติ ความขาว หรือริ้วรอย แทนที่จะเลือกดาราหรือนักแสดงที่มีชื่อเสียง สะท้อนความคิดในประเด็นความงามได้อย่างมีพลัง เพราะพวกเขาได้นําเสนอให้เห็นถึงความสําคัญของความงามในแง่มุมของ ‘คุณค่า’ มากขึ้น
แล้วอะไรคือความงามที่แท้จริง?
เมื่อหันกลับมามองเรื่องราวของอีกี้กับทรงผมและการแต่งกายที่ถูกเรียกว่าสก๊อยนั้นคือความงามหรือไม่? เราอาจเรียกปรากฏการณ์นี้ได้ว่าเป็นความงามตามแฟชั่น และเมื่อมันเป็นแฟชั่น มันก็ย่อมจะเปลี่ยนไปตามกระแส .. เมื่อยี่สิบปีก่อน ทรงผมของอีกี้คือตัวท็อป!! แต่ทุกวันนี้ทรงผมนี้กลับไม่ใช่ แต่อีกสองปีข้างหน้ามันก็อาจจะกลับมาฮิตอีกก็เป็นได้ ซึ่งแนวคิดความงามแบบแฟชั่นนี้ก็ยังคงมีอยู่แน่นอน
แต่ในขณะเดียวกัน โลกของแฟชั่นก็เพิ่มเติมส่วนผสมที่สําคัญลงไป คือ กรอบความคิดเรื่อง ‘ความงาม’ ที่แท้จริง ซึ่งได้เน้นไปที่ ‘คุณค่า’ ของผู้คนมากกว่า และเมื่อเน้นไปที่คุณค่าของผู้คนแล้ว ความคิดเรื่อง ‘ความงาม’ จึงหลากหลายมากขึ้นและไม่ตั้งอยู่บน ‘มาตรฐานเดียว’ เพราะมนุษย์นั้นย่อมมีความงามเป็นของตนเอง และเพราะโลกใบนี้แตกต่างและไม่ได้มีแค่เรา.
ที่มา