posttoday

กวางตุ้ง คะน้า กะเพรา พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากที่สุด

26 มิถุนายน 2562

ชั่งใจก่อนช้ำใจ เปิดผลตรวจผัก-ผลไม้ปี 2562 มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานร้อยละ 41 พบห้างค้าปลีกมีสารพิษตกค้างในผักเกินมาตรฐานมากกว่าตลาดสด นอกจากนี้ ยังพบสารพิษที่ห้ามใช้ในประเทศไทยตกค้าง

ชั่งใจก่อนช้ำใจ เปิดผลตรวจผัก-ผลไม้ปี 2562 มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานร้อยละ 41 พบห้างค้าปลีกมีสารพิษตกค้างในผักเกินมาตรฐานมากกว่าตลาดสด นอกจากนี้ ยังพบสารพิษที่ห้ามใช้ในประเทศไทยตกค้าง

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thailand Pesticide Alert Network: Thai-PAN) หรือไทยแพน กลุ่มนักวิชาการจากหลากหลายสาขาองค์กรสาธารณประโยชน์ด้านการเกษตรและการคุ้มครองผู้บริโภค และกลุ่มเกษตรกรที่ตระหนักถึงความอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เปิดผลตรวจผักผลไม้พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานร้อยละ 41 พบห้างค้าปลีกมีสารพิษตกค้างในผักเกินมาตรฐานมากกว่าตลาดสด นอกจากนี้ยังพบสารพิษห้ามใช้ในประเทศไทยตกค้าง 12 ชนิด

กวางตุ้ง คะน้า กะเพรา พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากที่สุด

จากการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 286 ตัวอย่าง ทั้งในห้างค้าปลีก ตลาดสดทั่วไปในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ยโสธร สระแก้ว จันทบุรี ราชบุรี และสงขลา ครอบคลุมผัก 15 ชนิด และผลไม้ 9 ชนิดที่นิยมบริโภคทั่วไป โดยส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO-17025 ในประเทศสหราชอาณาจักร พบว่า ผักผลไม้มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึงร้อยละ 41 !!!

กวางตุ้ง คะน้า กะเพรา พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากที่สุด

สำหรับผักที่พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากที่สุดคือ "ผักกวางตุ้ง คะน้า กะเพรา ผักชี พริก กะหล่ำดอก ผักชี" โดยพบ 10, 9,8,7,7,7 ตัวอย่างจาก 12 ตัวอย่างตามลำดับ

กวางตุ้ง คะน้า กะเพรา พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากที่สุด

ส่วนผลไม้ที่พบการตกค้างมากที่สุด ได้แก่ "ส้ม ชมพู่ ฝรั่ง องุ่น" โดยพบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน 12,11,7,7 ตัวอย่างจากการสุ่มตรวจ 12 ตัวอย่างตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผักและผลไม้ที่ปลูกในประเทศกับผลไม้นำเข้าพบว่า ผลไม้นำเข้าพบการตกค้างร้อยละ 33 แต่พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานสูงถึงร้อยะ 48.7 ที่ผลิตในประเทศ ข้อมูลที่น่าสนใจคือเมื่อเปรียบเทียบผักผลไม้ที่ขายให้ห้างค้าปลีกซึ่งประชาชนต้องซื้อในราคาสูงกว่าผักผลไม้ในตลาดทั่วไปหลายเท่านั้น การเฝ้าระวังและตรวจวิเคราะห์ในปีนี้พบว่าผักผลไม้ในห้างค้าปลีกมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานมากกว่าตลาดสด โดยพบมากถึงร้อยละ 44 (พบ 52 ตัวอย่างจาก 118 ตัวอย่าง) ในขณะที่ในตลาดสดพบร้อยละ 39 (66 จาก 168 ตัวอย่าง)

ทั้งนี้ อัตราการตกค้างของผักและผลไม้ในปี 2562 นั้นลดลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผลการเฝ้าระวังในปี 2560 ซึ่งไทยแพนพบการตกค้างเกินมาตรฐานร้อยละ 46 และผักผลไม้ที่ได้ตรารับรองคุณภาพ GAP, GMP พบการตกค้างเหลือร้อยละ 26 เท่านั้น

กวางตุ้ง คะน้า กะเพรา พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานมากที่สุด

ส่วนผักผลไม้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของรัฐ "Organic Thailand" ยังคงต้องปรับปรุง เพราะไทยแพนพบการตกค้างของสารพิษ 3 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่าง ในขณะที่ตรารับรองเกษตรอินทรีย์อื่น เช่น USDA, EU, Bioagricert, มกท. (สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์) สุ่มไม่พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานเลย

นอกจากนี้ ยังพบว่าสารพิษกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างมากที่สุดคือ สารฆ่าเชื้อรา คาร์เบนดาซิม (carbendazim) ซึ่งไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในสหรัฐอเมริกานานกว่าทศวรรษ เพราะมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ แต่กลับพบการตกค้างในผักและผลไม้ถึง 57 ตัวอย่าง รองลงมาคือไซเปอร์เมทริน อิมิดาคลอร์ฟริด เอซอกซิสโตรบิน และคลอร์ไพริฟอสซึ่งเป็นสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนการสมองของเด็ก พบ 54, 41, 39 และ 38 ตัวอย่างตามลำดับ และยังพบสารพิษกำจัดศัตรูพืชที่ยกเลิกการใช้ไปแล้ว เช่น เมทามิโดฟอส ถึง 8 ตัวอย่าง พบสารพิษที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน เช่น คาร์โบฟูราน 9 ตัวอย่าง เมโทมิล 8 ตัวอย่าง และสารซึ่งไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 มากถึง 9 ชนิด เช่น Boscalid, Ethirimol, Fenhexamid, Fluxapyroxad, Isopyrazam, Metrafenone, Proquinazid, Pyrimethanil, Quinoxyfen ซึ่งสาร 3 กลุ่มนี้ทั้งหมดล้วนผิดกฎหมายและเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ปล่อยให้มีการใช้ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ปล่อยให้มีการตกค้าง