posttoday

ชีวิตมิใช่คณิตศาสตร์

03 สิงหาคม 2563

การรับมือกับปัญหาเชิงองค์รวม : ความเป็นองค์รวมคืออะไร แล้วจะพัฒนาอย่างไร อีกความท้าทายขององค์กรที่ทุกคนต้องรู้

เพราะองค์กรมิได้หยุดนิ่ง แน่นอนตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงทุกขณะ อีกทั้งมีธรรมชาติของความเป็นองค์รวมซ้อนองค์รวม ปัญหาทับซ้อนปัญหา การแก้ปัญหาจึงไม่สามารถ fix บางอย่างให้อยู่กับที่ แล้วใส่ตัวแปรลงไปเพื่อหาทางออกได้อย่างตรงไปตรงมา แต่มันต้องเป็นองค์รวม ความเป็นองค์รวมคืออะไร แล้วจะพัฒนาอย่างไร

ชีวิตมิใช่คณิตศาสตร์

เรื่องนี้ ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล จากสถาบันอินทรานส์ Hipot-การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคงยั่งยืน ให้ความรู้ไว้ดังนี้

ความท้าทายขององค์กร

การระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้สร้างความตระหนักว่าโลกไม่แน่นอน อ่อนไหว ซับซ้อน คลุมเครือ เปลี่ยนแปลงทุกขณะอย่างที่ไม่อาจคาดเดาล่วงหน้าได้ การเตรียมตัวเพื่อรับมือที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่ความล่มสลาย ประเด็นความท้าทายที่สุดของทุกหน่วยงานไม่ว่าภาครัฐเอกชนวิสาหกิจชุมชนและสังคมในวงกว้าง หรือแม้แต่สถาบันครอบครัวคือความยั่งยืน

เราจึงลงทุนมากมายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถเพื่อหวังจะให้รับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลที่ได้กลับไม่คุ้มค่า ศักยภาพบุคลากรกลับถดถอย ขาดความสามารถในการแข่งขัน องค์กรไม่บรรลุเป้าหมาย ส่วนรวมก็เสียหาย

การจะพลิกฟื้นกลับมานั้นทำได้ยาก และการที่จะทำให้ดีกว่าเดิมนั้นเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ส่งผลสะท้อนถึงครอบครัวที่ขาดความสุข ขาดความเข้าใจ ความสัมพันธ์ และความเอื้ออาทรค่อยๆ จืดจาง ความเป็นมนุษย์เริ่มห่างไกล คุณภาพชีวิตลดลง ส่งผลให้ทุกองค์ประกอบทางสังคมไม่ยั่งยืน

ชีวิตมิใช่คณิตศาสตร์

จอห์น แนช (13 มิถุนายน 1928 – 23 พฤษภาคม 2015) นักคณิศาสตร์เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์และสมการเชิงอนุพันธ์แบบแบ่งส่วน นักวิจัยอาวุโสสาขาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน นักคณิตศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี 1994 จากผลงานเรื่องทฤษฎีเกม ได้เคยกล่าวไว้ว่า "ปัญหาชีวิตทุกอย่างสามารถแก้ได้ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ โดยเพียงใส่ตัวแปรลงไปในสมการ ปัญหาชีวิตก็จะสามารถแก้ไขได้"

ความเข้าใจดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานคิดที่ว่า ปัญหาชีวิตนั้นมีความคงที่ แน่นอนตายตัว จึงสามารถ fix อะไรบางอย่างให้อยู่กับที่ แล้วใส่ตัวแปรที่แตกต่างลงไป เพื่อหาคำตอบที่หลากหลาย แต่ความเข้าใจดังกล่าวน่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริงของชีวิตในบางส่วน เพราะชีวิตมิได้แน่นอนตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่งแม้ขณะใดขณะหนึ่ง อีกทั้งยังมีธรรมชาติของความเป็นองค์รวมซ้อนองค์รวม ระบบซ้อนระบบ ปัญหาทับซ้อนปัญหากันอย่างสลับซับซ้อนและละเอียดอ่อนอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ ดังนั้น ชีวิตจึงไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยสมการคณิตศาสตร์หรือหลักตรรกะเหตุผลเพียงลำพัง ที่ตั้งอยู่บนแนวคิดเส้นตรงเชิงเดี่ยว เห็นองค์ประกอบชีวิตเป็นตัวแปรอย่างแยกส่วน แน่นอนตายตัว เพราะว่าไปแล้วตัวแปรที่เอามาพิจารณานั้นก็ไม่แน่นอน อีกทั้งสถานการณ์ต่างๆ ก็ไม่เคยหยุดนิ่ง การแก้ปัญหาชีวิตด้วยการใช้สมการทางคณิตศาสตร์จึงอาจอธิบายชีวิตได้ในเพียงบางส่วน แต่ก็ยังมีบางแง่มุมที่ควรนำมาพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ชีวิตตามความเป็นจริง จากมุมมองดังกล่าวนำไปสู่ความเข้าใจที่ว่า ชีวิตมิใช่คณิตศาสตร์ที่จะสามารถแก้ไขได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่มันอยู่ที่การปรับตัวอย่างยืดหยุ่นให้สอดคล้องกับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยพิจารณาถึงทุกมิติชีวิตอย่างครบถ้วนเป็นองค์รวม

ชีวิตมิใช่คณิตศาสตร์

ชีวิตองค์รวมคืออะไร

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า เพราะชีวิตคือระบบ การสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้กับองค์กร ครอบครัว ชุมชน สังคม จึงต้องพิจารณาอย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุมทุกมิติชีวิต อันประกอบด้วย 4 มิติ กล่าวคือ จิตใจ ปัญญา อารมณ์ และพฤติกรรม มองในอีกความหมายหนึ่ง มันคือ กรอบความคิด มุมมองเชิงระบบ ตัวตน และภาวะผู้นำ ทีนี้เรามาดูทีละประเด็น

มิติแรกคือ กรอบความคิด

กรอบความคิดเป็นแหล่งที่มาของศักยภาพภายในที่แท้จริงการที่องค์กรยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนได้ทุกวันนี้ก็เพราะองค์กรส่วนใหญ่ยังมุ่งเน้นแต่การพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการซึ่งมันดีแต่ไม่พอแต่ขาดการพัฒนาศักยภาพที่กรอบความคิดอันเป็นฐานรากชีวิตนี้อย่างควบคู่กันไปโดยเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนใดๆต้องเริ่มที่ตนเองก่อนเสมอด้วยการเปลี่ยนกรอบความคิดตนเองปรับทัศนคติเชิงบวกสร้างแรงบันดาลใจแรงขับเคลื่อนภายในเล่นเชิงรุกสามารถนำตนเองได้ด้วยภาพเป้าหมายและค่านิยมร่วมเพื่อไปในแนวเดียวกัน 

มิติที่สองคือ มุมมองเชิงระบบ

มุมมองเชิงระบบคือที่มาของปัญญา ด้วยความไม่เข้าใจในมุมมองเชิงระบบ ขาดความเข้าใจในมุมมองเชิงองค์รวม จึงจับประเด็นไม่ได้ เชื่อมโยงก็ไม่ถูก จึงไม่สามารถแก้ปัญหาที่ผ่านเข้ามาได้ อีกทั้งขาดความเข้าใจในความเป็นองค์รวมซ้อนองค์รวม จึงไม่สามารถรับมือกับปัญหาเชิงซับซ้อนได้ ยิ่งไปกว่านั้น บุคคลมักจดจำแต่ผลลัพธ์สุดท้าย แต่ขาดกระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริง จึงขาดความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่าง ที่แปลกใหม่ ขาดนวัตกรรมที่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ จึงไม่สามารถพัฒนาองค์กร ครอบครัว ชุมชนไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ได้

มิติที่สามคือ ตัวตน

ตัวตนคือธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ที่ต้องการการยอมรับแต่การที่ไม่เห็นคุณค่าตนเองจึงนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ขาดความเชื่อมั่นหวั่นไหวขาดภูมิต้านทานไม่รู้ว่าจะตอบสนองอย่างไรเมื่อมีอะไรเข้ามากระทบชีวิตจึงกวัดแกว่งไปตามกระแสสังคมที่ไม่อาจควบคุมได้จึงไม่อาจพัฒนาศักยภาพตนเองและขับออกเพื่อรับมือกับความท้าทายได้อย่างเต็มที่และส่งผลต่อไปถึงการไม่เห็นคุณค่าในบุคคลอื่นไม่เห็นคุณค่าในความแตกต่างจึงเกิดช่องว่างด้านการสื่อสารนำไปสู่การไม่เปิดใจกว้างรับฟังเกิดความไม่เข้าใจกันไม่ไว้วางใจขาดศรัทธาขัดแย้งกันไม่สามารถขับศักยภาพและสร้างพลังร่วมได้อย่างเป็นหนึ่งเดียว

มิติที่สี่คือ ภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำมิใช่ตำแหน่งผู้นำ แต่ภาวะผู้นำสะท้อนมาจากการแสดงออกถึงการเห็นคนเป็นมนุษย์ เห็นคุณค่าของความมีชีวิต แต่เพราะเราไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ที่ต้องการคุณค่าและความหมาย

จึงไม่สามารถพัฒนาภาวะผู้นำที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีส่วนร่วมขาดความร่วมมือไม่สามารถสร้างทีมงานและเครือข่ายให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างเป็นเอกภาพดังนั้นกรอบแนวคิดของการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นองค์กรครอบครัวชุมชนอย่างยั่งยืนจึงต้องเป็นการพัฒนาและปรับตัวอย่างเป็นองค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติชีวิตอย่างสมดุลและต้องตระหนักว่าทุกองค์ประกอบที่กล่าวมานี้โดยตัวมันเองก็มีความไม่แน่นอนอ่อนไหวซับซ้อนไม่นิ่งแม้ในขณะเดียว

หากปรับตัวได้ทั้ง 4 มิติ ก็สมดุล

เมื่อรักษาสมดุลได้ ก็เข้มแข็ง

หากรักษาความเข้มแข็งได้ ก็มั่นคง

หากรักษาความมั่นคงได้ ก็ยั่งยืน

ท่านในฐานะผู้นำองค์กร ท่านจะนำความเข้าใจดังกล่าวไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงองค์กร ครอบครัว ชุมชน ให้สมดุล เข้มแข็ง มั่นคงยั่งยืนได้อย่างไร ผมมั่นใจว่าหัวข้อที่นำมาแลกเปลี่ยนในครั้งนี้คงจะเป็นประโยชน์นะครับ