posttoday

ล้างมือด้วย สบู่ vs แอลกอฮอล์

15 มีนาคม 2563

เมื่อ CDC สหรัฐให้ความสำคัญกับสบู่และน้ำเป็นอันดับแรก แต่หลายคนยังคงสงสัยว่า "สบู่ธรรมดา" กับ "แอลกอฮอล์" อะไรจะช่วยกำจัดเชื้อไวรัสได้ดีกว่ากัน

ในวันที่แอลกอฮอล์เจลล้างมือหาซื้อยาก ราคาแพง หลายคนจึงกลับมาโฟกัสกับสิ่งที่มีและใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน อย่างสบู่ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ก้อน สบู่เหลว ขณะที่ในความคิดก็ยังไม่ค่อยแน่ใจในประสิทธิภาพของสบู่ หากต้องเปรียบเทียบกับการใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค

โดยเฉพาะในเวลานี้ที่มีเชื้อไวรัสซึ่งติดต่อในระบบทางเดินหายใจ อย่างโคโรนาไวรัส ที่ สามารถแพร่กระจายผ่านมือของเรา หากป่วยอยู่แล้ว มือเราอาจไปสัมผัสน้ำมูกจนเชื้อไวรัสติดอยู่ที่มือ หากไม่ป่วยมือเราอาจเป็นที่อยู่ของไวรัส เราอาจไปสัมผัสกับละอองเสมหะที่มีเชื้อไวรัส เชื้อก็จะติดอยู่ที่มือ และอาจเข้าสู้ร่างกายเราได้ง่ายๆ เพียงแค่เราสัมผัสใบหน้า

ดังนั้น แนวหน้าในการสู้กับเชื้อโคโรนาไวรัสของเราก็คือ "มือ" ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (CDC) แนะนำว่า การล้างมือด้วยสบู่และน้ำ คือวิธีทำความสะอาดที่ได้ผลที่สุด หากไม่สะดวกให้ใช้แอลกอฮอล์เจลที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60%

ล้างมือด้วย สบู่ vs แอลกอฮอล์

สบู่ธรรมดากับการกำจัดเชื้อไวรัส

พัลลี ธอร์ดาร์สัน นักเคมีจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย เผยไว้ในทวิตเตอร์ว่า สบู่เปรียบเสมือนทีมทำลายล้างที่เข้าไปทำลายตึกด้วยการพังทลายอิฐทีละก้อน เพราะฉะนั้น การล้างมือจึงไม่เพียงแต่เป็นการล้างเชื้อไวรัสออกจากมือเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำลายไวรัสด้วย

ความสำคัญและการทำงานของสบู่

เรื่องนี้ธอร์ดาร์สัน อธิบายขยายความความสำคัญและการทำงานของสบู่กับเว็บไซต์ Vox ว่าสบู่จะมีสองขั้ว ขั้วหนึ่งจะชอบน้ำแต่ไม่ชอบโปรตีนและไขมัน อีกขั้วหนึ่งไม่ชอบน้ำแต่ชอบโปรตีนและไขมัน คุณสมบัติข้อนี้ทำให้สบู่มีประสิทธิภาพที่สุด

ยกตัวอย่างการทำงานของสบู่ว่า หากหยดน้ำมันลงในน้ำ น้ำมันจะรวมตัวกันลอยอยู่เหนือน้ำ เพราะน้ำมันไม่รวมตัวกับน้ำ แต่หากหยดน้ำสบู่ลงไป น้ำมันจะกระจายตัว นั่นเป็นเพราะสบู่ขั้วที่ชอบไขมันจะไปจับกับน้ำมัน ส่วนขั้วที่ชอบน้ำก็จะดึงไขมันไปรวมกับน้ำ ทำให้น้ำมันแตกตัว สรุปง่ายๆ ก็คือสบู่จะเข้าไปล้อมรอบน้ำมัน แล้วแยกน้ำมันที่รวมตัวกันอยู่ให้กระจายออก

หลักการนี้ใช้ได้ผลกับเชื้อโคโรนาไวรัสเช่นกัน เนื่องจากเชื้อจะถูกล้อมรอบด้วยไขมันและโปรตีน เมื่อเจอสบู่ ไขมันเหล่านี้จะถูกแยกออกจากกัน และแม้จะมีส่วนที่เข้าไปรวมตัวกับไขมัน แต่โปรตีนและไขมันที่เป็นเกราะป้องกันโคโรนาไวรัสจับตัวกันอยู่หลวมๆ ทำให้สบู่สามารถทำลายเกราะป้องกันของโคโรนาไวรัสได้ง่ายดาย เมื่อเกราะคุ้มกันแตกเชื้อไวรัสก็แตกออกด้วย และหมดฤทธิ์ไปในที่สุด

สำหรับเงื่อนไขสำคัญก็คือ ปฏิกิริยาเหล่านี้ต้องใช้เวลา และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมต้องล้างมืออย่างน้อย 20 วินาที อีกทั้งผิวหนังบนมือของเรายังเต็มไปด้วยรอยย่อนรอยพับต่างๆ เพราะฉะนั้น กว่าสบู่จะซึมเข้าไปยังซอกเล็กๆ และกำจัดไวรัสหรือเชื้อโรคที่ซุกซ่อนอยู่จึงต้องใช้เวลาครู่หนึ่ง

ล้างมือด้วย สบู่ vs แอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์กับการกำจัดเชื้อไวรัส

เจลล้างมือหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือแบบไม่ต้องล้างน้ำออก ทั้งชนิดเจล ของเหลว และสเปรย์ จัดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางควบคุม มีส่วนประกอบสำคัญคือ แอลกอฮอล์ (alcohol) ในปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 70 อาจมีสารฆ่าเชื้อ เช่น ไตรโคลซาน สารที่ทำให้เกิดสภาพเจล (gelling agent) เช่น carbomer สารให้ความชุ่มชื้นลดการแห้งของผิว (emollients) เช่น ว่านหางจระเข้ (Aloe vera), tea tree oil และกลีเซอรอล, สีและน้ำหอมเป็นส่วนผสม หากผลิตภัณฑ์มีปริมาณแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และใช้กับผิวหนังมนุษย์จะจัดเป็นยา เช่น แอลกอฮอล์ล้างแผล

เจลล้างมือเป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถพกพาไปใช้ได้สะดวก ทดแทนการล้างมือ ด้วยน้ำและสบู่ ลดการน้าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัส โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วมใหญ่ปลายปี พ.ศ. 2554 และเมื่อมีการระบาดของโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009, โรคมือเท้าปากเปื่อย เป็นต้น ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังไม่มีเกณฑ์ควบคุมคุณภาพด้านประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เจลล้างมือที่วางจ้าหน่ายทั่วไปในท้องตลาด แต่หากผลิตภัณฑ์ไม่มีประสิทธิภาพในการลดเชื้อได้จริงแล้ว เมื่อน้ามาใช้อาจท้าให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้อีกด้วย

คุณสมบัติทางกายภาพและการออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์

โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเจลล้างมือ คือ เอทานอล (ethanol หรือ ethyl alcohol) เป็นของเหลวใสไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหย ได้ดี แต่มีแอลกอฮอล์อีกชนิด นั่นคือ เมทานอล (methanol หรือ methyl alcohol ) ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ที่มีพิษ ห้ามใช้กับร่างกาย ใช้ในสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์ สำหรับผสมแลคเกอร์ เมทานอลสามารถดูดซึมได้ทางผิวหนัง ลมหายใจ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากจะท้าให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบ หลอดคออักเสบ กรณีที่มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาอาจส่งผลท้าให้เยื่อบุตาอักเสบ หากสูดดมเข้าไปมากๆจะท้าให้เกิด การปวดท้อง เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก การมองเห็นจะผิดปกติจนอาจท้าให้ตาบอดได้

การออกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะไปยับยั้งการเจริญของเซลล์แบคทีเรียหลากหลายชนิด รวมถึง ไวรัส และเชื้อรา จึงนิยมใช้ในการฆ่าเชื้อผิวหนังและพื้นผิวทั่วไป แอลกอฮอล์เป็นสารที่ท้าให้เกิดการคายน้ำ (strong dehydrating agent) ออกจากเซลล์ แล้วดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าไปท้าให้เซลล์เมมเบรนถูกท้าลายและโปรตีนเปลี่ยนสภาพอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องไปรบกวนเมตาบอลิซึมและท้าให้เซลล์ถูกท้าลายในที่สุด 

โดยนิยมใช้สารละลายแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 70% เนื่องจากระเหยไม่เร็วเกินไปและมีปริมาณน้ำเพียงพอที่จุลินทรีย์จะดูดซึม และออกฤทธิ์ท้าลายเซลล์ ขณะที่แอลกอฮอล์ 95-100% จะมีการระเหยรวดเร็วมากและมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอที่จะดูดซึมเข้าไปในเซลล์เมมเบรน แต่จะทำให้เกิดการคายน้ำออกจากเซลล์อย่างรวดเร็วโดยไม่ได้ฆ่า และเมื่ออยู่ในสภาวะเหมาะสม จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับน้ำเข้าเซลล์จะสามารถคงสภาพเดิมได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า 50% จะมีประสิทธิภาพในการท้าลายจุลินทรีย์ลดน้อยลงมาก

ส่วนเงื่อนไขสำคัญสำหรับการใช้แอลกอฮอล์เจล นอกจากความเข้มข้นแล้ว หากมือเปียกหรือมีเหงื่อขณะใช้แอลกอฮอล์เจล ประสิทธิภาพการกำจัดไวรัสก็จะลดลง เนื่องจากถูกน้ำหรือเหงื่อเจือจาง

อ้างอิง : จากปากนักเคมี ทำไมสบู่ถึงฆ่าโคโรนาไวรัสได้ดีที่สุด และ แอลกอฮอล์เพื่อการสาธารณสุข

ภาพ : Freepik