posttoday

การสร้างผู้นำองค์กรนวัตกรรมบนฐานของแนวคิดเชิงระบบ

19 ตุลาคม 2563

โดย ภก.ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล สถาบันอินทรานส์ Hipot – การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคงยั่งยืน

การสร้างผู้นำองค์กรนวัตกรรมบนฐานของแนวคิดเชิงระบบ

ปัญหา ความท้าทายในโลกยุคใหม่ 

โลกอ่อนไหว ซับซ้อน คลุมเครือ เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต มีการปรับตัวตลอดเวลาเพื่อเข้าสู่สมดุลใหม่ ในการปรับตัวนั้นก็จะได้สิ่งใหม่ เกิดขึ้นเป็น New Entity อันเป็นภาวะองค์รวมใหม่ (New Holistic) และเราเรียกสิ่งใหม่นี้ว่า นวัตกรรม อันเป็นพัฒนา สร้างสรรค์ หรือวิวัฒนาการจากของเดิม แรกๆ เราก็ตื่นเต้น เพราะมันเป็นสิ่งใหม่ เป็นนวัตกรรมใหม่ (Innovation) และเราก็ใช้ประโยชน์จากมัน โดยใช้ศักยภาพของมันที่แตกต่างจากเดิม หรือที่เหนือว่าเดิม อยู่ไปซักพัก เราก็เริ่มคุ้นชิน เลยกลายเป็น Normal ทั้งหมดนี้ เราเรียกว่า New Normal

New Normal จึงมีความเป็นองค์รวมใหม่ที่เกิดจากการปรับตัวจากของเดิม จากนั้นไม่นาน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอีก และเราก็ปรับตัวอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยไปและขับเคลื่อนโลกไปอย่างเป็นพลวัตไม่สิ้นสุด

ปรากฏการณ์ใหม่นี้ดังเช่นการเกิดขึ้นของ AI, Robot, Digital, Internet of Thing, Block Chain, Bid Data, หรือ Technology ต่างๆ ที่กำลังเร่งเราให้ปรับตัวตามอยู่ทุกวันนี้

และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก มันสร้างแรงกดดันให้องค์กร ธุรกิจ สังคมอยู่อย่างเดิมไม่ได้ มันสร้างแรงกดดันให้มนุษย์ต้องปรับตาม หาไม่ เราต้องถูกทิ้งหรือล่มสลายไป หากองค์กรสามารถปรับตามได้เรื่อยๆ ก็เรียกว่า ยั่งยืน และกระบวนการนี้มันเกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัต ต่อเนื่อง ไม่สิ้นสุด เพราะในเมื่อขี่หลังเสือแล้ว มันลงไม่ได้ ทำนองเดียวกันกับการดำเนินธุรกิจ เมื่อเริ่มแล้ว มันต้องเล่นต่อ ต้องขับเคลื่อนองค์กรไปเรื่อยๆ และในการทำงาน มันต้องมีความท้าทายใหม่ๆ เข้ามาทุกวัน รอบด้าน ธุรกิจจึงต้องปรับตัว เพื่อสร้างสิ่งใหม่เพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน คำถามคือ เราต้องพัฒนาอะไร

ในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด องค์กรต้องการนวัตกรรม

เป็นที่ประจักษ์ว่าเราไม่อาจสร้างความยั่งยืนได้ด้วยองค์ความรู้เดิมๆสินค้าหรือบริการแบบเดิมๆการสร้างสิ่งใหม่หรือนวัตกรรมที่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและการสร้างสรรค์นวัตกรรมดังกล่าวต้องมาจากแนวคิดเชิงระบบ

เมื่อพูดถึงระบบ ท่านสงสัยไหมว่ามันคืออะไร แล้วเราจะพัฒนาแนวคิดเชิงระบบขึ้นมาได้อย่างไร ในการทำความเข้าใจเรื่องระบบเพื่อนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์นั้น เราจำเป็นต้องเข้าใจภาวะธรรมชาติของมันเสียก่อน โดยลองพิจารณาของง่ายๆ ใกล้ตัว เช่น กาแฟร้อนเอสเพรสโซ่

เวลาเราจะทานกาแฟร้อนเอสเพรสโซ่ เราต้องเอาผงกาแฟ ครีม น้ำตาล และน้ำร้อนมาชงเข้าด้วยกัน เราไม่ได้กินแบบแยกส่วน นั่นคือ กาแฟร้อนเอสเพรสโซ่มีความเป็นระบบที่เกิดจากองค์ประกอบทั้ง 4 มาเชื่อมโยงกันจนเป็นหนึ่งเดียว เมื่อนำกาแฟร้อนเอสเพรสโซ่ที่ได้เติมด้วยนมสดร้อนและฟองนม เราจะได้ลาเต้

เมื่อเอาลาเต้โรยด้วยผงอบเชย เราจะได้คาปูชิโน่ หรือหากเราเติมด้วยช็อกโกแลตลงไป เราจะได้มอคค่า 

จะเห็นได้ว่า กาแฟร้อนชนิดต่างๆ ในแต่ละระดับก็ต่างคือ นวัตกรรม และแต่ละระดับต่างก็คือระบบ แต่เป็นระบบซ้อนระบบ กล่าวคือ แต่ละระดับชั้นต่างก็เป็นระบบใหม่ที่สูงกว่าระบบเดิมที่ทับซ้อนกันอย่างเป็นร่างแห (New Normal in New Normal) และแต่ละระดับต่างก็แสดงศักยภาพคือความหอมและรสชาติตลอดจนราคาที่ต่างกันตามองค์ประกอบและการเชื่อมโยงของตัวมันเองดังนั้นหากจะทำมอคค่าให้อร่อย

การสร้างผู้นำองค์กรนวัตกรรมบนฐานของแนวคิดเชิงระบบ

เราต้องพัฒนาองค์ประกอบและการชงในแต่ละระดับชั้น ไล่ย้อนเรื่อยลงไปจนถึงขั้นตอนแรก

ด้วยมุมมองดังกล่าว ธรรมชาติของการเกิดขึ้นของความคิดสร้างสรรค์ ก็ไม่ต่างอะไรกับความเป็นกาแฟร้อนในระดับต่างๆ เพราะแต่ละแนวคิดใหม่ๆ มันก็คือระบบที่เกิดจากตัวแปรต่างๆ ที่มาสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และตัวแปรเหล่านั้น โดยตัวในเองก็มีความเป็นระบบที่มีองค์ประกอบย่อยๆ มาเชื่อมโยงกัน เพื่อเกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นลำดับชั้น ด้วยมุมมองดังกล่าว ความคิดสร้างสรรค์จึงพัฒนาได้ไม่สิ้นสุด และมีความสำคัญต่อความยั่งยืนขององค์กร

องค์กรที่ยั่งยืนต้องการผู้นำการเปลี่ยนแปลง

เป็นที่ประจักษ์ว่า โลกไม่เคยหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และนำมาซึ่งความท้าทายอย่างต่อเนื่อง องค์กรจึงต้องปรับตัว ในการปรับตัว องค์กรต้องการผู้นำ และคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ แนวคิดเชิงระบบ เพราะแนวคิดเชิงระบบเป็นที่มาของนวัตกรรมที่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจที่ต่างกัน ผู้นำองค์กรนวัตกรรมที่มีแนวคิดเชิงระบบจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อพลิกโอกาสให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ท่ามกลางโลกที่ผันผวนอย่างไม่หยุดนิ่ง

จากมุมมองดังกล่าวท่านจะพัฒนาผู้นำองค์กรนวัตกรรมบนฐานแนวคิดเชิงระบบได้อย่างไรเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจให้สามารถรับมือกับความท้าทายที่ผ่านเข้ามาได้อย่างต่อเนื่อง

สามารถยกระดับองค์กรให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อความมั่นคงยั่งยืน 

ผมมั่นใจว่าหัวข้อที่นำมาแลกเปลี่ยนในครั้งนี้คงจะเป็นประโยชน์นะครับ