posttoday

โรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง) โรคที่พรากราชินีลูกทุ่งไทยไปอย่างไม่มีวันกลับ

13 มิถุนายน 2562

13 มิถุนายน 2562 ครบรอบ 27 ปีสิ้นราชินีลูกทุ่ง "พุ่มพวง ดวงจันทร์" ผู้จากไปด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือโรคที่เราขนานนามตามชื่อ "โรคพุ่มพวง" ชวนทุกคนตระหนักถึงสาเหตุและรู้วิธีการสังเกตตัวเอง

13 มิถุนายน 2562 ครบรอบ 27 ปีสิ้นราชินีลูกทุ่ง "พุ่มพวง ดวงจันทร์" ผู้จากไปด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือโรคที่เราขนานนามตามชื่อ "โรคพุ่มพวง" ชวนทุกคนตระหนักถึงสาเหตุและรู้วิธีการสังเกตตัวเอง

โรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง) คืออะไร

โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายมีความผิดปกติ โดยภูมิคุ้มกันจะต่อต้านและทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ จนเกิดเป็นอาการอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีอาการป่วยรู้สึกเหนื่อยล้า มีผื่นแดงตามใบหน้า ตาแห้ง ตัวบวม ขาบวม ปวดหัว ปวดบวมตามข้อต่อกระดูก ผมร่วง เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่คนไทยเรียกโรคนี้ว่า "โรคพุ่มพวง" เนื่องจากเป็นโรคที่ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ศิลปินนักร้องลูกทุ่งชื่อดังของไทยได้ป่วยและเสียชีวิตลงด้วยโรคนี้

ประเภทของโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาทิ

  1. SLE : โรคแพ้ภูมิตนเองชนิดที่มักพบบ่อย และเป็นชนิดที่คุณพุ่มพวงป่วยและเสียชีวิต ภูมิคุ้มกันจะทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะที่สมบูรณ์ ทำให้เกิดอาการและความเจ็บป่วย เช่น ผื่นแดงทางผิวหนัง ข้ออักเสบ สมองและระบบประสาทได้รับความเสียหาย อาจเกิดอาการทางประสาทอย่างเห็นภาพหลอนร่วมด้วย รวมถึงข้อต่อ ไต และอวัยวะอื่น ๆ
  2. Neonatal Lupus : โรคแพ้ภูมิในทารกแรกเกิด
  3. Drug-induced Lupus : โรคแพ้ภูมิจากยา อาการแพ้เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่มและจะหายเมื่อหยุดใช้ยานั้น
  4. Discoid Lupus Erythematosus : โรคที่มีผื่นแดงขึ้นที่ใบหน้าและสร้างรอยแผลเป็นหลังผื่นหาย
  5. Subacute Cutaneous Lupus Erythematosus : โรคผื่นกึ่งเฉียบพลัน โดยผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดจะเป็นผื่น

โรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง) โรคที่พรากราชินีลูกทุ่งไทยไปอย่างไม่มีวันกลับ ภาพ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์

อาการของโรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง)

สัญญาณอันตรายที่เป็นอาการเริ่มต้นของโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง มีหลากหลายอาการขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดความผิดปกติจนมีอาการอักเสบในระยะแรก ไปจนถึงระยะเรื้อรังที่อาจเริ่มเกี่ยวพันกับอวัยวะส่วนอื่นๆ

  • อาการผิดปกติทั่วไปที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผอมลง
  • อาการทางผิวหนัง เช่น มีผื่นแดง มักขึ้นบริเวณใบหน้า ช่วงตรงกลาง และโหนกแก้มทั้งสองข้าง รูปร่างคล้ายผีเสื้อ และอาจมีอาการผมร่วงด้วย
  • อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ อาจไม่มีอาการบวมแดง แต่ปวดได้ทุกส่วนที่มีข้อ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว
  • อาการทางปอด เช่น เจ็บหน้าอก ไอ ปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ มีน้ำในปอด เหนื่อยง่าย เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ไปจนถึงหัวใจเต้นผิดปกติ
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร
  • อาการทางไต ความดันโลหิตสูง เช่น ขาบวม จากการบวมน้ำ
  • อาการทางระบบโลหิต เช่น โลหิตจาง ภาวะซีด ความดันโลหิตต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ หลอดเลือดอักเสบ อาจจะพบเป็นจุดแดงๆ เล็กๆ ทั่วตัวคล้ายไข้เลือดออก
  • อาการทางระบบประสาท เช่น มีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรง ไม่มีสมาธิ เครียด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาในการจำ สับสน เห็นภาพหลอน โดยอาจเป็นผลข้างเคียงมาจากอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบอีกทีได้

วิธีสังการอาการส่วนใหญ่ที่พบของโรคพุ่มพวง คือ รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนแรงมีไข้ ปวดหัวตาแห้ง ตาบวม มีผื่นแดงขึ้นตามใบหน้า ปากเป็นแผล ผมร่วง
นิ้วมือ นิ้วเท้าซีด ผิวไวต่อแสงแดด หายใจช่วงสั้นๆ เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจเข้าลึกๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดบวมตามข้อ ขาบวม รู้สึกมึนงง สูญเสียความทรงจำ

สาเหตุของโรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง)

เกิดความผิดปกติของการทำงานระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ที่ควรจะมีปฏิกิริยาต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย แต่กลับมีปฏิกิริยาต่อต้านทำลายเนื้อเยื่อตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายตัวเองแทน แม้สาเหตุการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่อาจเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่

  • พันธุกรรม การถ่ายทอดทางพันธุกรรมอาจส่งต่อลักษณะบางอย่างที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคได้ 
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของเพศหญิงในช่วงตั้งครรภ์ หรือช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • การติดเชื้อ การได้รับเชื้อต่างๆ อย่างไวรัสบางชนิด
  • การใช้ยา ยาบางประเภท เช่น ยาต้านอาการชัก ยาปฏิชีวนะ และยากลุ่มควบคุมความดันโลหิต
  • การได้รับสาร เช่น สารเคมี การสูบบุหรี่ และยาสูบต่าง ๆ
  • แสงแดด สำหรับคนที่มีผิวไวต่อแดด การสัมผัสแสงแดดอาจทำให้เกิดรอยโรค เป็นเหตุให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา
    การวินิจฉัยโรคพุ่มพวง
  • ความเครียด ทั้งจากการทำงานหนัก สภาวะจิตใจ และออกกำลังกายมากเกินไป

การป้องกันโรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง)

สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคได้ โดยการดูแลรักษาร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป ไม่สูบบุหรี่ ไม่ตากแดดที่ร้อนจ้าหรือเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงสารเคมีเป็นพิษในชีวิตประจำวัน รักษาสุขอนามัยของตัวเองให้สะอาด ลดโอกาสในการติดเชื้อ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนทานยาอะไรเป็นประจำ

ทำความรู้จักกับราชินีลูกทุ่ง

โรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง) โรคที่พรากราชินีลูกทุ่งไทยไปอย่างไม่มีวันกลับ

สำหรับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ มีชื่อจริงว่า รำพึง จิตรหาญ เรียกชื่อเล่นกันว่า ผึ้ง เป็นคนจังหวัดสุพรรณบุรี เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 เสียชีวิตด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ด้วยวัย 31 ปี เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเจ้าของฉายา "ราชินีลูกทุ่ง" ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวานซึ้งตรึงใจ สามารถจำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้แก่นักร้องรุ่นหลัง

โรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง) โรคที่พรากราชินีลูกทุ่งไทยไปอย่างไม่มีวันกลับ

ผลงานเพลงดัง เช่น ส้มตำ, นักร้องบ้านนอก, กระแซะเข้ามาซิ, อื้อหือหล่อจัง, หนูไม่รู้, หัวใจถวายวัด, ขุดดินแช่ง, ขอให้รวย, หม้ายขันหมาก, อนิจจาทิงเจอร์, เสียสาวเมื่ออยู่ ม.ศ. ฯลฯ และทุกเพลงก็ประสบความสำเร็จ

โรคพุ่มพวง (แพ้ภูมิตัวเอง) โรคที่พรากราชินีลูกทุ่งไทยไปอย่างไม่มีวันกลับ

นอกจากนี้ ยังได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยภาพยนตร์เรื่องแรกคือ สงครามเพลง แสดงคู่กับ ยอดรัก สลักใจ แม้เจ้าตัวจะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็มีความจำดีเยี่ยมโดยให้ผู้อื่นอ่านบทให้ฟัง และแสดงถูกต้องตามบท