posttoday

How to ดูแลสุขภาพพร้อมรับมือฝุ่นและไวรัส

23 ธันวาคม 2563

ฟิลิปส์ เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมแนะวิธีดูแลสุขภาพให้พร้อมรับมือฝุ่นและไวรัสที่แพร่กระจายในอากาศ

เข้าสู่ฤดูหนาว อากาศเย็นๆ แบบนี้คงเป็นที่ถูกใจใครหลายๆคน แต่ก็เป็นช่วงฤดูที่ฝุ่น PM2.5 กลับมา พร้อมๆกับไวรัสที่สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศ ฟิลิปส์ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ มีความห่วงใยต่อประชาชนคนไทย จึงได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจมาร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้สามารถรับมือกับ “ฤดูฝุ่น” และ “ไวรัสที่สามารถแพร่กระจายในอากาศ” โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่ยิ่งต้องให้ความใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ

How to ดูแลสุขภาพพร้อมรับมือฝุ่นและไวรัส

รศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพระรามเก้า และเจ้าของเพจคุยกับหมอภูมิแพ้เด็ก by Dr.Mai กล่าวว่า “โดยปกติช่วงฤดูฝนจนเข้าสู่ฤดูหนาว เราจะพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุมาจากทั้งสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในปีนี้ จากที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนมีการใส่หน้ากากและการดูแลความสะอาดมากขึ้น ล้างมือบ่อยขึ้น ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ลดลงกว่าปีก่อนๆ เมื่อเทียบสถิติกับปี 2562 ที่พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ถึง 396,000 ราย แต่ปี 2563 นี้มีรายงานพบผู้ป่วยทั่วประเทศเพียง 116,052 รายจากทั่วประเทศ1 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าห่วงคือ การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสตัวอื่นๆ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงของโรคได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่แต่ในบ้านก็ตาม เพราะผู้ใหญ่ที่ต้องออกไปทำงานข้างนอกอาจนำเชื้อเข้ามาในบ้านได้ ผ่านทางเสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆได้”

ไวรัสที่แพร่กระจายทางอากาศ มีอยู่หลายชนิด ที่เราคุ้นเคยกันดี คือ กลุ่มไวรัสและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ไรโนไวรัส (Rhinovirus), อะดิโนไวรัส (Adenovirus), โคโรนาไวรัส (Coronavirus), อินฟลูเอนซา (Influenza) หรืออาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus) ส่วนกลุ่มแบคทีเรีย ได้แก่ สเตรปโตคอคคัส (Streptococcus), ไมโครพลาสมา (Mycoplasma) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเชื้อไวรัสในกลุ่ม MERS-CoV และ SARS-CoV ที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง

“โรคทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสส่วนมาก จะไม่มียารักษาโดยตรง แพทย์ต้องทำการรักษาตามอาการ เช่น หากมีไข้ก็ให้ยาลดไข้ หากมีอาการน้ำมูลไหล ไอ จาม ก็ให้ยาลดน้ำมูก แก้ไอ เท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีเด็กเล็กและผู้สูงอายุ อย่างในช่วงนี้จะเห็นว่ามีการแพร่พระบาดของไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สามารถเกิดการติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ในผู้ใหญ่อาจจะไม่แสดงอาการเด่นชัดหรือรุนแรงเท่าในกลุ่มเด็กเล็ก การติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย ไอ จาม และการสัมผัส ซึ่งหากเด็กได้รับเชื้อในช่วง 2 – 4 วันแรกมักมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่เมื่อการดำเนินโรคมีมากขึ้น จะส่งผลให้ทางเดินหายใจส่วนล่างมีการอักเสบ ทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงครืดคราด มีเสมหะในลำคอ ดังนั้น คำแนะนำจากแพทย์ คือ ไม่ว่าจะป้องกันไวรัสชนิดไหนควรทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งที่กลับจากนอกบ้าน ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ต้องทำความสะอาดร่างกายหรือล้างมือก่อนสัมผัสเด็ก หลีกเลี่ยงให้ผู้อื่นสัมผัสใกล้ชิดหรือกอดหอมเด็กนอกบ้าน และควรฝึกให้ลูกใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือเป็นประจำเมื่อเวลาออกนอกบ้าน หมั่นทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ที่มาจากนอกบ้าน ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หากสงสัยว่ามีไข้ เป็นหวัดที่มีอาการรุนแรงให้รีบพบแพทย์ทันที” รศ.พญ.รวีรัตน์ อธิบายเพิ่มเติม

“สำหรับโรคทางเดินหายใจอีกชนิด คือ โรคภูมิแพ้ ซึ่งมักพบอัตราการกำเริบและยอดผู้ป่วยสูงขึ้นในช่วงที่อากาศเย็นและมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อากาศหรือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) สูงกว่า 20% ในกลุ่มประชากร สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มักจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ซึ่งจะเป็นๆหายๆติดต่อกันนานมากกว่า 4 สัปดาห์ จะแตกต่างจากไข้หวัดชนิดอื่นๆ ถึงแม้ว่าโรคภูมิแพ้จะเป็นโรคเรื้อรังแต่ก็มีโอกาสหายขาดได้ ดังนั้น แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยไว้จนโพรงจมูกได้รับความเสียหายเป็นเวลานาน ส่วนวิธีการดูแลสุขภาพเพื่อลดความรุนแรงของโรคนี้ สามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมตัวเองด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียด และหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ก็จะช่วยให้อาการของโรคเกิดน้อยลงได้ หากมีอาการกำเริบมากควรมาพบแพทย์” รศ.พญ.รวีรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

How to ดูแลสุขภาพพร้อมรับมือฝุ่นและไวรัส

ด้านนางสาวสิริวรรณ นิจกิจจาทร ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจ Personal Health บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ฟิลิปส์ ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ เราตระหนักถึงความสำคัญในการนำเสนอนวัตกรรมที่เข้าไปช่วยดูแลคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้ผู้บริโภค และในครั้งนี้ เราได้นำเสนอเครื่องฟอกอากาศ Philips Air Purifier 4000i series และ Philips Air Purifier 2000i ทั้ง 2 รุ่นใหม่ล่าสุด มาพร้อมจุดเด่นที่ระบบกรองอากาศอัตโนมัติแบบอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีแผ่นกรอง NanoProtect HEPA ซึ่งช่วยกรองอนุภาคได้เล็กถึง 0.003 ไมครอน ซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กกว่าระดับไวรัสและPM 2.5 หรือละเอียดกว่ามาตราฐาน HEPA ถึง 100 เท่า เครื่องฟอกอากาศ Philips Air Purifier จึงได้รับการยืนยันว่าสามารถดักจับไวรัส H1N1 ที่แพร่กระจายในอากาศได้ และผ่านการทดสอบกับโคโรนาไวรัสแล้ว2 พร้อมป้องกันสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน อาทิ ได้แก่ ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ เชื้อราภายในบ้าน ควันบุหรี่ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยเครื่องฟอกอากาศ Philips Air Purifier รุ่นใหม่ทั้ง 2 รุ่น ยังสามารถเชื่อมต่อผ่านแอพพลิเคชั่น Philips Clean Home+ เพื่อให้คุณสามารถตรวจสอบและควบคุมอากาศภายในบ้านด้วยสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา จึงมั่นใจได้ว่าอากาศในบ้านคุณจะสะอาดบริสุทธิ์เพื่อทุกคนในครอบครัว”