posttoday

ดูแลตัวเองให้ดี ก่อนมีปัญหาไตวาย

30 มกราคม 2561

การเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ต้องเจอ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ แต่อุบัติการณ์ของโรคต่างๆ นั้นเกิดในคนที่อายุน้อยลงมากขึ้นทุกวัน

 

การเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ต้องเจอ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ แต่อุบัติการณ์ของโรคต่างๆ นั้นเกิดในคนที่อายุน้อยลงมากขึ้นทุกวัน เพราะอาหารการกิน ไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบวุ่นวายจนกินไม่เป็นเวลา กินอาหารที่ไม่ดีกับสุขภาพส่งผลต่อการดำเนินของโรค

โรคไตวายก็อยู่ในข่าย ไตวายคือภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด จนไม่สามารถขับของเสียออกมาจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะได้ ทำให้มีของเสียตกค้างในร่างกาย อีกทั้งยังทำให้ระดับน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกายเกิดความไม่สมดุล หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้ระบบการทำงานภายในร่างกายเกิดความผิดปกติ และเป็นอันตรายแก่ชีวิต

ไตวายอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่สามารถป้องกันและชะลอการเกิดภาวะนี้ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อไตในระยะสั้นและระยะยาว ได้ด้วยเลี่ยงการสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที ออกกำลังกายให้หนักปานกลาง เพื่อลดปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะไตวาย ได้แก่ ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

 

ชนิดและสาเหตุภาวะไตวาย

1.ไตวายเฉียบพลัน คือการที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว โดยเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ การได้รับสารพิษ ผลข้างเคียงจากยา การรับประทานยาเกินขนาด รวมถึงผู้ป่วยอาการหนักจากโรคต่างๆ ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็มีโอกาสที่ไตจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้

2.ไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการทำงานลง ซึ่งสาเหตุหลักๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน รวมถึงสภาวะอื่นๆ เช่น ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต ซึ่งภาวะนี้อาจกินเวลานานนับปีโดยไม่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักตรวจพบโรคเมื่อประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง และนำไปสู่ภาวะไตวาย ที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาทำงานเป็นปกติได้อีกต่อไป

เมื่อเกิดภาวะไตวาย ของเสียและน้ำจะคั่งค้างอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ผิวแห้ง คัน กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน ปัสสาวะลดลง ตัวบวม ตาบวม น้ำท่วมปอด หายใจไม่ถนัด นอนราบไม่ได้ ความดันโลหิตสูง มีภาวะซีด เลือดจาง และอาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้

 

การรักษาภาวะไตวาย

1.การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นการนำของเสียและน้ำออกจากเลือด โดยเลือดจะออกจากตัวผู้ป่วยแล้วผ่านตัวกรองเพื่อกำจัดของเสีย ปรับสมดุลเกลือแร่และกรดด่าง เพื่อให้กลายเป็นเลือดดี ก่อนที่เครื่องไตเทียมจะนำเลือดนั้นกลับสู่ร่างกาย ในการฟอกเลือดแต่ละครั้งต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง และต้องทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยผู้ป่วยต้องเข้ารับการตัดต่อเส้นเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือดเสียก่อน

2.การล้างไตทางผนังช่องท้อง เป็นการใส่น้ำยา ล้างไตเข้าไปในช่องท้องผ่านทางสายยางที่ฝังไว้ในช่องท้องผู้ป่วยเพื่อกรองของเสียในร่างกายออก วิธีนี้จำเป็นต้องทำทุกวัน ผู้ป่วยจึงมักทำที่บ้าน และเรียนรู้วิธีการทำด้วยตัวเอง ซึ่งอาจมีข้อจำกัดที่ผู้ป่วยหลายรายไม่สะดวก และมีข้อควรระวังเรื่องความสะอาดที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้

3.การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นการผ่าตัดเอาไตของผู้อื่นมาใส่ไว้ในร่างกายผู้ป่วยเพื่อทดแทนไตเดิมที่ไม่สามารถทำงานได้แล้ว โดยไตใหม่นั้นอาจได้มาจากผู้บริจาคอวัยวะที่มีภาวะสมองตาย หรือผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่และมีไตเข้ากับผู้ป่วยได้ วิธีนี้มีข้อจำกัดเรื่องไตที่ต้องรอรับบริจาค

 

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่มีผู้ช่วยสำหรับการล้างไตด้วยตัวเองที่บ้าน หรือผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดช่องท้องมาก่อนและ มีโรคปวดหลังเรื้อรัง มีภาวะไส้เลื่อนออกมาทางผนังหน้าท้อง ซึ่งสามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องรอการเปลี่ยนอวัยวะ

สำหรับโรงพยาบาลที่ให้การรักษาภาวะไตวายด้วยการฟอกเลือดโดยเครื่องไตเทียมในบ้านเรามีอยู่หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือ “ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์” (โฉมใหม่) ที่ให้บริการอย่างครบครัน เพื่อให้การดูแลสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยมีเครื่องไตเทียม Fresenius รุ่น 5008 Full option ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน มีระบบตรวจวัดปริมาตรน้ำ การควบคุมอุณหภูมิระหว่างการฟอกเลือด เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย นำเข้าจากต่างประเทศ

ศูนย์ฯ ยังมีระบบการผลิตน้ำบริสุทธิ์ขั้นสูง (Ultrapure Reverse Osmosis Water) สำหรับการฟอกเลือดที่มีระบบการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของผู้ป่วยและได้มาตรฐานสากล The Association of Advancement of Medical Instrumentation (AAMI) มีระบบควบคุมการติดเชื้อภายในศูนย์ไตเทียมที่ได้มาตรฐานสากล

ที่สำคัญคือ ความพร้อมด้านทีมบุคลากรด้านโรคไต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตและพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและพยาบาลผู้เชี่ยวชาญการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ตามมาตรฐานแพทยสภาและสภาการพยาบาล

บริการของการศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีทั้งการฟอกเลือดสำหรับผู้ป่วยนอก, ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยอาการวิกฤตในห้องไอซียู, การผ่าตัดเชื่อมต่อเส้นเลือดดำและแดง หรือใส่ท่อชั่วคราวเพื่อใช้ในการฟอกเลือด โดย นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ต้องการฟอกเลือดเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคลสามารถนัดเวลาพิเศษได้

นอกจากนี้ ยังมีบริการผ่าตัดปลูกถ่ายไต รวมถึงการประเมินและการให้คำแนะนำการรับประทานอาหารจากนักโภชนาการที่มีประสบการณ์ด้วย 

ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร. 02-011-4062 หรือ 02-011-5959