posttoday

ไทยระอุ! พบจุดความร้อนกว่า 3.7 พันจุด ส่วนใหญ่กระจุกตัวเขตป่าอนุรักษ์

01 มีนาคม 2566

GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้เผยแพร่ข้อมูลจากดาวเทียม Suomi NPP ผ่านทาง Facebook แฟนเพจ ว่า ไทยพบจุดความร้อนเพิ่มขึ้น 3,768 จุด ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงสุดตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา

GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้เผยแพร่ข้อมูลจากดาวเทียม Suomi NPP ผ่านทาง Facebook แฟนเพจ ว่า ไทยพบจุดความร้อนเพิ่มขึ้น  3,768 จุด ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงสุดตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา

จุดความร้อนของไทยที่เพิ่มขึ้นแตะ  3,768 จุด ส่งผลให้ไทยกลายเป็นเบอร์ 1 นำสปป.ลาวซึ่งอยู่ที่ 3,370 จุด เมียนมาร์ 2,809 จุด กัมพูชา 2,758 จุด และเวียดนาม 732 จุด 

โดยจุดความร้อนส่วนใหญ่ในไทย พบในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 1,937 จุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,043 จุด, พื้นที่เกษตร 280 จุด, พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ 271 จุด, พื้นที่เขต สปก. 219 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 18 จุด

ส่วนจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุดคือ กาญจนบุรี 577 จุด, ตาก 495 จุด, อุตรดิตถ์ 237 จุด, น่าน 212 จุด, แพร่ 190 จุด 

ไทยระอุ! พบจุดความร้อนกว่า 3.7 พันจุด ส่วนใหญ่กระจุกตัวเขตป่าอนุรักษ์

สิ่งที่มักตามมาจากเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อน คือ สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่กระแสลมมีส่วนพัดพาให้ฝุ่นขนาดเล็กเหล่านี้กระจายไปทั่วภูมิภาค ซึ่งส่งผลกระทบกับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม  

ทั้งนี้ ค่าฝุ่นในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงราย น่าน ลำพูน พะเยา ลำปาง และแพร่ ยังมีค่าฝุ่นอยู่ในระดับมากกว่า 90 ไมโครกรัม และเริ่มส่งผลต่อสุขภาพ ส่วนทางด้านกรุงเทพมหานครยังอยู่ในระดับสีส้มซึ่งเริ่มส่งผลต่อสุขภาพ เช่นกัน

ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น