posttoday

ท่องแดนดรุกยุล ยล ‘ซอง’ ส่อง ‘หิมาลัย’

30 มีนาคม 2556

เป็นครั้งแรกที่ได้ไปภูฏาน (Kingdom of Bhutan) จึงค่อนข้างตื่นเต้น เพราะไม่เคยคิดมาก่อนหน้านี้เลยว่าจะมีโอกาสได้ไปเหยียบย่ำ

เป็นครั้งแรกที่ได้ไปภูฏาน (Kingdom of Bhutan) จึงค่อนข้างตื่นเต้น เพราะไม่เคยคิดมาก่อนหน้านี้เลยว่าจะมีโอกาสได้ไปเหยียบย่ำ

โดย...ภควิตา อัจจาทร

เป็นครั้งแรกที่ได้ไปภูฏาน (Kingdom of Bhutan) จึงค่อนข้างตื่นเต้น เพราะไม่เคยคิดมาก่อนหน้านี้เลยว่าจะมีโอกาสได้ไปเหยียบย่ำ เนื่องจากรับรู้มาว่าเป็นประเทศที่ไปไม่ง่ายนัก แถมค่าใช้จ่ายสูง นักท่องเที่ยวคนหนึ่งถ้าไปสัก 4-5 วัน ตกคนละ 6-8 หมื่นบาท ขึ้นอยู่กับว่าจะไปในหน้าโลว์ซีซันหรือไฮซีซัน แต่ไม่ว่าจะไปช่วงไหนก็ให้ความรู้สึกดีคนละแบบ สำหรับคนไทยแล้วถ้าไปหน้าหนาวอาจจะเที่ยวไม่ค่อยสนุกสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะพวกขี้หนาวและไม่ชอบอากาศเย็นจัดมากถึงขั้นหิมะตก

ทริปนี้แม้บริษัท นิสโก้ ทราเวล นำโดยคุณมินท์มันตา พานทอง จะเชิญไปสำรวจเส้นทางตอนฤดูหนาวจะสิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือน ก.พ. ก่อนจะเข้าฤดูใบไม้ผลิในเดือน มี.ค. แต่ขอบอกว่าในพื้นที่สูงๆ หลายแห่งอากาศยังเย็นอยู่ ต้องสวมเสื้อกันหนาวแบบไปเที่ยวยุโรปอย่างนั้นแหละ และยังเห็นหิมะกองเต็มไปหมด ซึ่งก็ดีทีเดียวเพราะทำให้ได้ภาพสวยๆ ประเภทท้องฟ้าสีครามจัด ตัดกับยอดเขาสูงเด่นที่มีหิมะสีขาวปกคลุม ขณะที่ส่วนอื่นๆ เป็นสีน้ำเงิน เป็นความงดงามที่ธรรมชาติเสกสรรปั้นแต่งได้อย่างมหัศจรรย์ ทำเอานักท่องเที่ยวจากต่างแดนทั้งหลายถ่ายรูปกันจนลืมความหนาวเหน็บ

ตั้งชื่อเรื่องแบบนี้หลายคนคงอยากรู้ว่า ดรุกยุล (Druk Yul) แปลว่าอะไร คำนี้เป็นชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศ แปลว่า “ดินแดนของมังกรสายฟ้า” (Land of the Thunder Dragon) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ประเทศภูฏานเสียงสายฟ้าฟาด เชื่อกันว่าคือเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน หมายถึง “แผ่นดินบนที่สูง” บางตำราก็ว่านักสำรวจชาวตะวันตกยุคโบราณเรียกดินแดนแถบนี้ว่า โภ-ฏัน หมายถึง ดินแดนคนโภเทียส หรือคนที่มาจากภูเขาสูงในทิเบต

ณ วันนี้ เชื่อว่าคนไทยรู้จักประเทศนี้ค่อนข้างลึกซึ้ง โดยเฉพาะบรรดาสาวๆ และไม่สาวทั้งหลายที่ชื่นชมพระจริยวัตรอันงดงามของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งในวันที่ไปกันนั้นเป็นวันที่ตรงกับวันคล้ายวันประสูติของกษัตริย์หนุ่มพระองค์นี้ครบ 33 พรรษา (ประสูติ 21 ก.พ.. 2523) และเป็นวันหยุดราชการ บรรดานักเรียนนักศึกษาต่างก็ไปรำอวยพรแด่พระองค์ท่าน พวกเราเองในฐานะนักท่องเที่ยวจากต่างแดนก็ถือโอกาสร่วมอวยพรไปกับชาวภูฏานด้วย

นักท่องเที่ยวไทยบางกลุ่มโชคดี ในวันที่นั่งสายการบินแห่งชาติของภูฏาน “ดรุกแอร์” มายังพาโร เครื่องแวะจอดที่สนามบินดักกา ประเทศบังกลาเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ฯ และพระชายา ได้ประทับเครื่องบินลำนั้นมาด้วย และเมื่อเห็นกลุ่มสาวไทยจ้องมองด้วยสายตาชื่นชมพระบารมีพระองค์ก็ทรงโบกพระหัตถ์ทักทาย ทำเอาสาวไทยปลื้มสุดๆ ไม่นึกว่าพระองค์ท่านจะทรงเมตตาขนาดนี้

ช่วงที่อยู่ภูฏาน 4 คืน 5 วัน ได้เจอคนไทยในสถานที่ท่องเที่ยวเกือบจะทุกแห่ง นี่แสดงให้เห็นว่าคนบ้านเรามีตังค์ ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจ เมื่อมิสเตอร์ Rinchen Phuntsho ไกด์ร่างใหญ่ชาวภูฏานวัยเกือบ 50 เล่าว่า ในบรรดานักท่องเที่ยวต่างชาตินั้น พวกยุโรปมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยญี่ปุ่น ส่วนคนไทยเริ่มมามากขึ้นตั้งแต่เมื่อ 5 ปีที่แล้ว อย่างปีก่อนไทยมา 7,000-8,000 คน ส่วนคนจีน 2 ปีที่แล้วก็มามากขึ้นเช่นกัน

ภูฏานนั้นเป็นประเทศเล็กๆ มีพื้นที่แค่ 4,000 กว่าตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างอินเดียกับจีน มองไปทางไหนก็เจอแต่ภูเขาสูง จนได้รับการขนานนามว่า “สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย” พรมแดนส่วนใหญ่ติดกับหลายรัฐของอินเดีย นับเป็นประเทศที่มีความหลากหลายแบบสุดขั้ว อย่างยอดเขาสีขาวโพลนที่สูงกว่า 7,000 เมตร ทางตอนเหนือไล่ไปจนถึงที่ราบลุ่มเขียวขจีตามแนวขอบประเทศทางตอนใต้ที่สูง 300 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ประชากรในประเทศเล็กๆ แห่งนี้มีเพียง 7 แสนกว่าคน ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ คือ ชาชอฟ (Sharchops) เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม อยู่ทางภาคตะวันออก พวกนาล็อบ (Ngalops) เชื้อสายทิเบต อยู่ทางภาคตะวันตก และพวกโชซัม (Lhotshams) เชื้อสายเนปาล อยู่ทางภาคใต้ ที่นี่ถือเป็นดินแดนที่มีสเน่ห์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งทางด้านประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ โดยเฉพาะความเชื่อในศาสนาพุทธมหายานนิกายนิตันตรยาน หรือวัชรยาน ที่มีลามะเหมือนทิเบต

ความน่าสนใจอย่างยิ่งของดินแดนแห่งนี้ จนทำให้ผู้คนในยุคทุนนิยมจำต้องกลับไปทบทวนตัวเองก็คือ นโยบายของชาติที่ไม่สนใจ GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH มากกว่า (ความสุขมวลรวมประชาชาติ) ทำเอานักเดินทางจากทั่วโลกอยากไปสัมผัสดินแดนเทือกเขาสูงแห่งนี้ แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าครึ่งแสนก็ตาม

ใครไปทัวร์ภูฏาน โปรแกรมท่องเที่ยวของทุกบริษัท รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วไปมักจะไม่แตกต่างกันนัก โดยจะไป 3 เมืองหลักๆ คือ “พาโร” ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติภูฏาน เป็นเมืองการค้าและพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ “ทิมพู” เป็นเมืองหลวงมีประชากรกว่าแสนคน และปูนาคาอดีตเมืองหลวงเก่า

สถานที่ท่องเที่ยวของ 3 เมืองนี้ก็คือ บรรดาซอง (Dzong) ทั้งหลาย วัดและตลาดซึ่งแต่ละทีก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป ในขณะเดียวกันก็มีความเหมือนกันในหลายจุด

การใช้จ่ายในภูฏานดีอย่างหนึ่งตรงที่ใช้เงินได้หลายสกุลทั้งของภูฏาน “งุลตรัม” (Ngultrum)