posttoday

5 วิธี ทำพินัยกรรม เพื่อความสงบเรียบร้อย

12 มีนาคม 2562

คำว่าความไม่แน่นอนคือความแน่นอน หรือชีวิตเป็นของไม่เที่ยงนั้นก็เป็นเรื่องจริง หลายอย่างในชีวิตเป็นเรื่องที่คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ แต่ก็มีอีกหลายเรื่องเช่นกันที่เราสามารถเตรียมความพร้อมเอาไว้ได้ ทำทุกอย่างให้เรียบร้อยเพื่อความสบายใจของตัวเองและจัดระเบียบชีวิตให้พร้อม เพื่อที่คนข้างหลังจะไม่ต้องวุ่นวายจนกลายเป็นแตกความสามัคคี

คำว่าความไม่แน่นอนคือความแน่นอน หรือชีวิตเป็นของไม่เที่ยงนั้นก็เป็นเรื่องจริง หลายอย่างในชีวิตเป็นเรื่องที่คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ แต่ก็มีอีกหลายเรื่องเช่นกันที่เราสามารถเตรียมความพร้อมเอาไว้ได้ ทำทุกอย่างให้เรียบร้อยเพื่อความสบายใจของตัวเองและจัดระเบียบชีวิตให้พร้อม เพื่อที่คนข้างหลังจะไม่ต้องวุ่นวายจนกลายเป็นแตกความสามัคคี

หนึ่งในหลายเรื่องที่ควรจะจัดการทำด้วยตัวเองไว้ขณะที่คุณมีสติสัมปชัญญะก็คือการเขียนพินัยกรรมชีวิต ทั้งในเรื่องการเจ็บป่วยว่าจะต้องการให้รักษาอย่างไร หากถึงตอนนั้นคุณไม่รับรู้หรือตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ระบุไปเลยว่าจะให้ลูก ญาติมิตรคนใดเป็นผู้ตัดสินแทนคุณ เพื่อที่จะต้องไม่มีการถกเถียงว่าลูกคนนั้นจะรักษาแบบนี้ ลูกอีกคนเห็นควรว่าต้องผ่า เจ็บป่วยแค่ไหนจนถึงขั้นไม่รับการรักษาหากว่าหมอวินิจฉัยแล้วว่าไม่มีอะไรดีขึ้น ซี่งเรามีสิทธิเขียนพินัยกรรมนี้ไว้และแจ้งให้ญาติๆ ทราบ และนำไปให้แพทย์เจ้าของไข้ดูว่าผู้ป่วยมีความจำนงอย่างไรในการรับการรักษา

อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องทำคือเขียนพินัยกรรมมรดก ถ้าจัดการไว้ไม่เรียบร้อยจะสร้างความแตกความสามัคคีในหมู่บุตรธิดาและญาติมิตร จนกลายเป็นชนวนให้คนข้างหลังทะเลาะกัน ถ้าเราเขียนแสดงเจตจำนงไว้ทุกอย่างจะเรียบร้อยเป็นปกติ เพราะไม่มีใครกล้าค้านพินัยกรรมที่เขียนอย่างถูกต้อง ขณะที่คุณมีสติครบถ้วนยิ่งเรามีสมบัติเยอะต้องเขียนไว้เลย อย่าทิ้งปัญหาไว้ให้คนข้างหลัง แม้จะบอกปากเปล่าก็ไม่ดีเท่าเขียนเป็นพินัยกรรม เราสามารถเขียนด้วยตัวเองแบบไหนได้บ้าง

1.พินัยกรรมแบบธรรมดาต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ต้องลง
วัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ ต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน โดยจะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้

2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ ใช้พิมพ์ไม่ได้จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ ต้องลงลายมือชื่อ จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ หรือเครื่องหมายอื่นไม่ได้

3.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอ หรือเขตใดก็ได้ ดำเนินการให้อย่างเป็นทางการ

4.พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ ยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอ หรือเขตใดก็ได้ โดยปฏิบัติดังนี้

 ต้องมีข้อความเป็นพินัยกรรมและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม

 ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรม แล้วลงลายมือชื่อบนคาบรอยผนึก

 ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน

 เมื่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับและประทับตราประจำตำแหน่งแล้วนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น

5.พินัยกรรมทำด้วยวาจา ใช้เฉพาะกรณีที่เกิดเหตุการณ์พิเศษ ไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตราย ใกล้เสียชีวิต เกิดโรคระบาด หรือสงคราม ทั้งนี้พินัยกรรมจะหมดอายุภายใน 1 เดือนนับจากผู้ทำพินัยกรรมกลับมาทำพินัยกรรมแบบอื่นได้ แสดงเจตนาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตน และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความพินัยกรรม และสาเหตุที่ต้องทำพินัยกรรมด้วยวาจา

นอกจากนี้ ควรระวังเรื่องการทำพินัยกรรมแบบที่ต้องมีพยานและแบบที่ให้คนอื่นเขียน เพราะพยานและคนเขียน (รวมทั้งคู่สมรสตามกฎหมายของทั้งคนเขียนและพยาน) จะไม่มีสิทธิได้รับมรดก เพราะฉะนั้นถ้าจะยกมรดกให้ใครก็อย่าให้เขามาเป็นคนเขียนหรือพยาน และถ้าไม่อยากให้คนรับมรดก ต้องเสียภาษีมรดก ก็ควรทำพินัยกรรมโดยกระจายมรดกให้คนละไม่เกิน 100 ล้านบาท เพราะไม่อย่างนั้นคนรับมรดกจะต้องเสียภาษีอัตรา 5% ของส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับบุพการีและผู้สืบสันดาน นอกนั้นจะเสียในอัตรา 10% ของส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท

ถ้ากลัวว่าให้มรดกไปแล้วลูกหลานจะไม่ดูแล ก็สามารถไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินบนอสังหาริมทรัพย์ที่เรายกให้ลูกหลานได้ที่สำนักงานที่ดิน (ทำต่อจากการจดทะเบียนยกให้ได้ทันที) เพื่อให้เรายังมีสิทธิอยู่อาศัยและ
ใช้ประโยชน์ต่อไปได้ตลอดชีวิตในมรดกนั้น