posttoday

เข้าคูหา กาให้ถูก รักษาสิทธิ์บัตรดีเพื่อเสียงที่ไม่สูญเปล่า

22 มีนาคม 2562

เตรียมตัวใช้สิทธิ์ กาบัตรเลือกตั้งอย่างไร เรียกว่า "บัตรดี-บัตรเสีย"

เตรียมตัวใช้สิทธิ์ กาบัตรเลือกตั้งอย่างไร เรียกว่า "บัตรดี-บัตรเสีย"

ในขณะที่เรากำลังนับถอยหลังเข้าสู่การเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งจะเป็นการ "เข้าคูหากาบัตรใบเดียว" สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ได้นำเสนอ "ตัวอย่างบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" ให้ "ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง"  ได้รู้จักทำความเข้าใจ

เมื่อแสดงตนต่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเพื่อเข้าไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วจะได้รับ "บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" 1 ใบ มี 2 ด้าน ดังนี้

เข้าคูหา กาให้ถูก รักษาสิทธิ์บัตรดีเพื่อเสียงที่ไม่สูญเปล่า

ด้านหน้ามุมขาวระบุข้อความ "บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" มุมซ้ายระบุ "คำเตือน" ใจความว่า ห้ามมิให้นำบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง หรือจงใจทำเครื่องหมายเพื่อเป็นที่สังเกต ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ได้ลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว ห้ามนำบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว แสดงให้ผู้อื่นเห็นว่า ลงคะแนนหรือลงคะแนนไม่เลือกผู้สมัครใด และต้องนำบัตรเลือกตั้งหย่อนลงหีบบัตรด้วยตนเอง หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

ด้านในจะมีเนื้อหาข้อมูลที่สำคัญ คือ "หมายเลขประจำตัวผู้สมัคร ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง และชื่อพรรคการเมือง" เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตัดสินใจทำเครื่องหมายกากบาท X ภายใน "ช่องทำเครื่องหมาย" ไม่เกินหนึ่งหมายเลข ถ้าไม่ประสงค์ลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครใดเลย ให้ทำเครื่องหมาย X ใน "ช่องไม่เลือกผู้สมัครใด" ที่มุมด้านขวาล่าง

ส่วนการกาเครื่องหมาย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 91 "การออกเสียงลงคะแนน" ระบุเอาไว้ว่า ให้ทําเครื่องหมายกากบาทลงในช่องทําเครื่องหมายของหมายเลขผู้สมัครในบัตรเลือกตั้ง และในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งประสงค์จะลงคะแนนไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด ให้ทําเครื่องหมายกากบาทลงในช่องทําเครื่องหมาย "ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด"

แล้วกาแบบไหนถึงถูกหรือผิด และกลายเป็นบัตรดี-บัตรเสีย เมื่ออ้างอิงจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 จะพบว่านิยามของ "กากบาท" คือการกาชื่อเครื่องหมายตีนกา รูป + หรือ x

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้เปิดเผยแนวทางการกาบัตรเลือกตั้งพร้อมแนวทางการวินิจฉัยแยกบัตรดีและบัตรเสียตามลักษณะการขีดเส้นกากบาทในช่องทำเครื่องหมายของหมายเลขผู้สมัครในบัตรเลือกตั้ง โดยมีหน้าตาการทำเครื่องหมายในบัตรดีและบัตรเสีย ดังนี้

เข้าคูหา กาให้ถูก รักษาสิทธิ์บัตรดีเพื่อเสียงที่ไม่สูญเปล่า