posttoday

โอกาสกลับมาของธุรกิจหากโควิดระบาดซ้ำ องค์กรจะรับมืออย่างไร?

20 กรกฎาคม 2563

ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล เผยทางออกสถานการณ์หลังโควิด 19 ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน เป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดขององค์กร

โอกาสกลับมาของธุรกิจหากโควิดระบาดซ้ำ องค์กรจะรับมืออย่างไร?

ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล จากสถาบันอินทรานส์ Hipot - การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคง ยั่งยืน เผยการรับมือกับปัญหาไวรัสโควิด 19 เชิงองค์รวม : ฉากทัศน์การพัฒนาศักยภาพเชิงรุกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน

เพราะโลกเปลี่ยนแปลงทุกขณะ ธุรกิจจึงมีความเสี่ยงองค์กรจึงต้องปรับตัวเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขันเชิงรุก ด้วยการสร้างฉากทัศน์อย่างเป็นองค์รวมประกอบด้วยการ

  1. พัฒนาความสามารถในการนำตนเอง
  2. พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงซับซ้อนและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ
  3. พัฒนาทีมงานที่เข้มแข็งอย่างมีพลังร่วม
  4. พัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงนำองค์กรให้ไปในแนวทางเดียวกันอย่างเป็นหนึ่งเดียว

ปัญหาคืออะไร เพราะโลกไม่แน่นอน อ่อนไหว ซับซ้อน และคลุมเครือ นำมาซึ่งความท้าทาย ผลกระทบจากไวรัสโควิค 19 สร้างความปั่นป่วนในทุกภาคส่วนธุรกิจ ทุกระดับโดยเฉพาะ SME อันเป็นฐานรากของเศรษฐกิจของประเทศที่อ่อนแรงลงอย่างมาก ผู้ประกอบการจะหยุดชั่วคราวต่อดีหรือเลิกกิจการไปเลย เพราะการชดเชยต่างกัน แรงงานมีแนวโน้มถูกเลิกจ้างพุ่ง คนตกงานเพิ่มอย่างน่าห่วง บัณฑิตจบใหม่อีก 5 แสนอาจว่างงาน

ประเด็นความท้าทายขณะนี้กำลังลุ้นว่าหลังกรกฎาคม ธุรกิจจะกลับมาบ้างได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดคือ โอกาสการกลับมาระบาดซ้ำอย่างที่เกิดในหลายพื้นที่ทั่วโลกหากเกิดขึ้นจริง จะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ให้รุนแรงขึ้น แล้วรัฐและองค์กรธุรกิจจะรับมืออย่างไร

โอกาสกลับมาของธุรกิจหากโควิดระบาดซ้ำ องค์กรจะรับมืออย่างไร?

ทางออกสถานการณ์หลังโควิด 19 ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน เป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดขององค์กร และเราต่างตระหนักดีว่าการปรับตัวคือคำตอบ แต่ต้องมิใช่ปรับเพื่ออยู่รอดไปวันๆ แต่ต้องเป็นไปเพื่อสร้างความมั่นคงยั่งยืนในระยะยาวในการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เราจำเป็นต้องสร้างฉากทัศน์ในอนาคตเพื่อสร้างภาพความเข้าใจที่มีต่อความท้าทายนั้นๆ ที่ชัดเจน เพื่อยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันเชิงรุกฉากทัศน์ที่ว่านี้ต้องประกอบด้วยมิติชีวิตต่างๆ อย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุม จิตใจ ปัญญา อารมณ์ และภาวะผู้นำ

มิติด้านจิตใจ เมื่อพูดถึงจิตใจฐานรากคือ "กรอบความคิด" โดยมีมุมมองที่ต้องพิจารณา ดังนี้

ประการแรก เราต้องเข้าใจว่ากรอบความคิดคือปัจจัยฐานรากชีวิตของบุคคล มันเป็นแหล่งที่มาศักยภาพภายในในรูปของแรงบันดาลใจ ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อ อันจะเป็นตัวสร้างแรงขับเคลื่อนภายในให้แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่สะท้อนว่าบุคคลนั้นมีศักยภาพเพียงใด บุคคลจึงควรตระหนักว่า การพัฒนาขีดความสามารถเชิงรุกนั้นต้องมิใช่เพียงแค่การปรับแต่งพฤติกรรมอย่างฉาบฉวย แต่มันต้องเป็นการเปลี่ยนที่ฐานรากชีวิต นั่นคือ กรอบความคิด

ประการที่สอง กรอบความคิดเปลี่ยนได้ กรอบความคิดเป็นของตนเอง ดังนั้น การปรับเปลี่ยนใดๆ ต้องเริ่มที่ตนเองก่อนเสมอในภาวะยากลำบากที่กำลังเผชิญกับปัญหาเฉพาะหน้าที่หนักหน่วงนั้น บุคคลต้องเข้าใจว่าตนสามารถพลิกฟื้นคืนสภาพกลับมาได้และต้องเป็นตนเองเท่านั้นที่จะพลิกสถานการ์ณกลับมาได้ ไม่มีใครอื่น หากตนไม่เปลี่ยนแล้ว ใครจะเปลี่ยนเมื่อตนเปลี่ยนได้ ก็สามารถสร้างการนำตนเองได้ หากนำตนเองได้ ก็เล่นเชิงรุกได้

ประการที่สาม ต้องปรับมุมมองที่มีต่อปัญหาเสียใหม่ว่าปัญหาคือธรรมชาติที่ท้าทาย มิใช่ภาระเพราะไม่ว่าเราจะทำอะไร ไม่ว่าเราจะมีความสามารถเพียงใด ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมไม่เป็นไปตามที่คาดหวังเสมอไป มันย่อมต้องมีช่องว่างเพื่อการปรับปรุงและการเรียนรู้เพื่อการเติบโต อีกทั้งยังมีความท้าทายใหม่ๆ เข้ามาเสมอ การเล่นเชิงรุกจึงเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอาจมีความท้าทายอะไรใหม่ๆ เข้ามาอีกแล้วสร้างฉากทัศน์เพื่อการเตรียมตัวเพื่อลดความเสี่ยงและสร้างโอกาสจากความท้าทายนั้นๆ

โอกาสกลับมาของธุรกิจหากโควิดระบาดซ้ำ องค์กรจะรับมืออย่างไร?

มิติด้านปัญญา ในการแก้ปัญหาบุคคลต้องมีปัญญา ฐานรากของปัญญาคือ "มุมมองเชิงระบบ" กล่าวคือ ปัญญาใดๆ ย่อมเกิดจากการเชื่อมโยงขององค์ประกอบยิ่งไปกว่านั้น ในการแก้ปัญหาเชิงรุก บุคคลจำเป็นต้องใช้ระดับปัญญาที่สูงกว่าตอนที่ปัญหานั้นถูกสร้างขึ้นมานั่นหมายความว่า ในการรับมือกับความท้าทายเชิงรุก เราจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาที่เหนือกว่าเดิมและนวัตกรรมทางความคิดดังกล่าวต้องมาจากการเชื่อมโยงที่หลากหลายขององค์ประกอบที่แตกต่างนอกจากนี้ เพราะธรรมชาติของปัญหาต่างๆ นั้นซับซ้อนและทับซ้อนกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้การรับมือกับความท้าทายต่างๆ อย่างยั่งยืนจึงต้องพัฒนาระดับปัญญาที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก นั่นคือการมองภาพเชิงองค์รวมกล่าวคือ ต้องเห็นความจริงว่า ทุกปัญหามันเป็นระบบซ้อนระบบ องค์รวมซ้อนองค์รวมทุกปัญหาเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันทั้งในระดับเดียวกันและในระดับที่สูงกว่าและต่ำกว่า

มิติด้านอารมณ์ เมื่อพูดถึงอารมณ์ ฐานรากของอารมณ์คือ "ตัวตน" ตัวตนต้องการคุณค่าและความหมายในการพัฒนาขีดความสามารถเชิงรุก บุคคลต้องมีความมั่นคงทางอารมณ์ ความมั่นคงทางอารมณ์มักแสดงออกมาในรูปของความเชื่อมั่น ความเข้มแข็ง หนักแน่น มีภูมิต้านทาน ไม่หวั่นไหว อดทน ยืนหยัด และรู้ว่าจะโต้ตอบอย่างไรให้เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ความมั่นคงทางอารมณ์ดังกล่าวต้องมาจากการเห็นคุณค่าของตนเอง

นอกจากนี้ การพัฒนาเชิงรุกต้องเล่นเป็นทีม ทีมงานจึงต้องมีความเข้มแข็ง ความเข้มแข็งของทีมงานต้องมาจากความเข้าใจกัน ความไว้วางใจ และศรัทธาศรัทธาจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากการเปิดใจกว้างรับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ โดยให้อีกฝ่ายเป็นศูนย์กลาง เอาใจเขามาใส่ใจเรา ทั้งนี้ ศรัทธาจะเกิดขึ้นได้บุคคลต้องเห็นคุณค่าในความแตกต่าง ในภาวะนี้เท่านั้น ทีมงานจึงสามารถหลอมรวมเป็นหนึ่ง สามารถระเบิดศักยภาพทีมงานเชิงรุกออกมาเป็นพลังร่วมอย่างเป็นหนึ่งเดีย

โอกาสกลับมาของธุรกิจหากโควิดระบาดซ้ำ องค์กรจะรับมืออย่างไร?

มิติด้านภาวะผู้นำ ในการเล่นเชิงรุก องค์กรต้องการผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อตน (ในฐานะผู้นำ) ต้องได้รับการยอมรับจากทีมงานหรือผู้ตามและบุคคลจะยอมรับใครว่ามีภาวะผู้นำ ก็ต่อเมื่อตน (ในฐานะผู้ตาม) ต้องได้รับการยอมรับเสียก่อนนั่นคือ ผู้นำจำเป็นต้องเข้าใจและเห็นคุณค่าและความหมายของความเป็นมนุษย์ภาวะนี้เท่านั้นที่ภาวะผู้นำจึงจะเกิดขึ้นได้“เพราะใครก็ตามเห็นและยอมรับว่าฉันมีค่า ฉันก็เห็นและยอมรับว่าเขามีค่าเช่นกัน”

โลกคือภาวะที่ไม่แน่นอน อ่อนไหว ซับซ้อน คลุมเครือ นำมาซึ่งความท้าทายในการรับมือกับภาวะดังกล่าว องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถด้านการแข่งขันเชิงรุกและหนึ่งในยุทธศาสตร์ของการยกระดับศักยภาพดังกล่าวคือ การสร้างฉากทัศน์ที่ฉายภาพไปในอนาคตของการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมท่านในฐานะผู้นำ ท่านจะนำความเข้าใจดังกล่าวไปพัฒนาองค์กรให้มีความมั่นคงยั่งยืนในอนาคตได้อย่างไร