posttoday

คู่มือประจำวัย รับมือยังไงกับวัย 18

18 กันยายน 2562

คนวัย 18 จะมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งแตกต่างจากคนในยุคก่อนหน้า ความแตกต่างในช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ การให้พื้นที่ในการคิดโดยไม่ชี้ผิดถูก เป็นวิธีที่จะทําให้คนวัยนี้พร้อมเปิดใจ

Generation Z มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งแตกต่างจากคนในยุคก่อนหน้า ความแตกต่างในช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ การให้พื้นที่ในการคิดโดยไม่ชี้ผิดถูกเป็นวิธีที่จะทําให้คนวัยนี้พร้อมเปิดใจ

คนวัย 18 ในยุคสมัยนี้มีลักษณะเฉพาะตัว และแตกต่างจากคนในยุคก่อนหน้า ความแตกต่างนี้รวมไปถึงเรื่องของวิถีชีวิต ความสนใจ รสนิยม ทัศนคติ ทั้งในชีวิต ประจําวัน และการทํางาน เช่น คนรุ่นนี้มีความสนใจที่หลากหลาย และชอบทดลองทําสิ่งต่างๆ แบบที่ไม่ซ้ําเดิม เป็นต้น

นอกจากความแตกต่างที่ไม่เหมือนกับรุ่นก่อนๆ คน Gen นี้ยังมีความหลากหลายในหมู่คนรุ่นเดียวกันเองด้วย ซึ่งสังคมและคนรอบข้างควรให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด เพราะกลุ่มคนวัยนี้คือกลุ่มคนที่มีพลัง มีความสร้างสรรค์ ซึ่งกําลังก้าวขึ้นมาสู่วัยผู้ใหญ่ที่จะเป็นเรี่ยวแรงในการกําหนดทิศทางของสังคม

แต่ขณะเดียวกัน คนวัย 18 ก็ยังไม่ได้ถือว่าเป็นวัย “ผู้ใหญ่” อย่างเต็มตัว แต่เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง และการค้นหาตัวเอง เพื่อทําการตัดสินใจและตั้งเป้าหมายสําคัญๆ ในชีวิต การให้พื้นที่กับคนอายุ 18 โดยไม่ชี้ผิดถูก เป็นวิธีที่ดีที่จะทําให้คนวัย 18 พร้อมเปิดใจ ซึ่งจะนําไปสู่การมีสัมพันธภาพที่ดี ผ่านการพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่พวกเขาไว้ใจ

จากความสําคัญนี้ สสส. จึงได้ระดมองค์ความรู้จาก สสส. รวมถึงภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่ชุดความรู้ที่เหมาะ กับคนวัย 18 ออกไปสู่สังคม นี่จึงเป็นเหตุผลในการจัดทํา “ชุดคู่มือสําหรับวัย 18” ชุดนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นอีกแรงขับเคลื่อนหนึ่ง ทั้งกับคนอายุ 18 ปีเอง และคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถนําเอาข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอดและใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยกําหนดทิศทางชีวิตที่เปี่ยมด้วยสุขภาวะ

คู่มือประจำวัย รับมือยังไงกับวัย 18

ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายสนุกๆ ที่ทำได้จริงและไม่ล้มเหลวคือ การใช้หลักการของ S.M.A.R.T. ซึ่งเป็นวิธียอดนิยมใช้ในการวางเป้าหมายทางด้านการเงิน แต่สามารถนำมาปรับใช้กับการวางเป้าหมายในชีวิตได้เป็นอย่างดี

  • S. Specific – การตั้งเป้าหมายจะต้องมีความเจาะจง ไม่ใช่แค่การตั้งไว้กว้างๆ เพื่อทำให้เรามองเห็นภาพของเป้าหมายได้ชัดเจน
  • M. Measurable – เป้าหมายของเราต้องมีตัวชี้วัด ที่จะทำให้เราวัดผลความสำเร็จได้อย่างชัดเจน
  • A. Achievable – เป้าหมายของเราต้องสามารถทำได้จริง ไม่ใช่ตั้งเป้าที่ยากจนเกินความสามารถของมนุษย์
  • R. Relevant – เป้าหมายต้องมีความสอดคล้องกับความเป็นจริงของตัวเอง และสอดคล้องกับเป้าหมายอื่นๆ ในชีวิต
  • T. Time-bound – เป้าหมายที่ดีต้องมีกรอบเวลา ซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ 1.ระยะสั้น 2.ระยะกลาง 3.ระยะยาว แต่สำหรับวัยรุ่นที่ยังมีโอกาสในการสำรวจความสนใจในชีวิตอีกมากมาย เป้าหมายระยะสั้นและกลางอาจจะเหมาะสมต่อการวางเป้าหมายที่สุด