posttoday

5 เทคนิคหางานสำหรับคนเรียนจบยุคโควิด-19

26 สิงหาคม 2564

จบใหม่ก็ยังได้ไปต่อ กับ 5 เทคนิคหางานสำหรับคนเรียนจบยุคโควิด-19

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การสมัครเข้าทำงานในองค์กรต่าง ๆ เริ่มมีความซับซ้อนกว่าแต่ก่อน มีการสัมภาษณ์งานหลายรอบ มีบททดสอบมากมาย ด้วยสาเหตุจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ต่อเนื่องมาจนถึงยุคโควิด 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การหางานของเด็กจบใหม่ยิ่งเพิ่มความยากลำบาก เพราะงาน 1 ตำแหน่ง อาจต้องแข่งขันกับคนอีก 100 คน แต่นั่นก็ไม่ได้ความว่า คุณจะไม่มีโอกาสในการสมัครเข้าทำงานที่ไหนเลย มีหลายเทคนิคในการสมัครงาน มาดู 5 เทคนิคการหางานสำหรับเด็กจบใหม่ที่เรียนจบยุคโควิด-19

1 เรซูเม่ปัง

ด่านแรกเลยก่อนจะเข้าไปสู่การได้สัมภาษณ์งาน คือการพิจารณาคัดเลือกจากเรซูเม่ การเขียนเรซูเม่ให้ปังจนองค์กรต้องเรียกสัมภาษณ์นั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญทีเดียว เรเซูม่ควรเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ข้อมูลกระชับไม่เวิ่นเว้อ ใส่ทักษะความสามารถที่โดดเด่น และผลงานสร้างชื่อเสียงที่จะเป็นประโยชน์กับองค์กรลงไปด้วย

เขียนเรซูเม่สำหรับเด็กจบใหม่ ควรเขียนอะไรลงไปในเรซูเม่บ้าง ?

ระบุเฉพาะข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญและจำเป็นต่อการพิจารณาในการทำงาน ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรระบุในเรซูเม่ของคุณ ควรเป็นข้อมูลการติดต่อที่ถูกต้องและอัปเดต ที่ควรจะมีในเรซูเม่ของคุณ นั่นคือ ประวัติการศึกษา สาขาที่เรียนจบ (หากคุณได้เกรดนิยมหรือได้คะแนนสูง สามารถระบุเพิ่มเติมลงในเรซูเม่เพื่อเพิ่มแรงจูงใจของผู้พิจารณาเพิมเติมได้) นอกจากนี้ทักษะพิเศษต่างๆ ถ้าหากคุณมี จะยิ่งเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเพิ่มเติม อาทิ ทักษะการใช้โปรแกรมกราฟฟิค การถ่ายรูป หรือการใช้โปรแกรมเฉพาะทาง ฯลฯ รวมถึงความสามารถพิเศษต่างๆ เช่น การสื่อสาร ภาษา และทักษะเฉพาะทางด้านเทคนิค

ทั้งนี้ ในเรซูเม่ของคุณ ควรจะแนบรูปภาพที่ใช้ในการสมัครงาน ขอย้ำ ว่าเป็นรูปภาพที่ใช้ในการสมัครงาน (รูปถ่ายที่สุภาพ) ส่วนข้อมูลวันเกิด น้ำหนัก และส่วนสูง รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ คุณอาจพิจารณาตามความเหมาะสมสำหรับการระบุข้อมูล เพราะบางสายงานอาจต้องการข้อมูลเหล่านี้เพื่อการพิจารณาในการคัดเลือกเข้าสัมภาษณ์งานอีกด้วย

ภาษาที่เขียน ถ้าเป็นไปได้ขอแนะนำให้เขียนเรซูเม่ให้เป็นภาษาอังกฤษ(เนื่องด้วยหลายๆบริษัท โดยเฉพาะบริษัทต่างชาติมักจะมีผู้บริหารเป็นชาวต่างชาติ ทำให้พิจารณาประวัติของคุณได้รวดเร็วยิ่งขึ้น) แต่ถ้าใครที่คิดว่าเรซูเม่ภาษาอังกฤษอาจจะยากไป จะเขียนเป็นเรซูเม่ภาษาไทยก็ได้ครับ (เราขอแนะนำวิธีการเขียนเรซูเม่เป็นภาษาอังกฤษที่นี่)

จุดมุ่งหมายสำหรับงานที่ต้องการ รวมถึงการระบุเงินเดือน แนะนำให้เขียน “จุดมุ่งหมายในอาชีพ” (Career Objective) ไว้ที่ย่อหน้าแรกของเรซูเม่ ส่วนนี้จะช่วยสรุปให้ผู้ประกอบการทราบว่าคุณต้องการทำงานตำแหน่งอะไร และต้องการทำอะไรให้กับองค์กร ภายใน 2 บรรทัด ถ้าคุณใช้คีย์เวิร์ด หรือคำที่ผู้ประกอบการกำลังมองหาอยู่ลงไป จะทำให้เรซูเม่ฉบับนี้เตะตาให้ผู้ประกอบการตัดสินใจอ่านเรซูเม่ของคุณต่อ ส่วนต่อมาคือการระบุเงินเดือน ซึ่งส่วนมากเด็กจบใหม่มักจะยังไม่ทราบฐานเงินเดือนในสายอาชีพของตนเอง ลองเข้าไปค้นหาตำแหน่งงานว่างตามสาขาอาชีพของคุณใน JobsDB แล้วคุณอาจจะลองประเมินเงินเดือนที่ต้องการ หรือถ้าคุณยังไม่แน่ใจ อาจระบุเป็น เงินเดือนตามตกลง ไว้ในเรซูเม่ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว

ประสบการณ์การทำงานก่อนเรียนจบอย่ามองข้าม สิ่งสำคัญที่คุณอาจเลือกเขียนเพิ่มลงในเรซูเม่ได้ในกรณีที่จบใหม่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน สามารถเขียนได้ทั้งการฝึกงาน, ทำงาน part-time, ทำงานเป็นอาสาสมัคร หรือมีโอกาสเป็นผู้นำในกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างเรียน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการมองหาจากเด็กจบใหม่ นายจ้างสามารถพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ในการตัดสินใจรับคุณเพิ่มเติมได้อีกด้วย ทั้งนี้หากประสบการณ์ที่คุณเคยมีมาเหมาะสมกับงานที่ต้องการสมัคร ยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานได้มากยิ่งขึ้นอีก

หลักการเขียน “ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้อง” นี้ ให้เขียนเรียงลำดับตามช่วงเวลา ให้ช่วงเวลาล่าสุดขึ้นต้น โดยเขียนระยะเวลา (วัน/ เดือน/ ปี) ตามด้วยลักษณะการทำงาน (ชื่อหรือตำแหน่ง) และเขียนรายละเอียดหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงทักษะที่ใช้ในการทำงาน (ทักษะทั่วไปและทักษะเฉพาะทางด้านเทคนิค) แต่ต้องเขียนให้สั้น กระชับ ได้ใจความ แค่ 1-2 บรรทัดเท่านั้นนะคะ และต้องพยายามเขียนให้สอดคล้อง เชื่อมโยงกับตำแหน่งงานที่จะสมัคร เพื่อให้เรซูเม่ดูน่าสนใจ ดึงดูดให้ผู้ประกอบการสนใจอยากที่จะเชิญไปสัมภาษณ์งาน

การเขียนเรซูเม่ คือการงานเขียนให้น่าอ่านอย่างน่าสนใจ โดยการเลือกเขียนสิ่งที่สำคัญ สิ่งที่น่าสนใจ และสิ่งที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการลงไป เขียนให้มีความต่อเนื่อง ตามลำดับเวลาและพยายามให้อยู่ภายใน 1 หน้ากระดาษ และเขียนเล่าเรื่องง่าย ๆ ตามคำถามเหล่านี้ คุณคือใคร, คุณทำอะไรมาบ้าง, จุดมุ่งหมายในการทำงานของคุณคืออะไร และคุณวางแผนที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้นอย่างไร เขียนให้น่าสนใจ เชื่อมโยงกันในแต่ละย่อหน้า เพื่อชักจูงใจให้ผู้ประกอบการใช้เวลาในการอ่านเรซูเม่ของน้องให้ได้นานที่สุด และอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะปกติแล้วผู้ประกอบการจะสแกนดูเรซูเม่แต่ละฉบับแค่ 7 วินาทีเท่านั้นเอง

2 ปรับทักษะให้เข้ากับยุค

ทักษะการทำงานที่แค่เพียง Hard skill และ Soft skill อาจไม่เพียงพอต่อการทำงานในยุคโควิดอีกต่อไปแล้ว แต่ควรต้องมีทักษะด้าน Meta skill เป็นความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ยิ่งในยุคโควิดแบบนี้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงถือเป็นทักษะที่จำเป็น ขณะเดียวกันก็ต้องพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เสมอ และมีความสามารถพิเศษรอบด้าน

5 เทคนิคหางานสำหรับคนเรียนจบยุคโควิด-19

3 มี Resilience สูง

เป็นการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก คนที่สามารถปรับตัวได้เร็ว เรียนรู้งานได้เร็ว ย่อมมีโอกาสได้งานสูง เราเห็นการ Work From Home, Workation หรือ Remote Work เกิดขึ้นมากมายในยุคโควิดนี้ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานทางไกล เช่น Zoom VDO Conference, Google Meeting หากเราสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ได้เร็ว ก็จะทำให้มีโอกาสถูกจ้างงานได้มากกว่าคนที่เรียนรู้และปรับตัวได้ช้า

4 ไม่เลือกงาน

เหตุผลที่ผู้สมัครงานส่วนใหญ่ไม่ได้งาน เพราะมัวแต่ตัดสินใจเลือกงานที่ชอบหรืองานที่ถนัด รวมถึงเลือกที่ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เลือกองค์กรใหญ่ที่รู้สึกว่ามีความมั่นคงและมีชื่อเสียง ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้โอกาสได้งานนั้นน้อยลงไปอีก แนะนำว่าลองค้นหางานในฝันผ่าน JobsDB เด็กจบใหม่ที่เรียนจบยุคโควิดและกำลังหางานจะได้ไม่ต้องกังวลใจเพราะสามารถหางานได้ง่ายๆ จากเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน

5 เลือกสายงานที่อ้าแขนรับ

หากอยากเพิ่มโอกาสที่จะได้งาน แนะนำให้เลือกสมัครงานในสายงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เช่น งานด้านการขาย ที่แทบทุกองค์กรเปิดรับสมัครเป็นจำนวนมากเสมอ งานด้านเทคนิคเฉพาะทาง เช่น งานช่างเทคนิค งานด้านโปรแกรมเมอร์ งานไอที งานสายการผลิตต่าง ๆ รวมถึงงานด้านบริการหลังการขาย