posttoday

4 น้ำตาลที่ทานน้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็ไม่ได้

07 พฤศจิกายน 2560

น้ำตาลถือเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์อยู่มากก็จริง แต่ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะทานน้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็ไม่ได้

น้ำตาลถือเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์อยู่มากก็จริง แต่ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะทานน้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็ไม่ได้

น้ำตาล หรืออาหารรสหวานๆ กินเมื่อไรก็ช่วยให้อารมณ์ดี ที่สำคัญน้ำตาลยังถูกจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ซ่อนอยู่ในอาหารแทบจะทุกชนิดก็ว่าได้ แม้แต่ในอดีตที่เรายังไม่มีน้ำตาลแปรรูปอย่างทุกวันนี้ เราก็ยังมีน้ำตาลฟรุกโตสที่ให้รสหวานซ่อนอยู่ในผลไม้ หรือในน้ำผึ้ง แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าน้ำตาล แม้จะมีรสหวานที่ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่เราก็ไม่ควรบริโภคน้ำตาลมากเกินไป

4 น้ำตาลที่ทานน้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็ไม่ได้

1. ฟรุกโตส น้ำตาลที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่ได้จากผักผลไม้ ที่มาพร้อมกับกากใยและสารต้านอนุมูลอิสระ ให้ประโยชน์ในการช่วยสร้างไขมันที่ตับ แต่หากร่างกายได้รับมากเกินไป จะส่งผลให้ไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ที่เกิดจากการกินอาหารที่ให้พลังงานสูง จนทำให้เกิดไขมันพอกในตับ เพิ่มระดับกรดยูริคและความดันเพิ่มสูงขึ้น

2. กลูโคส เป็นน้ำตาลโมเลกุลขนาดเล็ก สามารถดูดซึมได้ทันที ที่มักพบได้ในข้าว แป้ง น้ำตาล น้ำผึ้ง ผัก ผลไม้ โดยเฉพาะองุ่นถูกพบว่ามีปริมาณกลูโคสจำนวนมาก และเนื่องจากเป็นน้ำตาล ที่ถูกดูดซึมได้ง่าย ทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว ผู้ที่เป็นเบาหวานจึงต้องระมัดระวังในการกินเป็นพิเศษ แต่ในขณะเดียวกันกลูโคสก็มีประโยชน์สำหรับผู้ที่รู้สึกอ่อนเพลีย หรือผู้ป่วยที่ต้องการพลังงานอย่างรวดเร็ว

3. ซูโครส คือชื่อที่ถูกเรียกในทางเคมี ซึ่งก็คือ น้ำตาลทราย ที่เราคุ้นเคยกันดีและให้ความหวานมากที่สุด ผสมระหว่างฟรุกโตส และกลูโคส ในส่วนของกลูโคสจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ช่วยให้พลังงานและเพิ่มน้ำตาลในเลือด ในขณะที่ฟรุกโตสจำเป็นต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนให้กลายเป็นกลูโคสเสียก่อน จึงจะสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้

4. นํ้าตาล 1 ช้อนชานั้น ให้พลังงานประมาณ 15 กิโลแคลอรี ซึ่งปริมาณน้ำตาลที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา ยิ่งไปกว่านั้นเราอาจไม่รู้เลยว่าอาหารและเครื่องดื่มที่เรากินแต่ละวันล้วนซ่อนน้ำตาลไว้มากกว่าที่คิด ซึ่งน้ำตาลในอาหารนอกจากจะเพิ่มปริมาณแคลอรีที่เรากินเข้าไปแล้ว ยังทำให้น้ำหนักของเราเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว เราจึงจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจตามมา