posttoday

ฝึกท่าตระกูลบิดให้ปรึกษานักกายภาพบำบัด

10 กุมภาพันธ์ 2561

ในสัปดาห์ที่แล้ว ครูได้อธิบายถึงการบิดที่ปลอดภัย และขีดจำกัดของการฝึกท่าบิด ในครั้งนี้ครูจะพูดถึงคนที่ควรหลีกเลี่ยง ไม่สมควรฝึกท่าบิด หรืออาจจะฝึกแบบระวัง

โดย : ภัชภิชา แก้วสุวรรณสุข (ครูเจี๊ยบ) ผู้ก่อตั้ง Japayatri Yoga Style โยคะสุตรา สตูดิโอ www.YogaSutraThai.com

ในสัปดาห์ที่แล้ว ครูได้อธิบายถึงการบิดที่ปลอดภัย และขีดจำกัดของการฝึกท่าบิด ในครั้งนี้ครูจะพูดถึงคนที่ควรหลีกเลี่ยง ไม่สมควรฝึกท่าบิด หรืออาจจะฝึกแบบระวัง หากไม่แน่ใจให้ปรึกษาแพทย์ก่อนหรือปรึกษาคุณครูผู้สอน คุณครูอาจมีการประยุกต์ท่าอาสนะให้คุณได้แบบตัวต่อตัว

ยังมีหลายคนที่ทำร้ายร่างกายตัวเองให้แย่ลงจากความไม่รู้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรงที่กระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังเบี้ยว กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) หรือคนที่มีอาการปวดที่ข้อต่อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน (Sacroiliac Joints) ซึ่งอาจเกิดอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่าง และร้าวไปตามด้านหลังของก้น

บางคนปวดบริเวณสะโพกหรือขาหนีบ ถ้าจะฝึกท่าตระกูลบิดให้ปรึกษานักกายภาพบำบัด หรือครูสอนโยคะก่อน

วิธีปฏิบัติ

1.เริ่มต้นท่าต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ในท่า Basic seated twists into Revolved Head-to-Knee Pose Variation 3 (รูป 1)

ฝึกท่าตระกูลบิดให้ปรึกษานักกายภาพบำบัด (รูป 1)

2.จากนั้นให้งอเข่าข้างขวาและคว่ำมือขวา ที่ด้านหลังขาขวา และหมุนต้นแขนขวาโดยให้ข้อศอกชี้ออกจากลำตัวดังรูป (รูป 2.1) ใกล้ๆ กับก้น ส่วนมือซ้ายไปจับฝ่าเท้าขวาด้านนอก สูดลมหายใจเข้าให้ลึก (รูป 2) 

ฝึกท่าตระกูลบิดให้ปรึกษานักกายภาพบำบัด (รูป 2.1)

 

ฝึกท่าตระกูลบิดให้ปรึกษานักกายภาพบำบัด (รูป 2)

3.หายใจออก ดึงขาขวาให้ลอยขึ้นจากพื้น ข้อศอกขวากดไว้ที่พื้น ศีรษะผ่อนคลายอย่าให้เข่าข้างซ้ายลอยจากพื้น กดก้นแน่นลงที่พื้น จากนั้นหายใจเข้า-ออก ประมาณ 5 ลมหายใจ แล้วค่อยๆ คลายออกจากท่า แล้วลองฝึกสลับข้าง (รูป 3)

ฝึกท่าตระกูลบิดให้ปรึกษานักกายภาพบำบัด (รูป 3)