posttoday

ประโยชน์ของการฝังเข็มที่ใช้ในการรักษาโรค

21 กันยายน 2556

แพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine) หมายถึง การศึกษาวิชาแพทย์ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษของประเทศจีน เป็นการศึกษาสรีรวิทยาของมนุษย์

โดย...แพทย์จีนชาญชล หลินชาญธรา / แพทย์จีนจรัญ จันทะเพชร (แปล) คลินิกหัวเฉียวไทยจีน

แพทย์แผนจีนคืออะไร

แพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine) หมายถึง การศึกษาวิชาแพทย์ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษของประเทศจีน เป็นการศึกษาสรีรวิทยาของมนุษย์ พยาธิวิทยา รวมถึงการวินิจฉัยโรคและการป้องกัน ซึ่งถือเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง

วิธีการศึกษาการวิจัยของแพทย์แผนจีน มีความคิดมุ่งเน้นไปที่แนวคิดโดยองค์รวม โดยมีอวัยวะทางสรีรวิทยาและเส้นเมอริเดียน (เส้นลมปราณ) พยาธิวิทยาเป็นพื้นฐานของความคิด และการรักษาจะขึ้นอยู่กับการเปี้ยนเจิ้ง (ความแตกต่างของกลุ่มอาการของโรค)

ประโยชน์ของการฝังเข็มที่ใช้ในการรักษาโรค

 

ลักษณะเด่นของการรักษาโรคทางแพทย์จีนคืออะไร?

จากทฤษฎีที่เป็นพื้นฐาน อินหยาง (หยินหยาง) อู่สิง (ปัญจธาตุ) ไม้ (ตับ) ไฟ (หัวใจ) ดิน (ม้าม) ทอง (ปอด) น้ำ (ไต)

วิธีการวินิจฉัย ได้แก่ การดู การดม การถาม การจับชีพจร ทั้ง 4 วิธีรวมเป็นหนึ่งเดียว เพื่อตรวจหาสาเหตุ ชนิดของโรค ตำแหน่งของโรค การวิเคราะห์เพื่อแยกแยะกลไกการเกิดโรค

วิธีการรักษา อายุรกรรม (ยาจีน) ฝังเข็ม ทุยหนา ครอบแก้ว การโภชนาการ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ในการรักษา เพื่อให้อินและหยางของร่างกายสมดุลและฟื้นฟูสมรรถภาพ

การรักษาโรคทางแพทย์จีน เพื่อต้องการให้ร่างกายมีการฟื้นฟูที่สมดุลของอินและหยาง เพื่อลดภาวะเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคร้ายแรงยิ่งขึ้น แล้วยังคำนึงถึงชีวิตและเพื่อคุณภาพของชีวิตมนุษย์

เส้นเมอริเดียน (เส้นลมปราณ) และ Acupoints (จุดฝังเข็ม) คืออะไร?

เส้นเมอริเดียน Channel Meridian นิยาม : แบ่งออกเป็นเส้นลมปราณหลักและเส้นลมปราณรอง คือ ทางเดินที่ทำให้ชี่และเลือดเคลื่อนไหวในร่างกาย สัมพันธ์กับอวัยวะต่างๆ เชื่อมต่อภายนอกและภายใน เคลื่อนไหวขึ้นลงและอื่นๆ

จุดฝังเข็ม (Acupoint) นิยาม : เป็นการที่ชี่เข้าสู่เส้นลมปราณและอวัยวะของมนุษย์ตามจุดฝังเข็มพิเศษ และยังเป็นจุดสะท้อนของโรคต่างๆ แล้วยังเป็นจุดที่ใช้ฝังเข็มเพื่อกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ ในทางคลินิก

การฝังเข็มคืออะไร?

การฝังเข็มรักษาโรคจะขึ้นอยู่กับอวัยวะต่างๆ ทฤษฎีเส้นลมปราณ การใช้หลักการตรวจร่างกายทั้ง 4 การวิเคราะห์กลุ่มอาการป่วยทั้ง 8 นำเอากลุ่มอาการทางคลินิกต่างๆ มาวิเคราะห์และสรุปเพื่อแยกแยะกลุ่มอาการโรค เพื่อให้ทราบสาเหตุกลไกการเกิดโรคที่ถูกต้อง ตำแหน่งของโรค และชนิดของโรค ใช้การฝังเข็มผ่านเส้นลมปราณ ปรับสมดุลของชี่และเลือดเพื่อให้เกิดความสมดุลของอินและหยาง เพื่อให้บรรลุการป้องกันโรคเข้าถึงวัตถุประสงค์ของการรักษาโรค

การฝังเข็มสามารถรักษาโรคได้จริงหรือ?

เมื่อสมัยพันปีก่อนของการปฏิบัติทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า การฝังเข็มสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ 300 กว่าชนิด มีประมาณ 100 กว่าโรคที่รักษาแล้วได้ผลดี

สื่อสิ่งพิมพ์ที่สนับสนุนโดยสหประชาชาติองค์การอนามัยโลก “WHO” ในเดือน ธ.ค. ในปี 1979 ได้ประกาศส่งเสริมการรักษาโรคโดยการฝังเข็ม สามารถรักษาโรคและกลุ่มอาการโรคได้ผลดี มี 43 ชนิด และในปี 1996 ได้ประกาศเพิ่มเป็น 64 ชนิด

ปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศได้นำการฝังเข็มมาใช้รักษาโรคอ้วนและกระชับหุ่นเพื่อความงาม งดเหล้า งดบุหรี่ งดสารเสพติด และรักษาโรคเอดส์ (ในด้านเพิ่มภูมิต้านทาน)

1.ระบบทางเดินหายใจ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง โรคหอบหืด เป็นต้น

2.ระบบไหลเวียน หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า โรคหลอดเลือดหัวใจ (รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ) ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ เลือดจาง เม็ดเลือดขาวน้อยลง เป็นต้น

3.ระบบย่อยอาหาร อาการปวดท้องเฉียบพลันและเรื้อรัง ปวดท้อง กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ อาเจียน (แพ้ท้อง) สะอึก โรคท้องร่วง ท้องผูก ถุงน้ำดีอักเสบ โรคนิ่ว อาหารไม่ย่อยในเด็ก เป็นต้น

4.ระบบทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะไม่หยุด ต่อมลูกหมากอักเสบ ปัสสาวะไม่ออก (รวมถึงการบาดเจ็บจากการผ่าตัดและหลังคลอด) นิ่วทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

5.ระบบสืบพันธุ์ น้ำกามเคลื่อน หลั่งเร็วในผู้ชาย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ตัวอสุจิน้อยประจำเดือนมาไม่ปกติ เลือดออกผิดปกติ ประจำเดือนไม่มา ปวดประจำเดือน ตกขาวผิดปกติ ภาวะไม่ตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ไม่กลับตัว ปวดท้องหลังคลอด น้ำนมไม่พอ มดลูกหย่อน วัยทอง

6.ระบบการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้ออักเสบรูมาติก โรคไขข้อ โรคไขข้ออักเสบ คอเคล็ด (ตกหมอน) โรคกระดูกต้นคอ ไหล่อักเสบ อาการเคล็ดขัดยอกต่างๆ ความผิดปกติของระบบการเคลื่อนไหว

7.ระบบประสาท ปวดหัว ไมเกรน โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s Palsy) ปวดใบหน้าตามเส้นประสาท Trigeminal ปวดตามเส้นประสาทระหว่างซี่โครง โรคประสาทอ่อน Neurasthenia (รวมถึงการนอนไม่หลับ) โรคซึมเศร้า ฮิสทีเรีย อาการปวดตามเส้นประสาทสะโพก โรคหลอดเลือดสมอง Stroke เด็กที่มีสมองพิการ เป็นต้น

8.ระบบต่อมไร้ท่อ เบาหวาน Simple Obesity (โรคอ้วน) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรือทำงานน้อยเกิน เป็นต้น โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับต่อมไร้ท่อ

9.โรคศัลยกรรม ฝีหนองต่างๆ โรคคางทูม ริดสีดวงทวาร

10.โรคผิวหนัง สิว กระบนผิวหน้า ฝ้า คันตามผิวหนัง ลมพิษ ผื่นภูมิแพ้ งูสวัด ผมร่วมเป็นหย่อมๆ เป็นต้น

11.โรคหูตาคอจมูก กุ้งยิง สายตาสั้นในเด็กเล็ก หูชั้นกลางอักเสบ เสียงดังในหูอันเกิดจากเส้นประสาทหู วิงเวียนศีรษะที่เกิดจากหูชั้นใน เลือดกำเดาไหล เจ็บคอ จากต่อมทอนซิลอักเสบ ปวดฟัน เป็นต้น

12.โรคอื่นๆ เป็นลม หมดสติ ลมแดด งดบุหรี่ งดเหล้า งดสารเสพติด ความงาม เป็นต้น