posttoday

เนื้อหมูปลอมเป็นเนื้อวัว สังเกตที่ไหน ดูกันอย่างไร?

06 กรกฎาคม 2563

ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เตือนพ่อค้าหัวใสย้อมหมูขาย #เนื้อหมูปลอมเป็นเนื้อวัว ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เผยเดือน มิ.ย. พบ 7 ใน 8, ต้น ก.ค. พบ 13 ใน 15 ตัวอย่างเป็นเนื้อหมู!!!

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แชร์เรื่องที่ต้องระวังกรณี การปลอมเนื้อหมูเป็นเนื้อวัว ผ่านโซเชียลมีเดีย Dr.Winai Dahlan ความว่า 

เนื้อหมูปลอมเป็นเนื้อวัว สังเกตที่ไหน ดูกันอย่างไร?

#เนื้อหมูปลอมเป็นเนื้อวัว สังเกตที่ไหน ดูกันอย่างไร?

เนื้อสุกร หรือหมู มีกลิ่นพิเศษที่แม้แต่คนกินหมูเองก็ไม่ชอบ กลิ่นที่ว่านี้คล้ายเหงื่อไคล หรือแอมโมเนียจากปัสสาวะ สารเคมีที่สร้างกลิ่นคือ “แอนโดรสเตอโนน” (Androstenone) นอกจากนี้ ยังมีอีกกลิ่นหนึ่งที่ระเหยออกมาจากเนื้อหมูเมื่อได้รับความร้อน ออกไปทางเหม็น จากสารเคมีที่ชื่อว่า “สกาโทล” (Skatole) สร้างจากตับและลำไส้ใหญ่ บางคนว่าเป็นกลิ่นอุจจาระ ล้างด้วยน้ำปริมาณมากกลิ่นนี้จะหายไปได้ กลิ่นที่ว่านี้ไม่ได้เป็นเหตุผลให้มุสลิมไม่บริโภคหมู เหตุผลหลักคืออัลกุรอานห้ามไว้ซึ่งปรากฏในหลายบท ส่วนที่ว่าเนื้อหมูมีพยาธิ์หรือเชื้อโรค หมูเป็นสัตว์สกปรก กินอาหารไม่เลือก นั่นเป็นเพียงเหตุผลรอง สรุปเอาเป็นว่ามุสลิมไม่กินหมู

พักนี้มีตัวอย่างเนื้อส่งมาวิเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) ที่ #ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวนมากผู้ส่งเป็นผู้ขายอาหารบ้างขายเนื้อตามเขียงในตลาดบ้างเกิดความสงสัยในเนื้อที่ตนเองรับซื้อมา

เนื้อหมูปลอมเป็นเนื้อวัว สังเกตที่ไหน ดูกันอย่างไร?                        - เครดิตภาพ : muslimthaipost.com -

เนื้อหมูราคาแตกต่างจากเนื้อวัวมาก เป็นเหตุผลเชิญชวนให้คนเห็นแก่ได้ นำเนื้อหมูมาย้อมเป็นเนื้อวัว วิธีเปลี่ยนสีของเนื้อหมูให้ดูคล้ายเนื้อวัว ทำได้ตั้งแต่การใช้เนื้อหมูแก่ หรือเนื้อหมูที่เลี้ยงด้วยสารเร่งเนื้อแดง อย่าง เคลนบูเทอรอล (Clenbuterol) ซิลปาเทอรอล (Zilpaterol) แรคโตพามีน (Ractopamine) ที่มีฤทธิ์เร่งการเปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ และลดการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อ สารหลายตัวเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อีกวิธีหนึ่งคือการย้อมสี อาจย้อมด้วยสีผสมอาหารหรือสีสังเคราะห์ หรือย้อมด้วยเลือดวัวเพื่อกลบกลิ่นเนื้อหมู

เนื้อหมูปลอมเป็นเนื้อวัว สังเกตที่ไหน ดูกันอย่างไร?

สิ่งที่น่าตกใจคือในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาทางศูนย์ตรวจเนื้อไป 8 ตัวอย่าง พบ 7 ตัวอย่างเป็นเนื้อหมูส่งมาจากหลายแหล่งในกรุงเทพฯส่วนใหญ่สีแดงจากการย้อมด้วยเลือดวัวตรวจดีเอ็นเอแล้วพบว่าเป็นเนื้อหมูส่วนเลือดที่ติดมาเป็นเลือดวัวบางตัวอย่างคงเป็นเนื้อหมูแก่หรือใช้สารเร่งเนื้อแดงเพราะเนื้อสีเข้มโดยไม่พบเลือดวัว

น่าตกใจกว่านั้นคือ สัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม รับตัวอย่างเนื้อมา 15 ตัวอย่าง ตรวจดีเอ็นเอให้ผลออกมาว่า 13 ตัวอย่างเป็นเนื้อหมู ทุกตัวอย่างจุ่มด้วยเลือดวัว ส่วนสองตัวอย่างเป็นเนื้อวัวจริง ทีมงานของ ดร.พรพิมลมะหะหมัดทดลองนำเนื้อหมูแช่ด้วยเลือดวัวตรวจพบปริมาณดีเอ็นเอในลักษณะที่สอดคล้องกัน 

ราคาเนื้อวัวที่แพงกว่าเนื้อหมูมากน่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีกปัจจัยหนึ่งคือเนื้อวัวจำนวนมากมาจากแหล่งเชือดและชำแหละที่ไม่มีการรับรองฮาลาลบางแห่งไม่มีแม้แต่การรับรองจากกรมปศุสัตว์ค้าขายแบบคนกันเองอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นสำคัญทำให้เนื้อหมูถูกสอดไส้เข้ามาในห่วงโซ่อุปทานของการค้าขายเนื้อการตรวจสอบหากดูด้วยตาหาคำตอบได้ยากสีของเนื้อไม่ต่างกันเลยใช้วิธีการล้างเนื้อก็ยังบอกไม่ถูก 

เนื้อหมูปลอมเป็นเนื้อวัว สังเกตที่ไหน ดูกันอย่างไร?

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ส่งเนื้อมาตรวจหลายรายกล่าวว่า ลูกค้าสงสัยในรสสัมผัสของเนื้อที่นุ่มลิ้น ลูกค้าที่ไม่ใช่มุสลิมเคยลิ้มรสเนื้อหมูมาแล้ว ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นรสของเนื้อหมู อีกวิธีหนึ่งที่พอจะใช้การได้ มาจากประสบการณ์ของตัวนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์เองที่บ่นว่าเนื้อหมูทุกตัวอย่างเมื่อหั่นแล้ว แม้ย้อมด้วยเลือดวัว ยังคงมีกลิ่นเฉพาะของเนื้อหมู เป็นกลิ่นสาปของสารเคมีแอนโดรสเตอโนน และสกาโทลที่บอกไว้ข้างต้น สังเกตจากกลิ่นคงพอจะบอกได้บ้าง ง่ายๆอย่างนั้น

เนื้อหมูปลอมเป็นเนื้อวัว สังเกตที่ไหน ดูกันอย่างไร?

ทั้งนี้ ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ยังแชร์ภาพตัวอย่างการพบสุกรในผลิตภัณฑ์สำหรับมุสลิม อาทิ ไส้กรอก ห้อยจ๊อ ไก่เชียง ไก่หยอง ข้าวต้มปลา อีกด้วย

ภาพ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: The Halal Science Center CU