posttoday

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา ‘ปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง’

06 กุมภาพันธ์ 2566

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดงานเสวนา “เราจะ Stop Fake, และ Spread Facts เพื่อเราและสังคม ?” สร้างพลังแห่งการตื่นรู้ด้านดิจิทัล ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อรู้เท่าทันข้อมูลบิดเบือน

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จัดงานเสวนา “Stop Fake, Spread Facts” ร่วมปลุกสังคม ให้รู้เท่าทันข้อมูลลวง 

นอกจากนี้ยังมีการอบรมเชิงปฏิบัติในหลักสูตร “How to Stop Fake and Fact Check Telling" สำหรับสื่อมวลชนและประชาชน พร้อมมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ร่วมงาน

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา ‘ปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง’

คุณ ระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า “การทำงานสื่อสารมวลชนตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะยุคไหนไม่ว่าจะเป็นไทยหรือต่างประเทศ ย่อมจะมีโอกาสที่จะทำให้เกิด Misinformation หรือ Fake news ได้เสมอ สิ่งที่สมาคมพยายามทำอยู่คือ Spread Facts แต่ปัญหาคือการทำงานกับออนไลน์และอัลกอริทึมของโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่ควบคุมไม่ได้

โครงการนี้เริ่มต้นจากกลุ่มหัวหน้าโครงการรวมถึงนักวิชาการหลายๆท่าน ที่ร่วมกันมาคุยกับสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ซึ่งทราบถึงปัญหาของข่าวปลอมเป็นอย่างดี

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา ‘ปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง’

 

ขณะที่ทาง ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) , ได้เริ่มพูดคุยถึงบริบท Next Normal ในโครงการ Stop Fake, Spread Facts ร่วมขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงทางสังคม 

Next normal ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ และเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร เวลาเราดูเรื่องกระบวนการสื่อสารเราต้องดูตั้งแต่ Infrastructure ดู Platform ที่ถูกใช้ จนกระทั่งถึงเรื่องของ Content เรื่องของ Device หน้าที่ ของ กสทช.คือเราต้องดูทั้งหมดแต่อาจจะยังดูไม่ถึงออนไลน์ในแง่ของกฏหมายแต่เราก็พยายามศึกษาอยู่ 

Digital Service Act ของสหภาพยุโรป จะมีลักษณะคล้ายๆกันแต่ให้เพลทฟอร์มเป็นผู้ประเมินทั้งความเสี่ยงต่อเด็กและเนื้อหา ในส่วนของเนื้อหาที่สร้างข้อมูลเท็จข่าวลวงต่างๆซึ่งภาครัฐจะเป็นผู้ตรวจสอบอีกที

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา ‘ปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง’

ในส่วนของไทยช่วงปี 2019-2021 ข้อมูลจากทาง Trusted Media Summit APAC 2022 ระบุว่าข้อมูลลวงส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสุขภาพ รองลงมาก็จะเป็นอาชญากรรมไซเบอร์ และการเมือง 

Misinformation ที่สังเกตได้ก็คือจะไม่อยู่ใน แพลตฟอร์มเดียว อันไหนที่มี Engagement เยอะๆ จะข้ามแพลตฟอร์ม ทั้งที่อยู่ใน ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก และยิ่งทำเป็นอินโฟกราฟิกให้น่าสนใจก็จะทำให้คนเชื่อมากขึ้น

 

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา ‘ปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง’

แนวทางการแก้ไขและบรรเทาผลกระทบจาก Misinformation คือ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียด สร้างความตระหนักรู้และให้การศึกษากับสาธารณะ ส่งเสริมความโปร่งใสจากตัวกลางออนไลน์ สร้างความแข็งแกร่งให้กับสื่อที่มีคุณภาพ ใช้กระบวนการกับกับดูแลกันเองของสื่อ ร่วมกันตรวจสอบเฝ้าระวังสื่อจากสังคมและสุดท้ายคือการใช้กฏหมายแต่จะพยายามให้ใช้น้อยที่สุด

โดยประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือการรับมือกับ Misinformation ซึ่งไม่ใช่อะไรที่เราทำได้เองต้องอาศัยความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อหาแนวทางที่เป็นมาตรฐาน